คุณภาพชีวิตของเด็กวัยเรียนในครอบครัวข้ามรุ่น
คุณภาพชีวิต : เด็กวัยเรียนในครอบครัวข้ามรุ่น
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตเด็กวัยเรียน, เด็กวัยเรียน, ครอบครัวข้ามรุ่นบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง “คุณภาพชีวิตของเด็กวัยเรียนในครอบครัวข้ามรุ่น” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของเด็กวัยเรียนในครอบครัวข้ามรุ่น และปัจจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างในระดับคุณภาพชีวิตของเด็กวัยเรียนในครอบครัวข้ามรุ่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ปู่ หรือ ย่า หรือ ตา หรือ ยาย ของเด็กไทยที่มีอายุ 6-12 ปี ในครอบครัวข้ามรุ่น และมีสมาชิกรุ่นหลานศึกษาอยู่ในโรงเรียนรัฐบาลภายในอำเภออรัญประเทศ จำนวน 139 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ t-test และ f-test
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นปู่ หรือ ย่า หรือ ตา หรือ ยาย ของเด็กไทยที่มีอายุ 6-12 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 74.1 มีอายุเฉลี่ยที่ 64.14 ปี มีความสัมพันธ์เป็นยายของเด็ก ร้อยละ 41.0 ประกอบอาชีพพนักงาน-ลูกจ้างเอกชน (รับจ้าง) ร้อยละ 41.0 และมีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 56.8 โดยความคิดเห็นของสมาชิกรุ่นปู่ย่าตายายที่มีต่อระดับคุณภาพชีวิตของเด็กวัยเรียนในระยะเวลาที่อยู่ในความดูแลของตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.35 โดยมีความคิดเห็นว่าเด็กวัยเรียนได้รับการเสริมสร้างศักยภาพมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.40 รองลงมาเป็นการได้รับการคุ้มครอง ค่าเฉลี่ย 4.37 และการได้รับการจัดสวัสดิการ ค่าเฉลี่ย 4.28 ทั้งนี้ด้านความสามารถของสมาชิกรุ่นปู่ย่าตายายต่อการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว และความรู้ความเข้าใจของสมาชิกรุ่นปู่ย่าตายายต่อนโยบายของรัฐด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กวัยเรียนที่แตกต่างกันของกลุ่มตัวอย่างส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กวัยเรียนที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีบทบาทในการออกแบบนโยบายเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ควรมีนโยบายในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ปกครองในการเฝ้าระวังการใช้เครื่องมือสื่อสารสำหรับเด็ก การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล เพื่อเฝ้าระวังการใช้สื่อและการเสพสื่อที่ไม่เหมาะสม, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงเรียนควรมีนโยบายในการสำรวจครอบครัวที่อยู่ในภาวะขาดแคลน จำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลเพื่อตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของเด็กวัยเรียน เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการให้การสนับสนุนสิ่งของหรือบริการ ตามโอกาสต่าง ๆ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงเรียนควรมีนโยบายที่ช่วยอุดหนุนให้เด็กวัยเรียนได้รับประทานอาหารเช้า โดยนโยบายของการอุดหนุนส่งเสริมให้โรงเรียนปลูกผักสวนครัว โรงเรือนเพาะเห็ด โรงเรือนไก่ไข่ เพื่อนำผลผลิตที่ได้มาประกอบอาหารเช้าให้กับเด็กวัยเรียนที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล ทั้งนี้อาจออกแบบนโยบายที่สร้างการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครองไปพร้อมกันด้วย โดยการขอความร่วมมือในการมีส่วนร่วมอย่างง่าย และโรงเรียนควรมีนโยบายในการให้การบ้านที่เป็นลักษณะของการสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัวในเชิงทักษะทางการใช้ชีวิตเพื่อตอบสนองต่อประเด็นของการสร้างช่วงเวลาคุณภาพ ระหว่างผู้ปกครองและเด็ก เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและการให้ความสำคัญกับบทบาทของการเป็นผู้ดูแลเด็กของผู้ปกครอง
References
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2560). แผนกลยุทธ์กรมกิจการเด็กและเยาวชน
ฉบับที่ 1 พ.ศ.2560-2564. สืบค้นจาก http://tpso4.m-society.go.th/images/DatabaseTPSO4/About_TPSO/strategy_V.1.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). การดำเนินงานนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมึคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือการดำเนินงานกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: กองทุนเพื่อโครงการ
อาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ.
ถิรวัฒน์ ปิตกภัทรากร. (2562). การประเมินโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนในสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัด
บึงกาฬ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 25(4), 165-166.
ผกามาศ นันทจีรวรวัฒน์. (2554). การศึกษาและพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวอย่างประสบความสำเร็จด้วยการให้
คำปรึกษาครอบครัวโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. (ปริญญานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พัฒนาพร ไทยพิบูลย์. (2560). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของครอบครัวแหว่งกลางเพื่อส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กภายใต้
ความคิดครอบครัวนิเวศ. (ปริญญานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์.
มารยาท โยทองยศ และปราณี สวัสดิสรรพ์. (ม.ป.ป.). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. สืบค้นจาก
http://www.fsh.mi.th/km/wp-content/uploads/2014/04/resch.pdf
ยุภดี สงวนพงษ์. (กันยายน-ธันวาคม 2563). คุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัยอายุ 2-4 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลนาฝาย อำเภอ
เมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 ปีที่ 14 ฉบับที่ 35, 389-409.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). รัฐธรรมนูญแห่งราอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/
DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2559). ผลกระทบของการย้ายถิ่น
ภายในประเทศที่มีต่อสุขภาวะและพัฒนาการเด็กปฐมวัย. สืบค้นจาก https://www.unicef.org/thailand/media/396/file /
ผลกระทบของการย้ายถิ่น ภายในประเทศที่มีต่อสุขภาวะ%20และพัฒนาการเด็กปฐมวัย.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). โครงการการสำรวจและติดตามการใช้จ่ายภาครัฐของโครงการเรียนฟรี 15 ปี
ในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.unicef.org/thailand/media/301/file/รายงานโครงการการสำรวจติดตามการใช้จ่าย
ภาครัฐของโครงการเรียนฟรี%2015%20ปีในประเทศไทย.pdf
สำนักงานส่งเสริมสันติภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ. (ม.ป.พ.). อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และพิธีสาร
เลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก. สืบค้นจาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/ CABINFOCENTER23/DRAWER053
/GENERAL/DATA0000/00000643.PDF
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย. (2563). รายงานผลฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย
พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย
อธิชา วุฒิรังษี. (มกราคม-มิถุนายน 254). การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของผู้สูงอายุ. วารสารสหศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 21 ฉบับที่ 1,90-106
อุไรวรรณ รุ่งไหรัฐ. (2561). การศึกษาคุณภาพชีวิตเด็กเยาวชนและผู้สูงอายุในครอบครัวแหว่งกลางในพื้นที่ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย. สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Caspar Peek et al. (2015). รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ. 2558 โฉมหน้าครอบครัวไทย ยุคเกิดน้อย อายุยืน.
สืบค้นจาก http://countryoffice.unfpa.org/thailand/drive/ebook_th-1.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมภิวัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว