การพัฒนาแนวทางการตลาดท่องเที่ยวโดยใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการพัฒนา กรณีชุมชนห้วยโป่ง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

กวินรัตน์ อัฐวงศ์ชยากร
เกวลิน หนูสุทธิ์
ยุทธการ ไวยอาภา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้นวัตกรรมการบริการ และกระบวนการคิดเชิงออกแบบเป็นเครื่องมือในการพัฒนาแนวทางการตลาดท่องเที่ยวของชุมชนห้วยโป่ง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนห้วยโป่ง และ 2) พัฒนาแนวทางตลาดการท่องเที่ยวโดยใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านห้วยโป่งจำนวนทั้งหมด 18 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากวิธีการสุ่มแบบเจาะจงเฉพาะผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และมีส่วนได้เสียกับการดำเนินงานด้านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านห้วยโป่ง


ผลการวิจัยพบว่า แหล่งท่องเที่ยวชุมชนห้วยโป่งมีองค์ประกอบสำคัญของการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ชุมชนห้วยโป่งทั้งหมด 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่คือ กิจกรรมเดินป่าเพื่อศึกษาธรรมชาติจำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางเดินป่าเลียบริมน้ำ และเส้นทางเดินป่าเลียบสันดอย 2) ทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่ของชุมชนห้วยโป่ง ประกอบด้วย ป่าชุมชน และลานกางเต็นท์ 3) กลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านห้วยโป่ง ส่วนผลจากการพัฒนาแนวทางการตลาดตามแนวคิดนวัตกรรมการบริการมีดังนี้ 1) ช่องทางดิจิทัลได้จัดทำแฟนเพจกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านห้วยโป่ง 2) ภาพลักษณ์แหล่ง ได้สร้างโลโก้ของแหล่งท่องเที่ยวและสื่อประเภท Offline Media ในรูปของแผ่นพับ 3) พื้นที่ท่องเที่ยว ได้ทำการเชื่อมโยง QR Code กับฐานข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อแสดงข้อมูลทรัพยากรในเส้นทางเดินป่า รวมทั้งใช้แอปพลิเคชัน My Altitude อธิบายถึงความสูงจากระดับน้ำทะเลของพื้นที่ให้กับนักท่องเที่ยวได้ทราบถึงความสูงของพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวเดินป่า 4) ชุมชนท่องเที่ยวได้ออกแบบกิจกรรมลานกางเต็นท์และเส้นทางเดินป่าโดยชุมชน ได้แก่ เส้นทางเดินป่าเลียบริมน้ำระยะทางการเดินทาง 4 กิโลเมตร และเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติเลียบสันดอยระยะทางการเดินทาง 5 กิโลเมตร โดยแต่ละเส้นทางสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้สูงสุด 300 คนต่อช่วงเวลา

Article Details

How to Cite
อัฐวงศ์ชยากร ก., หนูสุทธิ์ เ., & ไวยอาภา ย. (2025). การพัฒนาแนวทางการตลาดท่องเที่ยวโดยใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการพัฒนา กรณีชุมชนห้วยโป่ง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 20(1), 16–29. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/article/view/264481
บท
บทความวิจัย

References

Amran, H. & Zainab, K. (2009). Handbook on Community-Based Tourism: “How to Develop and Sustain CBT”. Asia–Pacific Economic Cooperation Secretariat.

Aujirapongpan, S. (2010). Knowledge and Innovation Management. 3 Lada Limited Partnership.

Jittangwattana, B. (2012). Management of Tourism Marketing. Fernkaluang Printing and Publishing.

Emphandhu, D. (2007). Community–Based Tourism Development and Homestay Management. Kasetsart University.

Gopalakrishnan, S. & Damanpour, F. (1997). A Review of Innovation Research in Economics, Sociology and Technology Management. Omega, 25, 15–28.

Kongdit, S. (2018). Innovation Linking Agro-Tourism Marketing, Sam Ruean Village, Bang Pa–in District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Thailand Research Fund.

Ministry of Tourism & Sports (MOTS). (2017). Thailand Tourism Situation Information. https://www.

mots.go.th/more_news_new.php?cid=312

Pimonsompong, C. (2014). Tourism Planning and Development. Kasetsart University Press.

Songsoonthornwong, C. (2016). Service Innovation: A Strategy that Create a Competitive Advantage of the Service Business Organization. Modern Management Journal, 14(2), 13–24.

Standford University. (2017). Design Thinking Process. https://dschool.stanford.edu

Suansri, P. (2003). Community–Based Tourism Management Handbook. CBT Youth Club.

Suansri, P., Yeejaw–haw, S. & Richards, P. (2013). Community–Based Tourism (CBT) Standard Handbook. Wanida Karnpim Limited Partnership.

Theerasorn, S. (2012). Marketing Communication. Chulalongkorn University Press.

Thongdee, N. & Boonyasak, K. (2016). The Community Tourism Marketing Management Based on Cultural Heritage Site of Khong–Chi–Mun River Basin for Linked Thai–Laos–Vietnam Tourism. Nakhonratchasima Rajabhat University.

Warakulwit, S. (2003). Orientation to Tourism Industry. Rajamangala Institution of Technology.