ปัจจัยส่วนบุคคล สังคมและระดับความรู้ที่มีความสัมพันธ์กับสาเหตุและพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดชนิด 4X100 ของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชนเขต 8 และ 9

ผู้แต่ง

  • ประกายเพชร แก้วอินทร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ภุชงค์ เสนานุช, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

ยาเสพติดชนิด 4x100, พฤติกรรมการใช้ยาเสพติดชนิด 4x100

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยส่วนบุคคล สังคมและระดับความรู้ที่มีความสัมพันธ์กับสาเหตุและพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดชนิด 4X100 ของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเขต 8 และ 9 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางสังคมของเด็กและเยาวชน ระดับความรู้เรื่องโทษของยาเสพติดชนิด 4x100 พฤติกรรมการใช้ยาเสพติดและสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดชนิด 4x100 ของเด็กและเยาวชน พร้อมทั้งเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะแนวทางในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการใช้ยาเสพติด ชนิด 4 x 100 ของเด็กและเยาวชน ซึ่งมีวิธีการสุ่มตัวอย่าง คือ การเลือกสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive) โดยเลือกจากประชากรที่เป็นเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เขต 8 และเขต 9 รวมจำนวน 14 แห่ง ที่ถูกศาลพิพากษาตัดสินลงโทษในคดียาเสพติดประเภทกระท่อมเท่านั้น และกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบกำหนดโควตา (Quota Sampling) จำนวน 200 คน ซึ่งจะกระจายตามสัดส่วนประชากรของแต่ละสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจนครบตามจำนวนขนาดตัวอย่างที่กำหนดไว้

ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 16 -17 ปี (คิดเป็นร้อยละ 70.5) มีระดับการศึกษาส่วนใหญ่ชั้นประถมศึกษา (คิดเป็นร้อยละ 74.5) มีจำนวนพี่น้องอยู่ระหว่าง 2-3 คน (คิดเป็นร้อยละ 64.5) อาศัยอยู่บ้านของพ่อและแม่ (คิดเป็นร้อยละ 76.0) มีรายรับต่อเดือนส่วนใหญ่ต่ำกว่า 1,500 บาท (คิดเป็นร้อยละ 31.5) โดยเฉลี่ยรวมแล้วกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องโทษเรื่องโทษของยาเสพติดชนิด 4 x 100 (คิดเป็นร้อยละ 51.7) และไม่มีความรู้เรื่องโทษของยาเสพติดชนิด 4x100 (เป็นร้อยละ 48.3) มีปริมาณการใช้ยาเสพติดชนิด 4x100 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ (คิดเป็นร้อยละ 35.5) มีพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดชนิด 4x100 อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 1.85, SD=1.137) มีความรับผิดชอบต่อตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.36, SD=1.058) มีสัมพันธภาพในครอบครัว อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.07, SD=1.097) และมีกระบวนการขัดเกลาทางสังคมจากครอบครัว อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 2.81, SD=1.045)

ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัย (1) โรงเรียนควรมีหลักสูตรการให้ความรู้ และสร้างความตะหนักเรื่องโทษของยาเสพติดให้แก่เด็กและเยาวชนตั้งแต่ปฐมวัย เพื่อป้องกันการใช้ยาเสพติดให้แก่เด็กและเยาวชน เนื่องจากผลการศึกษาวิจัยพบว่าเด็กและเยาวชนที่ใช้ยาเสพติดส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ 14 ปี ซึ่งเป็นช่วงของวัยรุ่น มีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านตามพัฒนาการ แต่หากมีการให้ความรู้และปลูกฝังตั้งแต่เด็กจะส่งผลทำให้เด็กมีทัศนคติในการใช้ยาเสพติดที่ลดลงได้ (2) ควรสร้างแกนนำนักเรียนในโรงเรียนเพื่อช่วยควบคุมดูแลไม่ให้เพื่อนๆหรือเด็กและเยาวชนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด (3) ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องพัฒนาการเด็กและวัยรุ่นแก่ผู้ปกครองและครูในการดูซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ พฤติกรรมต่างๆ ที่ผู้ปกครองและครูควรให้ความสำคัญ (4) ป้องกันการเผยแพร่ภาพ/วีดิโอ ของสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ นิตยสาร วิทยุ Internet (อินเตอร์เนต) ฯลฯ ให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเคร่งครัด โดยไม่ให้มีการเผยแพร่ภาพ หรือข้อมูลตัวอย่างที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างกระทำเป็นพฤติกรรมเลียนแบบ เช่น การใช้ Face book บันทึกภาพขณะกำลังเสพยาเพื่อโชว์เพื่อนใน Face book ฉากละครที่มีพระเอกหรือนางเอกเคยใช้ยาเสพติด เป็นต้น (5) ส่งเสริมให้ผู้ปกครองปลูกฝังและเป็นแบบอย่างที่ดีเรื่องการรับผิดชอบทั้งในเรื่องการเห็นคุณค่าของเงินรวมทั้งส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรู้จักการออมเงินตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อให้เด็กและเยาวชนเกิดพฤติกรรมการเลียนแบบในเรื่องการมีความรับผิดชอบด้านการใช้เงินให้เกิดประโยชน์ไม่นำเงินไปใช้จ่ายในทางที่ไม่เหมาะสม

