การพัฒนาการตลาดของผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองที่จัดจำหน่ายภายในศูนย์การค้าชุมชนในแนวเส้นทาง ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ผ้า
ทอพื้นเมืองที่จัดจำหน่ายภายในศูนย์การค้าชุมชนบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก
และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการตลาดของผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองที่จัดจำหน่ายภายในศูนย์การค้า
ชุมชนบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก ในการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถานการณ์ของศูนย์การค้าชุมชนบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ
ตะวันออก – ตะวันตก ผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองภายในศูนย์การค้าชุมชนในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ
ตะวันออก – ตะวันตก และการพัฒนาการตลาด วิธีดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับ
การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย 2 ลักษณะ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม
ในการศึกษาพบว่า มีผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งนำผ้าทอพื้นเมืองมาแปรรูปเป็นสินค้าของที่ระลึกเพื่อ
เพิ่มมูลค่าให้ผ้าทอพื้นเมือง แต่ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ยังมีน้อยอยู่ จึงต้องมีการวางแผนกลยุทธ์
ทางการตลาดให้ตอบสนองความต้องการและความจำเป็นของนักท่องเที่ยวที่เป็นตลาดเป้าหมาย โดย
การพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด 4Ps ให้ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย แปลกใหม่ ทันสมัย แต่ยังคง
ความดั้งเดิมเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอพื้นเมือง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความพึงพอใจสูงสุด และเห็นถึง
ความสำคัญของผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง จนเกิดการอนุรักษ์ผ้าทอพื้นเมืองอันเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่สืบทอดต่อกันมามีความสำคัญทางวัฒนธรรมของภูมิประเทศไทยและในกลุ่มอาเซียน ซึ่งจะก่อให้เกิด
ประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ ระบบเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ
คำสำคัญ : การพัฒนาการตลาด ผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง ศูนย์การค้าชุมชน แนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ
ตะวันออก – ตะวันตก