การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจคุณลักษณะทางวิชาชีพที่พึงประสงค์ต่อการปฏิบัติงานการบริการผู้โดยสารภาคพื้นสายการบิน

Main Article Content

อาทิตย์ อินต๊ะแก้ว

บทคัดย่อ

          การศึกษาเชิงปริมาณครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะทางวิชาชีพที่พึงประสงค์ต่อการปฏิบัติงานการบริการผู้โดยสารภาคพื้นสายการบิน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเจ้าหน้าที่บริการผู้โดยสารภาคพื้นสายการบินจำนวน 209 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามคุณลักษณะทางวิชาชีพที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานบริการผู้โดยสารภาคพื้นสายการบินที่พัฒนามาจากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบเชิงสำรวจคุณลักษณะทางวิชาชีพที่พึงประสงค์ต่อการปฏิบัติงานการบริการผู้โดยสารภาคพื้นสายการบินประกอบด้วย 7 องค์ประกอบได้แก่ บุคลิกภาพ ทักษะการบริการผู้โดยสาร การปฏิบัติงาน ทักษะระหว่างบุคคล การรักษาภาพลักษณ์ของสายการบิน ทักษะการรับรู้ความสามารถของตนและการปรับตัว และทักษะด้านความรู้ด้านงานบริการผู้โดยสารภาคพื้นสายการบิน โดยแต่ละองค์สามารถอธิบายความแปรปรวนของคุณลักษณะบัณฑิตที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานบริการผู้โดยสารภาคพื้นสายการบิน ได้ร้อยละ 14.257, 11.530, 10.949, 8.034, 7.984, 6.626, และ 3.954 ตามลำดับ โดยองค์ประกอบคุณลักษณะทั้ง 7 สามารถอธิบายความแปรปรวนรวมของคุณลักษณะทางวิชาชีพที่พึงประสงค์ต่อการปฏิบัติงานการบริการผู้โดยสารภาคพื้นสายการบิน ได้ร้อยละ 65.062

Article Details

How to Cite
อินต๊ะแก้ว อ. (2019). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจคุณลักษณะทางวิชาชีพที่พึงประสงค์ต่อการปฏิบัติงานการบริการผู้โดยสารภาคพื้นสายการบิน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 14(2), 64–76. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/article/view/206973
บท
บทความวิจัย

References

[1] Airport Authority of Thailand. (2016). 2016 Annual Report. Retrieved January 21, 2017, from https://airportthai.co.th/main/th/752-annual-report-sustainability-report.

[2] Bangkok Airways. (2016). Careers. Retrieved June 16, 2016, from https://career.bangkokair.com/.

[3] Chara-um, Thanasiri. (2014). A Model of Graduates’ Employability Attributes Development for Tourism Professionals in ASEAN Community. Bangkok: Graduate School, Chulalongkorn University.

[4] Comrey, L. & Lee, B. (1992). A First Course in Factor Analysis. Hillsdale: Lawrence Erlbaum.

[5] Cutting, J. (2012). English for Airport Ground Staff. English for Specific Purposes, 31(1), 3-13.

[6] Office for National Education Standards and Quality Assessment. (2016). Press Conference in the Standard of Education in the Field of Aviation in Thailand. Retrieved June 16, 2016, from https://www.mua.go.th.

[7] Srisathitnarakul, Boonjai. (2012). Developing and Qualifying Research Instruments: Psychological Trait Measurement. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

[8] Suthanyarak, Chonwit. (2014). Airline Ground Service. Pathumthani: Bangkok University Press.

[9] Thareekes, Lalitlak. & Simasathien, Pojana. (2017). Expectations of the Aviation Students at Eastern Asia University toward Employment in the Aviation Industry. EAU Heritage Journal, 7(2), 70-78.

[10] Thai Cabin Crew. (2016). Airline Ground Jobs. Retrieved June 16, 2016, from https://www.thaicanbincrew.com.

[11] Wattanakamolchai, Somyot. (2014). Airline Business. Pathumthani: Bangkok University Press.