References

กรมการศาสนา. (2521). ศีลธรรมและวัฒนาธรรม. กรุงเทพฯ : กรมฯ

กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ . (2542). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสําคัญที่สุดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.

กฤษดา ง่วนสน และมุขระวี ง่วนสน (2555) .ศึกษาสาเหตุ แรงจูงใจ และผลกระทบของผู้ติดยาเสพติด โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง จังหวัดตรัง.รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา.สาขาวิชานโยบายสาธารณะ คณะรัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กองสุขศึกษา. (2542) แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปใช้ในการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรม. นนทบุรี : กองสุขศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.การปฏิรูประบบสาธารณสุข

ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ และนาฎเฉลียว สุมาวงศ์ (2506) วิชาครูตอน 3 : จิตวิทยา. กรุงเทพฯ : ครุสภา.

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. (2541). เด็กเยาวชน และครอบครัว. กรุงเทพฯ : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

จํานง อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. (2540). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฉวีวรรณ สุขพันธ์โพธาราม (2527).พัฒนาการวัยรุ่นและบทบาทครู.กรุงเทพฯ : มิตรนราการพิมพ์

เฉลิมศรี ราชนาจันทร์ และดร.ศรีวรรณ มีคุณ (2553) ปรากฏการณ์ชีวิตของเยาวชนผู้เสพยาบ้า. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม.

เชิดชัย โชติสทธุ์. (2543). การวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไชยรัตน์ ปราณี. (2531). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพฤติกรรมการทำงานกลุ่มและความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรียนสังคมศึกษา โดยการสอน แบบซินดิเคมกับการสอนตามคู่มือครู.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรแบบการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

ซาดีอะห์ เกษา. (2556). วัยรุ่นกับความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์. สาขาวิชาความขัดแย้งและสันติศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ณรงค์ หมื่นอภัย. (2552). ปัจจัยทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการใช้สารเสพติดของเยาวชนในอำเภอ บ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ การเมือง, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ทิพวรรณ ขาวใส. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันตนเองจากยาบ้าของนักเรียนมธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนสามัญศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต 1 และ 2. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสุขศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธารีรัตน์ ยิ่งยง. 2542. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ความสามารถในการคิด แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการสอนแบบโครงการประกอบการประชาสัมพันธ์กับนักเรียนที่เรียนด้วยการสอนตามคู่มือของ หน่วยศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นัทธี จิตสว่างและคณะ. เส้นทางชีวิตของผู้ต้องขังในคดียาเสพติด. รายงานการวิจัย, กรมราชทัณฑ์

นิตยา คชภักดี. (2541) พัฒนาการปกติและผิดปกติ.ในตำรากุมารเวชศาสตร์ เล่ม 3.

นิตยา คชภักดีและคณะ .(2545).โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด “ครอบครัวอยู่ดีมีสุข”. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล.

