ความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยว แรงจูงใจและทัศนคติที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยววัดในอำเภอพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

Manoch Prompanyo
Siriwan Serirat

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง ความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยว แรงจูงใจและทัศนคติที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยววัดในอำเภอพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่วัดในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล ศึกษาความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยว แรงจูงใจในการท่องเที่ยว และทัศนคติต่อการท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจในการท่องเที่ยว โดยใช้วิธีการศึกษาคือ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .974 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test เปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบแบบ Least Significant Difference (LSD) สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


          ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความคิดเห็นต่อความยั่งยืนของแหล่งท่องท่องเที่ยวที่วัดทั้ง 4 วัด คือ วัดพนัญเชิงวรวิหาร วัดใหญ่ชัยมงคล วัดหน้าพระเมรุราชิการาม และวัดท่าการ้อง โดยรวม อยู่ในระดับยั่งยืนมาก แรงจูงใจและทัศนคติในการท่องเที่ยววัด ในอำเภอพระนครศรีอยุธยาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับดี ตามลำดับ พฤติกรรมการท่องเที่ยววัดในอำเภอพระนครศรีอยุธยา (1) ด้านค่าใช้จ่ายในการทำบุญโดยเฉลี่ยประมาณ 1,090 บาท (2) ด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อของโดยเฉลี่ยประมาณ 1,016 บาท (3) ด้านเวลาที่ใช้ในการท่องเที่ยวโดยเฉลี่ยประมาณ 6 ชั่วโมง (4) ด้านจำนวนครั้งที่ท่องเที่ยวแสวงบุญใน
รอบ 1 ปี โดยเฉลี่ยประมาณ 3 ครั้ง (5) ส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวโดยรถยนต์ส่วนตัว และไม่พักค้างคืนนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีอาชีพที่แตกต่างกัน มีค่าใช้จ่ายในการซื้อของแตกต่างกัน และ นักท่องเที่ยวที่มีระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีค่าใช้จ่ายในการทำบุญและซื้อของแตกต่างกัน ความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยววัด ด้านสิ่งแวดล้อม/ด้านกายภาพ และด้านเศรษฐกิจ ทัศนคติ และแรงจูงใจในการท่องเที่ยวมีผลต่อความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยววัดทั้ง 4 วัด

Article Details

How to Cite
Prompanyo, M., & Serirat, S. (2015). ความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยว แรงจูงใจและทัศนคติที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยววัดในอำเภอพระนครศรีอยุธยา. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(1), 43–58. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/article/view/35507
บท
บทความวิจัย

References

[1] กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[2] การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภูมิภาคภาคกลาง. (2556). 10 วัดที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา.

[3] การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภูมิภาคภาคกลาง. (2558). การส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวภาคกลางปี 2558. วันที่ค้นข้อมูล 25 กุมภาพันธ์ 2558, จาก https://www.tiewpakklang.com/news/central-region/16250/

[4] ดลใจ มณีงาม. (2551). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้มาเที่ยวที่มีต่อการบริหารจัดการสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. บัณฑิตวิทยาลัยการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

[5] ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยมุ่งที่ตลาด. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

[6] สายชล ปัญญชิต. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

[7] สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). GDP ไตรมาสที่สี่ปี 2556 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2557. วันที่ค้นข้อมูล 21 พฤษภาคม 2557, จาก https://www.oie.go.th/academic/industryoverview

[8] สุนิสา ฐานพรอนันต์. (2540). ความคิดเห็นของเจ้าอาวาสที่มีต่อการส่งเสริมให้วัดพุทธศาสนาในเขตอําเภอเมืองเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

[9] Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (1994). Consumer Behavior. 5th ed. New Jersey: Prentice-Hall.