ความไม่มั่นคงในสภาวะสมัยใหม่สู่การเรียนรู้ความหมายในชีวิตผ่านการตาย
คำสำคัญ:
ความไม่มั่นคงภายใน, ตัวตน-อัตลักษณ์, ความหมายในชีวิต, การตายบทคัดย่อ
ปรากฏการณ์ความไม่มั่นคงภายในท่ามกลางบริบทแห่งชีวิตที่ไม่แน่นอน กำลังพาให้คนหาความมั่นคงภายในเพื่อยึดเหนี่ยวชีวิต ก่อให้เกิดคำถามต่อความหมายในชีวิตทั้งการอยู่และตาย บทความชิ้นนี้ เป็นการศึกษาเชิงทฤษฎีผ่านการทบทวนเอกสาร เพื่อเข้าใจปฏิบัติการของสภาวะสมัยใหม่ต่อชีวิตทางสังคมในระดับปัจเจกบุคคลทั้งการให้คุณค่าและความหมายที่สะท้อนถึงตัวตนและอัตลักษณ์ เพื่อนำไปสู่กระบวนการและมุมมองในการเข้าใจชีวิตและเท่าทันปัญหาของการดำรงอยู่ในสังคมสมัยใหม่มากขึ้น จากการศึกษาพบว่า ความพร่าเลือนของคุณค่าและความหมายในสภาวะสมัยใหม่ส่งผลต่อความไม่มั่นคงภายใน ปฏิบัติการของสภาวะสมัยใหม่ช่วงปลายทำให้ผู้คนในระดับปัจเจกทั้งต้องยืนหยัดอัตลักษณ์ความเป็น “ตัวตน” แห่งยุคสมัยด้วยตนเอง พร้อมไปกับพยายามหลอมรวมต่อรองกับสภาพสังคมที่ห้อมล้อมผ่านวิถีชีวิตในแบบของตน และการเชื่อมโยงกับชีวิตทางสังคมของปัจเจกผ่านสายสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ นั้น ก็สร้างพันธะแบบทางการ เต็มไปด้วยความหวังที่จะมีความสัมพันธ์ที่แท้กับโลกได้ โดยประเด็นร่วมที่สำคัญ 3 เรื่อง คือ 1) การเปลี่ยนแปลงคุณค่าร่วมในสังคม 2) ความเปลี่ยนแปลงในระดับปัจเจกบุคคล โดยเฉพาะตัวตนและอัตลักษณ์ 3) ความสัมพันธ์ในบริบทสมัยใหม่ ปัญหาจากการสูญเสียคุณค่าและความหมายนี้ สามารถรับมือจากการเรียนรู้ความหมายในชีวิตโดยเฉพาะสร้างความตระหนักผ่านประสบการณ์กับการตาย การได้ใช้ชีวิตเพื่อใคร่ครวญและทำความเข้าใจกับแหล่งกำเนิดความหมายในชีวิตของแต่ละคนจึงเป็นข้อเสนอในงานชิ้นนี้ โดยทั้งปัจเจกและสังคมนั้น จะต้องให้พื้นที่ในการเรียนรู้และออกแบบความหมายในชีวิตของแต่ละปัจเจกที่มีแหล่งกำเนิดจากภายนอกหรือภายในตัวเอง ขณะเดียวกันในระดับสังคมก็ต้องทบทวนเพื่อตระหนักต่อการร่วมสร้างคุณค่าและความหมายร่วมใหม่ ที่มุ่งหาความหมายที่เชื่อมโยงกับสาธารณะร่วมกัน
References
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (บรรณาธิการ). (2550). วัฒนธรรม ความตายกับวาระสุดท้ายของชีวิต: คู่มือเรียนรู้มิติสังคมของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ.
เชษฐา พวงหัตถ์. (2551). ทฤษฎีสังคมและการทำความเข้าใจสภาวะสมัยใหม่ของแอนโธนี กิ๊ดเดนส์. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 26(1), 2-41.