นิยพรรณ วรรณศิริ. 2540. มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์

ภาวิณี อยู่ประเสริฐ. (2540). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้สารเสพติดของนักเรียนวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกพยาบาลสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2537). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสําหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บีแอน บีพับลิชชิ่ง

เบญจพร บัวสำลี (2555) ทัศนคติของนักศึกษาต่อร้านเหล้ารอบรั้วมหาวิทยาลัย พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านเหล้ารอบรั้วมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. การบริหารการพัฒนาสังคม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ประกิจ โพธิอาศน์ (2541) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์ วศ.ม. (สุขศึกษา).กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประจัน มณีนิล. (2540). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของผู้กระทำความผิดที่เป็นชาวไทยมุสลิมในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตร์ มหาบัณฑิตสาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ.(2520) ทัศนะคติการวัดการเปลี่ยนแปลง และพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช

ประภาศรี ทรัพย์ธนบูรณ์. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันการเสพสารเสพติดของ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา มหาวิทยาสาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผ่องพันธุ์ มณีรัตน์.(2529). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม .กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2521

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ (2530) ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรพิมล เจียมนาครินทร์.(2539). พัฒนาการวัยรุ่น.กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ แกรมมี่จำกัด

พรภัค พานพิศ (2552) ปัจจัยทีส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันปัญหายาเสพติดของนักศึกษานอกระบบ ของศูนย์ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พิจิตรา พงษ์จินดากร. (2525). การทดลองสอนความรับผิดชอบแก่เด็กนักเรียนที่มีระดับพัฒนาการทางสติปัญญาแตกต่าง กันโดยวิธีกลุ่มสัมพันธ์. ปริญญานิพนธ์กศ.ม.(จิตวิทยาการแนะแนว) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพศาล หวังวานิช. 2526. การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.มนตรี บุนนาค (2542) วิเคราะห์สาเหตุการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพยาบ้า : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ต้องขังในทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง.วิทยานิพนธ์ สังคมมศาสตร์.มหาวิทยาลัยมหิดล.

มนตรี บุนนาค .(2541). วิเคราะห์สาเหตุการกระทำผิดซ้ำในคดีเสพยาบ้า : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ต้องขังในทัณฑสถาน บำบัดพิเศษกลาง. กรุงเทพฯ : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

มนต์ชัย นินนาทนนท์. (2543). การศึกษาอิทธิพลของสถานเริงรมย์ที่มีต่อเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เล็ก สมบัติ. (2549). ภาวะการดูแลผู้สูงอายุของครอบครัวในปัจจุบัน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย)

วราภรณ์ มั่งคั่ง, จินตนา วัชรสินธุ์ และวรรณี เดียวอิศเรศ (2559) ปัจจัยครอบครัวที่มีผลต่อการใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นชายในศูนย์ฝึกและอบรมกลุ่มตัวอย่างแห่งหนึ่ง.วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. ปีที่ 11, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2559). มหาวิทยาลัยบูรพา.

วินัดดา ปิยะศิลป์. (2540). ครอบครัวกับวัยรุ่นในการพัฒนาครอบครัว.กรุงเทพฯ : บริษัทอัมรินทร์ฟริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่งจำกัด.

วิภา ด่านธำรงกูล และคณะ (2555). การศึกษาผลและผลกระทบของนักศึกษาและครอบครัวในโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้.วารสารการพยาบาลและการศึกษา.ปีที่ : 5 ฉบับที่ : 1 เลขหน้า : 53 -65 ปี พ.ศ.2555.วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิพัฒน์ รักษาเคน. (2531). ความสำนึกในความรับผิดชอบและความสามารถในการแก้ปัญหาของ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน.

วิทยา นาควัชระ. (2527). การอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยรุ่น. เอกสารการสอนชุดวิชาพัฒนาการเด็กและการเลี้ยงดู สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศรีทับทิม พานิชพันธ์. (2527). “สัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว” ในรวมบทความวิทยุเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการครอบครัวและเด็ก และอื่นๆ รวบรวมโดย ศรีทับทิม พานิชพันธ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศิพล รื่นใจชน. (2549). ความรู้ความเข้าใจในสิทธิของประชาชนเกี่ยวกบธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และ รถจักรยายนต์ ศึกษากรณีประชาชนหมู่1 ตําบลท่ามะขาม อําเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา

ศิริกุล อิศรานุรักษ์, สุธรรม นันทมงคลชัย และดวงพร แก้วศิริ. (2546). รายงานการวิจัยโครงการการพัฒนาระดับสติปัญญาเด็กวัยต่างๆ ของประเทศ ระยะที่ 2 : ส่งเสริมพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.

