การระงับข้อพิพาทแรงงานทางทะเล การปิดงาน การนัดหยุดงาน และการกระทำอันไม่เป็นธรรมที่เกี่ยวข้องกับคนประจำเรือและเจ้าของเรือ
บทคัดย่อ
พระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 ได้วางหลักการสำคัญเรื่องของสิทธิการรวมตัว
และการเจรจาต่อรองของคนประจำเรือและเจ้าของเรือ ทำให้คนประจำเรือหรือเจ้าของเรือมีสิทธิรวมตัวกัน
เพื่อเจรจาต่อรองหรือเรียกร้องให้ได้มาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน
ซึ่งเป็นธรรมดาที่การเจรจาต่อรองหรือเรียกร้องให้ได้มาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์อาจนำมาซึ่งข้อขัดแย้งระหว่างผู้เจรจาต่อรองทั้งสองฝ่ายได้ โดยหากไม่มีกระบวนการระงับข้อพิพาทที่ชัดเจนก็อาจนำมาซึ่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงกระทบต่อสวัสดิภาพของคนประจำเรือได้ ดังนั้น กฎกระทรวงการระงับข้อพิพาทแรงงานทางทะเล การปิดงาน การนัดหยุดงาน และการกระทำอันไม่เป็นธรรมที่เกี่ยวข้องกับคนประจำเรือและเจ้าของเรือ พ.ศ. 2564 จึงได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทแรงงานทางทะเล การปิดงาน และการนัดหยุดงาน การกระทำอันไม่เป็นธรรม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนประจำเรือและเจ้าของเรือ โดยในบทความนี้ผู้เขียนได้อธิบายเกี่ยวกับความหมายของข้อพิพาทแรงงานทางทะเลและกระบวนการระงับข้อพิพาทแรงงานทางทะเล การพิจารณาการกระทำอันไม่เป็นธรรม รวมถึงวิธีการแจ้งและการยื่นคำร้องในกระบวนการดังกล่าวเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับนี้ได้ดียิ่งขึ้น
คำสำคัญ: ข้อพิพาทแรงงานทางทะเล การปิดงาน การนัดหยุดงาน การกระทำอันไม่เป็นธรรม
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวีเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวีเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ โครงการสถาบันกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบ