การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อากาศและความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลพะเยา
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, การสอนวิทยาศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง อากาศและความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลพะเยา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง อากาศและความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กับการสอนแบบปกติ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง อากาศและความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต โดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลพะเยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 83 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้และการสอนแบบปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Independent Samples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อากาศและความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ ( E1/E2 ) เท่ากับ 88.71/73.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 70/70 2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อากาศและความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า นักเรียนที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อากาศและความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต มีความพึงพอใจต่อการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติและมีระดับความพึงพอใจในระดับมาก
References
กมลรัตน์ พิมทอง. (2565). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเซตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะกับการสอนแบบปกติ. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(1), 231-238.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
งานวิชาการโรงเรียนอนุบาลพะเยา. (2563). รายงานผลการเรียน สายชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563. พะเยา: โรงเรียนอนุบาลพะเยา.
งานวิชาการโรงเรียนอนุบาลพะเยา. (2564). รายงานผลการเรียน สายชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564. พะเยา: โรงเรียนอนุบาลพะเยา.
งานวิชาการโรงเรียนอนุบาลพะเยา. (2565). รายงานผลการเรียน สายชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565. พะเยา: โรงเรียนอนุบาลพะเยา.
ชลดา เกษมสุขวิมล. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรูวิทยาศาสตร์เรื่องพืชนารูสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านไทรย้อยจังหวัดพิษณุโลก. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(12), 195-207.
บุณยนุช อุปสัย และ จันทร์จิรา จูมพลหล้า. (2566). การส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 ด้วยการเรียนรู้แบบซิปปาเสริมด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์. วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5(2), 1-14.
ปราณี จงอนุรักษ์, เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ และ ปริญญา ทองสอน. (2560). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง บรรยากาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15(1), 123-137.
ปารย์รวี เรืองช่วย. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 1(1), 38-46.
เพ็ชรัตน์ พรหมมา. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภคุนันท์ แช่มรัมย์. (2564). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องอุปราคาตามวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการรับชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. คุรุสภาวิทยาจารย์, 2(3), 27-40.
ภัสสร อุ่นไธสง. (2566). การศึกษาและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง รายวิชาวิทยาศาสตร์ (ว 22102) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง, 2(3), 1-8.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). ค่าสถิติพื้นฐานระดับประเทศ ของผลการทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สืบค้น 17 มิถุนายน 2566, จาก https://catalog.niets.or.th/dataset/it-16-27/resource/043f1018-51ac-4dc6-9534-1c03e887520d
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). มาตรฐานและคู่มือการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สุนันทา เอี่ยมอนันต์ และ บัณฑิตา อินสมบัติ. (2561). ผลการใช้ชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.
วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(39), 113-126.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.