สรรพวุฒิ พิพัฒพันธุ์. (2530). ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการตำรวจสันติบาล กองบัญชาการสอบสวนกลาง กรมตำรวจต่อสาเหตุการกระทำผิดวินัย. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สนิท สมัครการ และคณะ (2530) พฤติกรรมและทัศนคติเกี่ยวกับยาเสพติดของคนหนุ่มสาวไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัย สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

สาธร พุทธชัยยงค์. (2548). ปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ของนักเรียนชายระดับช่วงชั้นที่ 4 ในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย.

สุกุมา แสงเดือนฉายและคณะ. (2544). กระบวนการกลายเป็นผู้ติดยาบ้าของวัยรุ่นชาย. กรุงเทพฯ: สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุชา จันทน์เอม และสุรางค์ จันทน์เอม. (2521). วิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : แพร่พิทยา. สำนักงานคณะกรรมการ

ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.(2536).คู่มือปฏิบัติงานป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเป้าหมายสถานประกอบการ. กรุงเทพฯ: กองป้องกันยาเสพติด

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2542). หลักการสำคัญในการป้องกันการใช้ยาเสพติดในทางที่ผิด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

สุโท เจริญสุข. (2520). บทศึกษาจิตวิทยาเพื่อการศึกษาการแนะแนวสุขภาพจิตในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ปณิตา นิสสัยสุข. (2552). ความรู้และพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของประชาชนในพื้นที่ เทศบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2538). ทัศนคติการวัด การเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ปรียา เกตุทัต. 2537. การอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยก่อนเรียน. ใน ยุวดี กาจนัษฐิติ (บรรณาการ) เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาเด็กและการเลี้ยงดู (หน่วยที่ 1-7, พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ปรียพัชรา ชัยรัตน์. (2546). รายงานวิจัยเรื่องปฏิกิริยาของครอบครัวและชุมชนที่มีผลต่อผู้ติดยาเสพติด. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชันส์.

รอดีดะห์ มะสะแม (2554) ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การใช้ยาเสพติดของผู้ติดสารเสพติดของศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด จังหวัดปัตตานี. ปริญญานิพนธ์. มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์

แสงจันทร์ โสภากาล. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจของบุคลากรเกี่ยวกับองค์กรการบริหารส่วนตำบล. รายงานการวิจัย. คณะสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

อชิตพล ศรีกุลวงศ์,จิรนัท สิทธิ์น้อย และคณะ (2555) รายงานการศึกษาวิจัย เรื่องยาเสพติดและวัยรุ่น. อุบลราชธานี : โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช

อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์ และประภา ยุทธไตร (2556) ปัจจัยสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สารเสพติดในทางที่ผิดและติดสารของผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ในระบบบังคับบำบัด.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.

อาทิตย์ คชชา (2551) การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมต่อโครงการ “โรงงานสีขาว” : กรณีศึกษาพนักงานบริษัท ทีบีเคเค (ประเทศไทย) จำกัด. มหาวิทยาลัยบูรพา

อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2544). จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ซันต้าการพิมพ์

Dusek, J. B. 1987. Adolescent Development and Behavior. Eaglewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Paulson,P.C.(1970).Psychosocial Factors in drug use among Community College students. Dissertation abstracts International.

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2558). รายงานสถิติประจำปี. ค้นเมื่อ 2558, จาก http://www2.djop.moj.go.th/stat/statannual

ไทยรัฐออนไลน์.(2557). เผย'4x100'สูตรใหม่ ระบาดหนักในวัยรุ่น ใช้เสพติดแทนเหล้า เจอด่านตรวจไม่พบ. ค้นเมื่อ 2558, จาก http://www.thairath.co.th /content/445523

มานพ. (2553). โทษของน้ำกระท่อม. ค้นเมื่อ 2558, จากhttp://manap166. blogspot.com/2010/02/blog-post_22.html

เพชรดาว โต๊ะมีนา. (2548). สุขภาพจิต 3 จังหวัดชายแดนใต้. ค้นเมื่อ 2558, จาก http://www.thaimental.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-01-2019