การกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์ของกลุ่มเยาวชน ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัมมัฏฐิตตา อยู่เจริญ คณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

การกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์, การเยียวยาสภาพจิตใจ, การวิจัยเชิงคุณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพระยะที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษามูลเหตุจูงใจหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์ 2. ศึกษาวิธีการหรือกระบวนการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์ 3. ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์ และ 4. ศึกษาแนวทางในการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาสภาพจิตใจของผู้ถูกกระทำจากการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์ ผ่านมุมมองของผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้นจำนวน 16 คน ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview)

ผลการวิจัยสรุปว่า

1. มูลเหตุจูงใจหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์ พบว่า สาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์ มาจากเรื่องของความไม่พึงพอใจซึ่งกันและกันไม่ชอบพอกัน หมั่นไส้ ความคิดเห็นไม่ตรงกัน อิจฉา และขัดแย้งทางผลประโยชน์ทั้งหมดนี้คือเหตุให้เกิดการโพสต์ประจาน ด่าทอ ดิสเครดิตให้อีกฝ่ายได้รับความเสียหายทั้งทางร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังพบว่าการกระทำด้วยความคึกคะนองก็เป็นมูลเหตุจูงใจได้เช่นกัน อาทิ ทำแล้วสนุก ต้องการแซว ล้อเลียน จนบานปลาย ทำให้อีกฝ่ายเสื่อมเสียชื่อเสียง ได้รับผลกระทบจากการขาดสติ การทำไปด้วยความคึกคะนองและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

2. วิธีการหรือกระบวนการกลั่นแกล้งจะกระทำได้ตาม 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกลั่นแกล้งทางวาจา 2) การกลั่นแกล้งทางสังคม และ 3) การทำลามกอนาจาร

3. ผลกระทบที่เกิดจากการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์ แบ่งออกเป็น 3 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 ผลกระทบที่ได้รับจากการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์ส่งผลต่อผู้ที่ถูกกลั่นแกล้ง (ผู้ถูกกระทำ) มิติที่ 2 ผลกระทบที่ได้รับจากการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์ส่งผลต่อตัวของผู้กลั่นแกล้ง (ผู้กระทำ) และมิติที่ 3 ผลกระทบที่ได้รับจากการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์ส่งผลต่อสังคม

4. ศึกษาแนวทางในการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาสภาพจิตใจของผู้ถูกกระทำจากการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์ แบ่งออกเป็น 2 มิติ ประกอบด้วย มิติที่ 1 แนวทางในการป้องกันผู้ถูกกระทำจากการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์ และมิติที่ 2 แนวทางในการแก้ไขและเยียวยาสภาพจิตใจของผู้ถูกกระทำจากการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์ ซึ่งเป็นแนวทางในการแก้ไขและเยียวยาสภาพจิตใจเมื่อถูกกลั่นแกล้งหรือตกเป็นเหยื่อจากการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์ ประกอบด้วย 5 แนวทางหลัก ได้แก่ อาศัยหลักการทางด้านจิตวิทยา อาศัยหลักการทางด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลใกล้ชิด อาศัยหลักการทางด้านศาสนา การให้ความคุ้มครองด้านงานระบบและเทคโนโลยี และการให้ความคุ้มครองตามหลักกฎหมาย

References

กนกอร จันยมิตรี และ กัญญ์ฐิตา ศรีภา. (2563). แนวทางการป้องกันพฤติกรรมการเบี่ยงเบนทางสังคมของวัยรุ่นจากการถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ศึกษาเฉพาะกรณี โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 26(2), 116-141.

คณาธิป ทองรวีวงศ์. (2558). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิบุคคลจากการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตาย: ศึกษากรณีกฎหมายความปลอดภัยไซเบอร์. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ “นวัตกรรมกับความท้าทายทางภาษาและการสื่อสารในโลกไร้พรมแดน” วันที่ 3-4 กันยายน 2558 ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชาญวิทย์ พรนภดล. (2561). อย่าปล่อยให้เด็กถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ (Cyber Bullying). สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28079

ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.

