ทุนทางวัฒนธรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าของที่ระลึกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอลอง จังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลเชิงพื้นที่และรวบรวมทุนทางวัฒนธรรม ศิลปวัฒนธรรม วัตถุดิบ ครูช่างและช่างฝีมือในอำเภอลอง จังหวัดแพร่ 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าของที่ระลึก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอลอง จังหวัดแพร่ และประเมินความเหมาะสมของแนวคิด หลักการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์สินค้าของที่ระลึก 3) ประเมินความพึงพอใจต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์สินค้าของที่ระลึก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอลอง จังหวัดแพร่ดำเนินงานตามแผนงาน 3 ระยะ ดังนี้ระยะที่ 1 กระบวนการเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 16 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น ใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง และแบบการเลือกแบบบอกต่อ และชุดข้อมูลทุติยภูมิ ระยะที่ 2 กระบวนการพัฒนา ออกแบบ สร้างต้นแบบ และประเมินความเหมาะสมของต้นแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบจำนวน 5 คน และระยะที่ 3 ประเมินความพึงพอใจของต้นแบบ โดยกลุ่มตัวอย่าง จากตารางการสุ่มตัวอย่างของ Yamane (1973) เมื่อความคลาดเคลื่อน (E) ±10% เท่ากับ 100 คนด้วยเทคนิคการสุ่มอย่างง่าย โดยกลุ่มตัวอย่างชาย–หญิง อายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ทั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อต้นแบบ โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.97, S.D. = 0.04) ในประเด็นดังนี้ ด้านจิตวิทยาและความงาม ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านการจัดการสถานที่ร้านค้าและบริการจำหน่าย ด้านความคิดเห็นต่อรายการการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าของที่ระลึก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอลอง จังหวัดแพร่
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Department of Industrial Promotion (DIP). (2016). “Cultural Capital” Creates Innovation. https://e-journal.dip.go.th/dip/images/ejournal/fd2eaa1aedd740f4b4e32346220a000d.pdf
Janpetch, K. & Siriwong, P. (2017). The Integration of Cultural Capital into a Creative Tourist Attraction through Participatory Process: A Case Study of Ban Chak Ngaew Community, Banglamung District in Chonburi Province. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 10(1), 111–121.
Kaewsanga, P. & Chamnongsri, N. (2012). Creative Tourism: A New Choice of Thai Tourism. Suranaree Journal of Social Science, 6(1), 91–109.
Klinmuenwai, K. (2018). Guidelines for Support Cultural Tourism Destination at Tha Ma–O Community Mueng District, Lampang Province. Journal of Liberal Arts, Maejo University, 6(1), 131–148.
Milton, A. & Rodgers, P. (2013). Research Methods for Product Design. Laurence King Publishing.
Nannak, S. (n.d.). Adding Value to Cultural Capital. https://shorturl.at/blCX8
Pinkaew, K. (2013). Cultural Attractions. http://tourism-dan1.blogspot.com
Rattanaphan, T. & Rattanaphan, C. (2017). Souvenir Design: Apply Local Wisdom to Local Products. Narkbhutparitat Journal, 9(1), 1–14.
Rattanasuwongchai, N. (2011). Cultural Tourism Development Strategies. Manutsayasat Wichakan, 18(1), 31–50.
Saeho, K. (2016). Tourism Image, Service Quality Image, and Tourism Values Affecting Sustainable Tourism Attitudes: A Case Study of Natural Based Tourism of Thai Working-Age Tourists in Bangkok. Bangkok University.
Sonda, J. (2014). Tourism Image and Perception of Marketing Public Relations Affecting Thai Tourists Revisiting Chanthaburi Province. Bangkok University.
Wingwon, B., Wanmakok, A. & Meksuwan, A. (2014). Approach in Creating Local Wisdom with Creative Product Innovation of Small Enterprises in Hang Chat District, Lampang Province. Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University, 9(1), 102–119.
Worakitkasemsakul, S. (2011). Methods of Research in Behavioral and Social Sciences. https://shorturl.asia/KtahI
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Harper and Row.