ประเพณีความเชื่อการแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากนํ้าโพในปัจจุบัน ที่มีผลต่อการดำรงชีวิต ของชาวไทยเชื้อสายจีน ตำบลปากนํ้าโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

อ.พัชรี ดินฟ้า

Abstract

บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชาวไทยเชื้อ
สายจีนกับชุมชนท้องถิ่นในตำบลปากน้ำโพ ในด้านความเชื่อการแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพในปัจจุบัน
ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของชาวไทยเชื้อสายจีนในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและศิลปวัฒนธรรมท้อง
ถิ่นด้านการเมืองการปกครองท้องถิ่น ตลอดจนศึกษากลไกการจัดการทางสังคม โดยมีองค์กรกลางทำ
หน้าที่เชื่อมประสานกับชาวไทยเชื้อสายจีนกับชุมชนท้องถิ่นในตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัด
นครสวรรค์ ในด้านการเผยแพร่ประเพณีความเชื่อและพิธีกรรมการแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ แก่ชุมชน
ท้องถิ่นในตำบลปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนท้องถิ่นและ
หน่วยงานราชการ ห้างร้านค้า ในตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ใช้ในการศึกษา จำนวน
50 คน วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยผสมผสานระหว่างการวิจัยในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้สถิติพื้น
ฐานเชิงพรรณนา หาค่าร้อยละ, การแจกแจงความถี่ ,การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ,การวัดการกระจาย
ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชาวไทยเชื้อสายจีนกับชุมชนท้องถิ่น
ในตำบลปากน้ำโพ มีวิธีการ 2 รูปแบบ คือ พิธีกรรมแบบนามธรรม เผยแพร่โดยการเซ่นไหว้ผ่านทาง
ร่างทรง เจ้าพ่อเทพารักษ์ เจ้าพ่อกวนอู เจ้าแม่ทับทิม เพื่อความเป็นสิริมงคล การค้าขายเจริญรุ่งเรือง ส่วน
พิธีกรรมแบบรูปธรรม เผยแพร่โดยผ่านทางการประกอบพิธีกรรมไหว้เจ้าที่ศาลเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ
และขบวนแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ โดยจะมีคณะกรรมการบริหารศาลเจ้าหรือเจ้าหน้าที่ประจำศาลเจ้า
มาคอยแนะนำ สาธิตพิธีกรรมไหว้เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพที่ถูกวิธี ส่วนการศึกษาด้านกลไกการจัดการ
ทางสังคม พบว่า มีการส่งเสริมให้ชุมชนชาวปากน้ำโพเป็นศูนย์รวมแหล่งความรู้เรื่องประเพณีการแห่
เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ โดยการเผยแพร่และจัดอบรมสัมมนา และมีคณะกรรมการจัดงานเป็นผู้รับผิด
ชอบการจัดงาน มีการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐบาลและพ่อค้าประชาชนในชุมชนปากน้ำโพ
จัดประชุมคณะกรรมการจัดงานเพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกฝ่ายในการ บูรณาการการวางแผนการจัด
งานและจัดสรรหางบประมาณ มีการสรรหาผู้สนับสนุนในการจัดงาน มีการกระจายความรับผิดชอบใน
การจัดงาน เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ในการจัดขบวนการแสดงเข้าร่วมในขบวนแห่ อีกทั้งให้บุคคลจาก
ภายนอกชุมชน ปากน้ำโพเข้ามามีส่วนร่วมในการออกร้านขายของและมีมหรสพต่างๆ มากมายเพื่อให้
ประชาชนทั่วได้ชม ในการจัดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ

คำสำคัญ: ประเพณีความเชื่อการแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพในปัจจุบัน กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กลไกการจัดการทางสังคม

Article Details

How to Cite
ดินฟ้า อ. (2014). ประเพณีความเชื่อการแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากนํ้าโพในปัจจุบัน ที่มีผลต่อการดำรงชีวิต ของชาวไทยเชื้อสายจีน ตำบลปากนํ้าโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 9(2), 45–59. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/article/view/24841
Section
Research Article