ดาริน อินทร์เหมือน. (2547). การสร้างสภาวะสมัยใหม่ บทบาทของเหตุผล และการวิพากษ์เหตุผล. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์. (2561). “บ้าน” สุดท้ายของชีวิต: มุมมองเชิงสังคมวิทยาต่อการบริบาลคุณภาพชีวิตระยะท้าย (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.).
วริษฐา แซ่เจีย. (2563). ในวันที่รู้สึกไร้ความหมาย: ทำไมมนุษย์เฝ้าตามหาชีวิตและจะรับมือกับความคิดนี้อย่างไร. สืบค้นจาก https://thematter.co/social/philosophy/suffuring-of-existential-crisis/101852.
สุภางค์ จันทวานิช. (2551). ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นจาก https://www.royin.go.th/dictionary/
อลิซาเบธ คืบเลอร์-รอสส์, และ เดวิด เคสเลอร์. (2548). ชีวิตสอนอะไรบ้าง Life lessons (นุชจรีย์ ชลคุป, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 1972).
Bauman, Z. (1992). Mortality, immortality and other life strategies. California: Stanford University Press.
Baumeister, R. F., Vohs, K. D., Aaker, J. L., & Garbinsky, E. N. (2013). Some key differences between a happy life and a meaningful life. The Journal of Positive Psychology, 8(6), 505-516. Retriveted from https://doi.org/10.1080/17439760.2013.830764
Bocock, R. (1992). The Cultural Formations of Modern Society, in Hall, S., & Gieben, B. (Eds.), Formations of Modernity. Cambridge: Polity Press and the Open University. 229-268.
Critchley, S. (2001). Continental Philosophy: A Very Short Introduction. Oxford: Oxford University Press.
Giddens, A. (1990). The Consequences of Modernity. California: Stanford University Press.
Giddens, A. (1991). Modernity and self-identity: Self and society in the late modern age. California: Stanford University Press.
Hall, S. and Gieben, B. (Eds) (1992). Formations of Modernity. Cambridge: Polity Press and the Open University.
Heaphy, B. (2007). Late modernity and social change: Reconstructing social and personal life. London: Routledge.
Kolb, D. (1986). The critique of pure modernity: Hegel, Heidegger, and after. Chicago: The University of Chicago Press.
Kim, S. (2022). "Max Weber", The Stanford Encyclopedia of Philosophy (Winter 2022 Ed.) Zalta, E. N. & Nodelman, U. (Eds.). Retriveted from https://plato.stanford.edu/archives/win2022/entries/weber/
Kumar, K. (1995). From Post-industrial to Post-modern Society: New Theories of the Contemporary World. Oxford: Wiley-Blackwell.
Nietzsche, F. (2006). Thus Spoke Zarathustra: A Book for All and None. (Del Car, A. & Pippin, R. B. (Ed.). Del Caro, A., Trans.). Cambridge: Cambridge University Press.
Nozick, R. (1989). The Examined Life: Philosophical Meditations. New York: Simon & Schuster Paperbacks.
Pippin, R. B. (1991). Modernism as a Philosophical Problem. Oxford: Wiley-Blackwell.
Schabert, T. (1983). Modernity and History 1: What is Modernity. Retrieved from https://doi.org/10.1177/039219218303112306
Smith, E. E. (2017). The Power of Meaning: Crafting a Life That Matters. New York: Crown Publishers.
Weber, M. (1946). Science as a Vocation. In From Max Weber: Essays in Sociology (Gerth, H. H. & Mills, C. W., Eds & Trans.) New York: Oxford University Press.
Weber, M. (1947). Max Weber, the Theory of Social and Economic Organization. New York: Free Press.
Weber, M. (1978). Economy and Society: An Outline of Interpretive Sociology. California: University of California Press.
Weber, M. (2005). The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism. New York: Routledge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และการบริหารสังคม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอสงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