ณัฐรัชต์ สาเมาะ. (2556). การรับรู้ของเยาวชนต่อการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทรงเกียรติ จรัสสันติจิต. (2560). Cyberbullying: ถ้ารักฉัน อย่ารังแกฉัน. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 17(1), 117-137.

ธัมมัฏฐิตตา อยู่เจริญ. (2562). เอกสารประกอบการสอนวิชา จว. 307 จิตวิทยาการฝึกอบรมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: คณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

บุญเสริม หุตะแพทย์ และคณะ. (2552). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์สื่อและความรุนแรงจากสื่อต่อเด็กและเยาวชนไทย = The media and effects of media violence on the Thai children and adolescents. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปรเมศวร์ กุมารบุญ. (2561). การส่งเสริมการศึกษาในวิชาอาชญากรรมไซเบอร์. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์, 4(2), 67-81.

ปองกมล สุรัตน์. (2561). สาเหตุและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการรังแกผ่านโลกไซเบอร์: กรณีศึกษาเยาวชนไทยผู้ถูกรังแก. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1), 260-273.

ปองกมล สุรัตน์, ฐาศุกร์ จันประเสริฐ และ นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. (2561). กระบวนการรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในเยาวชนไทย: การศึกษาแบบ

พหุกรณี. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(2), 61-79.

พิมพวัลย์ บุญมงคล และคณะ. (2558). การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายโรงเรียนเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่ออนไลน์ในกลุ่มเยาวชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภัทรธิรา ผลงาม. (2544). ความพึงพอใจและความต้องการของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาต่อกระบวนการการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสถาบันราชภัฏเลย. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ภัทราพร เกษสังค์. (2559). การวิจัยปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมธินี สุวรรณกิจ. (2560). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการถูกกลั่นแกล้งในสังคมออนไลน์. วารสารนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(2), 60-61.

สุภาวดี เจริญวานิช. (2560). การรังแกกันผ่านพื้นที่ไซเบอร์: ผลกระทบและการป้องกันในวัยรุ่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(4), 639-648.

องอาจ นัยพัฒน์. (2551). การออกแบบการวิจัย : วิธีการเชิงปริมาณเชิงคุณภาพ และผสมผสาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฤทัยชนนี สิทธิชัย และ ธันยากร ตุดเกื้อ. (2560). พฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ของเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนใต้. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(1), 86-99.

Agathi, S., Zoe, K., Dionisis, L., Panagiotis, M., Georgia, K., & Athanasios, S. D. (2018). Cyber Bullying and Traumatic Experiences: The Impact on Learning Disabilities. The International Journal of Engineering Science, 6(1), 74-87.

Agnew, R. (2001). General Strain Theory Building on the Foundation of General Strain Theory: Specifying the Types of Strain Most Likely to Lead to Crime and Delinquency. E-Journal of Research in Crime and Delinquency, 38(4), 319-361.

Allison, M. S., & William, J. F. (2012). Prevalence, Psychological Impact, and Coping of Cyberbully Victims Among College Students. Journal of School Violence, 11(1), 21-37.

Cohen, L., & Felson, M. (1979). Social Change and Crime Rate Trends: a Routine Activity. Approach. American Sociological Review, 44, 488 - 608.

Creswell, J. W. (1998). Qualitative Inquiry and Research Design: Choosing Among Five Tradition. Thousand Oaks: Sage.

Freud, S. (1964). Group Psychology and The Analysis of The Ego Sigmund Freud. New York: Bantam Books.

Glaser, B. G., & Strauss, A. L. (1967). The Discovery of Grounded Theory: Strategies for Qualitative Research. Chicago: Aldine Publishing Company.

Khruakham, S. (2015). Crime, criminology and criminal justice. Nakornpathom: Phetkasem.

Luthans, F., Youssef, C., & Avolio, B. (2007). Psychological capital. Oxford: Oxford University Press.

Plutchik, R. (1980). Emotion: Theory research and experience. New York: Academic.

Tuncay, A., & Mehmet, B. H. (2012). On Being Cyber Bully and Victim among Primary School Students. Elementary Education Online, 11(2), 369-380.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022