การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เชิงปฏิสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนทักษะการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีความบกพร่องทางการอ่าน

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา เขียวศรี, อาจารย์ ดร. วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, ความบกพร่องทางการอ่าน, ประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เชิงปฏิสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนทักษะการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีความบกพร่องทางการอ่าน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านก่อนและหลังการอ่านโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฯ 3) ศึกษาความพึงพอใจในการอ่านโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฯ
ผู้เข้าร่วมการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอนุบาลกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ที่มีความบกพร่องทางการอ่าน จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เชิงปฏิสัมพันธ์ฯ แบบทดสอบก่อนการอ่าน แบบทดสอบหลังการอ่าน และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า
1) รูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เชิงปฏิสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนทักษะการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีความบกพร่องทางการอ่านที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ 1.โครงสร้างของหนังสือซึ่งมี 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำ ส่วนหลัก และส่วนหลัง 2.เครื่องมือสนับสนุนการอ่านของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการอ่าน ได้แก่ เครื่องมือในการปรับเปลี่ยนรูปแบบและขนาดของอักษร สีอักษรและพื้นหลัง การอ่านออกเสียงข้อความ และการอธิบายคำศัพท์ยาก
2) นักเรียนมีคะแนนการทดสอบหลังการอ่านสูงกว่าก่อนการอ่านโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฯอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05
3) นักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฯ ในระดับมากที่สุด

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 และอนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติฯ จำนวน 6 ฉบับ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ชนากานต์ สุวรรณทรัพย์. (2556). การพัฒนารูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า (2551). E-Book หนังสือพูดได้. กรุงเทพมหานคร: ฐานบุ๊คส์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). ความรู้พื้นฐานและแนวทางพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. สืบค้น 5 มิถุนายน 2559, จาก http:// 182.93.222.52/promote/57000001/files/201211121123051gcAM94.pdf

Ash, K. (2010). Schools test e-readers with dyslexic students. Education Week, 4(1), 22- 24. Retrieved November 11, 2016 from http://www.edweek. org/dd/articles/2010/10/20/01dyslexia.h04.html?tkn=NRMFGHakK7fOPdgXGvsqBZSEsdBtCSbrpKKS&print=1

Frye, S.K. (2014). The implications of interactive ebooks on comprehension. (Doctoral Dissertation) Rutgers, The State University of New Jersey. RetrievedJuly 2, 2016 from:https://rucore.libraries.rutgers.edu/rutgers-lib/42343/

Galuschka K, Ise E, Krick K, Schulte-Körne G (2014). Effectiveness of Treatment Approaches for Children and Adolescents with Reading Disabilities: A Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials. PLoS ONE 9(2): e89900.

Kurniawan, S., & Conroy, G. V. (2007). Comparing Comprehension Speeds and Accuracy of Online Information in Students with and Without Dyslexia. IGI Global.

Mayer, R. E., & Moreno, R. (2003). Nine ways to reduce cognitive load in multimedia learning. Educational Psychologist, 38 (1). 43–52.

Rello, L., Kanvinde, G., & Baeza-Yates, R. (2012). Layout guidelines for web text and a web service to improve accessibility for dyslexics. Proceedings of the International Cross-Disciplinary Conference on Web Accessibility. NY: ACM.

Rello, L., Pielot, M., Marcos, M., & Carlini, R. (2013). Size matters (spacing not): 18 points for a dyslexic-friendly wikipedia. W4A 2013 - International Cross-Disciplinary Conference On Web Accessibility, (W4A 2013 - International Cross-Disciplinary Conference on Web Accessibility), doi:10.1145/2461121.2461125

Schiavo, G., & Buson, V. (2014). Interactive e-Books to support reading skills in dyslexia. In IBOOC2014-2nd Workshop on Interactive eBook for Children at IDC.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-01-2019