ทัศนคติและพฤติกรรมเอื้อเฟื้อต่อผู้สูงอายุของนิสิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้แต่ง

  • เฉลิมขวัญ สิงห์วี, อาจารย์ ดร. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ทัศนคติต่อผู้สูงอายุ, พฤติกรรมเอื้อเฟื้อต่อผู้สูงอายุ, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรมเอื้อเฟื้อต่อผู้สูงอายุของนิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติต่อผู้สูงอายุ และระดับพฤติกรรมเอื้อเฟื้อต่อผู้สูงอายุของนิสิต 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมเอื้อเฟื้อต่อผู้สูงอายุของนิสิตตามปัจจัยส่วนบุคคล และ3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อผู้สูงอายุกับพฤติกรรมเอื้อเฟื้อต่อผู้สูงอายุของนิสิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จำนวน 509 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตมีทัศนคติเชิงบวกต่อผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง มีทัศนคติเชิงลบต่อผู้สูงอายุในระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมเอื้อเฟื้อต่อผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง 2) นิสิตที่มีเพศ ชั้นปีที่ศึกษาและการมีผู้สูงอายุเป็นสมาชิกครอบครัวแตกต่างกันมีพฤติกรรมเอื้อเฟื้อต่อผู้สูงอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และ.05 และนิสิตที่มี ภาคการศึกษา การเข้าร่วมกิจกรรม และเกรดเฉลี่ยสะสมแตกต่างกันมีพฤติกรรมเอื้อเฟื้อต่อผู้สูงอายุไม่แตกต่างกัน และ3) ทัศนคติเชิงบวกต่อผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเอื้อเฟื้อต่อผู้สูงอายุของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และทัศนคติเชิงลบต่อผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมเอื้อเฟื้อต่อผู้สูงอายุของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

Author Biography

เฉลิมขวัญ สิงห์วี, อาจารย์ ดร., คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาจิตวิทยา

References

กาญจนา ตั้งชลทิพย์และคณะ. (2553). คุณค่าผู้สูงอายุไทย : มุมมองจากคนสองวัย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

นพมาศ อุ้งพระ (ธีรเวคิน). (2555). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์. บริษัท.

ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2556). ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน.กรุงเทพมหานคร: ยูเนี่ยนครีเอชั่น.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2544). หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ .กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่งปี 2557. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2558, จาก http://www.nesdb. go.th /temp_social/ data/SocialOutlookQ1-2014.pdf.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545 – 2564). สืบค้นเมื่อ 20เมษายน2558, จาก http://www. thaicentenarian.mahidol.ac.th/TECIC/index.php?option=com_content&view=article&id=49:-2-2545-2564&catid=39:policy&Itemid=60.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). เตรียมตัวให้พร้อมไว้ ในวัยผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2558, จาก http://service.nso.go.th/ nso/nsopublish/citizen/ news/poll_elderly-1.jsp.

สุริยเดว ทรีปาตี. (2554). เด็กเจเนอเรชั่น แอลฟากับการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2558, จาก http://educa2014.com/wp-content/uploads/2014/11/d17
-29.pdf.

Andreoni, J. and Vesterlund, L.( 2001). “Which is the fair sex?: gender differences in altruism.” The Quarterly Journal of Economics. pp. 293-312.

Bem, S. L. (1974). The measurement of psychological androgyny. Journal of Consulting and Clinical Psychology, 42, 155-162.

Cicirelli,V. G.(1983). “Adult children's attachment and helping behavior to elderly parents: a path model.” Journal of Marriage and Family.Vol. 45, No. 4 (Nov. 1983). pp. 815-825.

Culbertson, H.M. (1968). “What is an attitude?.” Journal of Cooperative Extension. Summer 1968. pp. 79-84.

Fishbein, M., and Ajzen, I. (1975). Belief, Attitude, Intention, and Behavior: an Introduction to Theory and Research. Reading: Addison-Wesley.

Khalaila, R. (2013). “Religion, altruism, knowledge and attitudes toward organ donation: a survey among a sample of Israeli college students.” Med Law. Vol.32 No.1 (Mar. 2013). pp. 115-129.

Kilty, K.M. (1968). “Attitudinal Affect and Behavioral Intentions.” Technical Report. No. 65 (November, 1968 ). pp.1-22.

Millon,T, Lerner, M. J. ,Weiner, I. B. (2003). Handbook of Psychology, Personality and Social Psychology. New Jersey : John Wiley & Sons.

Oliveira, N.A., Luchesi, B.M., Inouye, K., Barham, E.J., Pavarini, S.C.(2015). “Assessment of the attitudes toward aging among children who live with the elderly.”Acta Paul Enferm. Vol.28 No.1. pp. 87-94.

Power, B. (1992). Attitudes of Young People to Aging and the Elderly.National Council for the Elderly. Report No. 16. Dublin, Ireland: National Council for the Elderly.

Seefeldt, L.D.(2015). Gender Stereotypes Associated with Altruistic Acts. Online http://www2.uwstout.edu/content/rs/2008/10Gender%20Altruism%20 for%20publication.pdf. Retrieved for 5 August, 2015.

Sijuwade,P. O.(2009). Attitudes towards old age: a study of the self-image of aged. Study Home Com Sci, Vol.3 No.1. pp.1-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-02-2019

How to Cite

สิงห์วี เ. (2019). ทัศนคติและพฤติกรรมเอื้อเฟื้อต่อผู้สูงอายุของนิสิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และการบริหารสังคม, 23(2), 55–78. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swjournal/article/view/171647