แนวทางการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันจากความคาดหวังและการรับรู้ต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนโดยใช้หลักกิจกรรมสังคม/สาธารณะของ นักท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ประเทศไทย

Main Article Content

นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร
ศิริวรรณ เสรีรัตน์
จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์
ปณิศา มีจินดา

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยโดยใช้หลักกิจกรรมสังคม/สาธารณะ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า นักท่องเที่ยวมีความคาดหวังและการรับรู้ในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยทุกด้านในระดับมาก โดยด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมากที่สุดรองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาจิตสำนึกในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และด้านกิจกรรมสนับสนุนด้านสังคม วัฒนธรรม ตามลำดับโดยนักท่องเที่ยวมีการรับรู้สูงกว่าความคาดหวัง หมายความว่า มีความพึงพอใจมากต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวว่าต้องมีการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีดั่งเดิมของท้องถิ่น ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะคนในท้องถิ่นต้องเห็นคุณค่าและความสำคัญในสิ่งที่ตนมี จัดกิจกรรมที่นำเสนอเกี่ยวกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั่งเดิม ตลอดจนสร้างความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว

Article Details

How to Cite
โพธิ์ไพจิตร น., เสรีรัตน์ ศ., อนุวิชชานนท์ จ., & มีจินดา ป. (2012). แนวทางการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันจากความคาดหวังและการรับรู้ต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนโดยใช้หลักกิจกรรมสังคม/สาธารณะของ นักท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ประเทศไทย. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 7(2), 3–14. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/article/view/2966
Section
Research Article