ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการเที่ยวบิน ณ สนามบินอู่ตะเภา เส้นทางบิน อู่ตะเภา – อินชอน ประเทศเกาหลีใต้ของบริษัทนำเที่ยว

Main Article Content

กมลรัก เสนาจักร์
นรารัก บุญญานาม
นวลพรรณ ไม้ทองดี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของบริษัทนำเที่ยวในการเลือกเดินทางผ่านสนามบินอู่ตะเภาไปยังประเทศเกาหลีใต้ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามาจากแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างบริษัทนำเที่ยวในภาคตะวันออกจำนวน 260 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้การศึกษา ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุแบบจำลองโลจิต


          ผลการศึกษาพบว่า บริษัทนำเที่ยวส่วนใหญ่ใช้บริการสนามบินเฉลี่ยที่ 9–12 ครั้งต่อเดือน โดยมีลูกทัวร์เฉลี่ยต่อครั้งในการใช้บริการสนามบินปริมาณ 50–99 คน เส้นทางบินที่ใช้บริการมากที่สุดได้แก่ เส้นทางบินประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง และมาเก๊า ตามลำดับ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สนามบินคือ ฝ่ายบริหาร มีกลุ่มตัวอย่างบริษัทนำเที่ยวจำนวน 135 บริษัท สนใจเลือกใช้บริการเส้นทางบินไปยังประเทศเกาหลีใต้ ณ สนามบินอู่ตะเภา ผู้ศึกษาสามารถคาดการณ์ความถี่ที่เหมาะสมของเที่ยวบินอู่ตะเภา – อินชอนอยู่ที่ 8 เที่ยวบินต่อเดือน ปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านบุคลากร เป็นปัจจัยที่มีระดับความสำคัญมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.548) และผลการวิเคราะห์แบบจำลองโลจิตพบว่า ปัจจัยที่สามารถอธิบายความน่าจะเป็นของการตัดสินใจเลือกใช้บริการเที่ยวบิน ณ สนามบินอู่ตะเภาไปยังสนามบินอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ของบริษัทนำเที่ยวได้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.10 ได้แก่ เพศ อายุ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สนามบิน การใช้สนามบินอู่ตะเภา เวลาที่สะดวกใช้สนามบิน การใช้เที่ยวบินไปประเทศเกาหลีใต้ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยด้านกระบวนการ

Article Details

How to Cite
เสนาจักร์ ก., บุญญานาม น., & ไม้ทองดี น. (2022). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการเที่ยวบิน ณ สนามบินอู่ตะเภา เส้นทางบิน อู่ตะเภา – อินชอน ประเทศเกาหลีใต้ของบริษัทนำเที่ยว. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 17(1), 3–18. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/article/view/247140
บท
บทความวิจัย

References

Aeronautical Radio of Thailand Ltd. (2017). Future of Aviation Industry. Retrieved from https://www.aerothai.co.th/th/aerothai-update/

Booms, B. H. & Bitner, M. J. (1981). Marketing Strategies and Organization Structures for Service Firms. In Donnelly, J. H. & George, W. R. (Eds.), Marketing of Services. American Marketing Association, Chicago.

Kotler, P. (1994). Marketing Management. Englewood Cliffs, N. J.: Prentice–Hall.

Lertkojchasie, M. (2015). Factors Affecting Consumer Choice of Thai Airways Domestic Flights. Faculty of Commerce and Accountancy, Thammasat University.

Ministry of Tourism and Sports. (2018). Tourist Statistics. Retrieved from http://www.mots.go.th/more_news.php?cid=411.

Muñoz, C., Cordoba, J. & Sarmiento, I. (2016). Airport Choice Model in Multiple Airport Regions. Journal of Airline and Airport Management, 7(1), 1–12.

Muqbil, I. (2013). Korea Visitors to Thailand: Strong Rebound After Three-year Slump. Retrieved from https://www.lookeastmagazine.com/2013/07/korean-visitors-to-thailand-strong-rebound-after-three-year-slump.

Seetanah, B., Teeroovengadum, V. & Nunkoo, R. (2018). Destination Satisfaction and Revisit Intention of Tourists: Does the Quality of Airport Services Matter?. Journal of Hospitality and Tourism Research, 2020(44), 134–148.

Serirat, S. (2009). Marketing Management. Bangkok: Diamond in Business World.

Silpcharu, T. (2017). Research and Statistic Analysis with SPSS and AMOS. Bangkok: Se-education.

Tang, C. (2014). Exploring the Potential of Hub Airport and Airlines to Convert Stopover Passengers into Stayover Visitors: Evidence from Singapore. Griffith University, Australia.