การพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน ที่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง

Main Article Content

คนึงภรณ์ วงเวียน และคณะ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การท่องเที่ยว ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนา การท่องเที่ยวที่เกาะเสม็ด และสร้างยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน ที่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยมี 6 กลุ่ม คือ บุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ บุคลากรในภาคธุรกิจ ประชาชนท้องถิ่น มัคคุเทศก์ นักท่องเที่ยวชาวไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยคือ แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม แบบประเมินร่างยุทธศาสตร์ และแบบประเมินยุทธศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า เกาะเสม็ดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความพร้อมด้านทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและป่ าไม้ มีความสวยงามและจุดเด่นในด้านหาดทรายขาวละเอียด นํ้าทะเลใส มีอ่าวต่างๆ มากมายและเป็นสัญลักษณ์ของวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี มีความเหมาะสมของกิจกรรมการท่องเที่ยว การบริการทางการท่องเที่ยว การจัดการทางการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมทางการท่องเที่ยวของเกาะเสม็ด โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก ในด้านปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เกาะเสม็ด คือ ปัญหาด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม ความขัดแย้งด้านกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และปริมาณนํ้าจืดไม่เพียงพอ ส่วนอุปสรรคคือ ขาดการประสานงานระหว่างภาครัฐอย่างบูรณาการ งบประมาณในการบริหารจัดการท่องเที่ยวและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่เพียงพอ ขาดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ขาดการวางผังพื้นที่เฉพาะในการพัฒนา/อนุรักษ์เกาะเสม็ดและขาดหน่วยงานหลักหรือกลไกการประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเกาะเสม็ดอย่างจริงจัง สำหรับยุทธศาสตร์นี้ประกอบด้วย 3 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ

1) เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

2) เสริมสร้างการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน

3) ส่งเสริมศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการตลาดท่องเที่ยวเชิงคุณภาพอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
และคณะ ค. ว. (2012). การพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน ที่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 7(2), 86–103. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/article/view/2973
Section
Research Article