การศึกษาคำพิพากษาคดี Blue Sky

ผู้แต่ง

  • พรกนก ชัยเรืองศรี -
  • จิรภัทร ชนะสิทธิ์
  • ศุภิสรา ศิริญาติ
  • กรชวัล กัณฐสุทธิ์
  • ณฤดี ปักการะนัง
  • ภวินท์ กอบสิริโชคดิลก
  • นวมน คล่องเชิงศร
  • อริชญา รอดอ่อน
  • อัจจิมา เพียรศิริภิญโญ
  • พิริยา เจียมตน
  • กษิณา เพชรมีแก้ว
  • อาณกร ตระกูลเจริญสุข
  • ภูบดี แสงเฟือง
  • ญาณีนุช เสถียร
  • พงศพล สุวรรณเลิศเจริญ
  • นันทนัช ตะโฉ
  • ชารีฟ วัฒนะ

บทคัดย่อ

เนื่องจากมีการตระหนักถึงผลประโยชน์ของเจ้าของอากาศยาน ผู้ให้เช่า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในวงการอากาศยานทุกฝ่ายในปี ค.ศ. 1925 ก่อให้เกิดการประชุมนานาชาติว่าด้วยเรื่อง Private Air Law หรือ กฎหมายการบินของอากาศยานพาณิชย์ ส่งผลให้มีการริเริ่มกระบวนการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดหาอากาศยานพาณิชย์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครอง อีกทั้งเนื่องจากในปัจจุบันรัฐไม่ได้เป็นนักลงทุนรายใหญ่ในวงการธุรกิจการบินอีกต่อไป ดังนั้นจึงทำให้การเข้าซื้อกิจการของอากาศยานราคาแพงเป็นไปได้ยาก สายการบินจึงต้องมีการกู้ยืมเงินจากภาคเอกชน ก่อให้เกิดเป็นสัญญาจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาเงินทุนสำหรับอากาศยานพาณิชย์  และเพื่อโน้มน้าวให้ผู้ลงทุนเห็นถึงผลประโยชน์ทางการค้า จึงต้องสร้างความมั่นใจให้แก่ทุกฝ่ายว่ากฎหมายเหล่านั้นสามารถคุ้มครองและสร้างความปลอดภัยให้แก่นักลงทุน

อย่างไรก็ตาม เครื่องมือทางการเงินเหล่านี้สามารถกำหนดหรือเลือกได้ภายใต้กฎหมายของรัฐหนึ่ง ในขณะที่อากาศยานดำเนินการอย่างต่อเนื่องในรัฐอื่น นอกจากนี้ด้วยเหตุผลด้านกฎหมาย การซื้อขายอากาศยานมักจะเกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมข้ามพรมแดน ซึ่งเกี่ยวข้องกับเขตอำนาจศาลหลายแห่ง ดังนั้น ความไม่แน่นอนทางกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ในการทำธุรกรรมทางการเงินด้านการบินระหว่างประเทศ ซึ่งหากปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขก็อาจนำไปสู่ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจได้

ตัวอย่างคดีที่เกิดจากปัญหาดังกล่าวในข้างต้น คือ คดี Blue Sky One ของประเทศอังกฤษ ซึ่งสามารถนำเสนอปัญหาต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ทั้งในแง่ของผู้ประกอบธุรกรรมทางการเงิน ผู้ให้เช่าอากาศยานพาณิชย์ สายการบิน และทนายความของแต่ละฝ่าย ซึ่งเป็นการอธิบายว่าฝ่ายต่าง ๆ สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในข้อตกลงทางการเงินของอากาศยานที่ได้รับผลกระทบอย่างไร

คดีดังกล่าวปรากฏให้เห็นถึงหลักการต่าง ๆ ที่ถูกนำมาปรับใช้ เช่น ความถูกต้องของการจำนองอากาศยานด้วยการใช้กฎหมายอังกฤษภายใต้สัญญาจำนองที่คู่สัญญาตกลงกันตามหลัก choice of law (หลักการเลือกกฎหมาย) แต่ศาลอังกฤษกำหนดให้ใช้ Lex situs ซึ่งเป็นกฎหมายของสถานที่ที่อากาศยานตั้งอยู่ ข้อเท็จจริงในคดีนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสำคัญของการถือครอง ลูกหนี้ทำจำนองตามกฎหมายอังกฤษกับอากาศยานหลายลำ อากาศยานลำหนึ่งตั้งอยู่ในเนเธอร์แลนด์ในขณะที่มีการจำนอง ศาลพบว่าการจำนองไม่มีผลภายใต้กฎหมายของเนเธอร์แลนด์ และผู้ให้กู้ไม่มีสิทธิ์บังคับใช้ข้อเรียกร้องกับอากาศยาน ซึ่งตามหลัก Lex situs หรือ Lex registri ถูกนำมาปรับใช้ในคดีนี้เพื่อกำหนดความสมบูรณ์ของการจำนอง และการมีผลของอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยการรับรองระหว่างประเทศซึ่งสิทธิในอากาศยาน หรือ อนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1948[3] ซึ่งประเทศอังกฤษลงนามไว้เพียงอย่างเดียว

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-26