ปัญหากฎหมายในการจัดการและเยียวยาความเสียหายมลพิษน้ำมันอันเกิดจากกิจกรรมการสำรวจและแสวงประโยชน์บนไหล่ทวีปในทางกฎหมายระหว่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • พสชนัน พงษ์พานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

มลพิษน้ำมัน, มลพิษจากกิจกรรมบนไหล่ทวีป, กฎหมายทะเล

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการประกอบกิจการปิโตรเลียมนอกชายฝั่งมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว อุปสงค์ที่เพิ่มมากขึ้น    ทำให้มีสำรวจและแสวงประโยชน์จากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในไหล่ทวีปมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะมลพิษอันที่มาจากการรั่วไหลของน้ำมันจนก่อความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล และมนุษย์ ความเสียหายจากการรั่วไหลน้ำมันในทะเลจะแพร่กระจายไปยังประเทศข้างเคียงโดยความเสียหายอันมีลักษณะ     ข้ามพรมแดน ดังนั้น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันถือเป็นธรรมนูญแห่งกฎหมายทะเล จึงมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นกรอบทางกฎหมายระหว่างประเทศและความร่วมมือใน          การคุ้มครองและการจัดการสิ่งแวดล้อมทางทะเล อย่างไรก็ดี พันธกรณีของรัฐภาคีที่ระบุไว้ใน UNCLOS 1982       เป็นเพียงกำหนดหลักเกณฑ์อย่างกว้างๆ เพื่อให้รัฐภาคีในออกมาตรการหรือกฎหมายเพื่อป้องกัน ลด และควบคุมมลพิษโดยไม่ได้มีการกำหนดเป็นข้อบังคับอย่างชัดเจนว่ารัฐภาคีควรจะจัดการกับภาวะมลพิษดังกล่าวอย่างไร

ในส่วนอนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและป้องกันมลพิษทางทะเลนั้น แม้ว่าจะมีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ภาคผนวกที่ 1 และพิธีสาร ค.ศ. 1996 ของอนุสัญญา     ว่าด้วยการป้องกันมลพิษทางทะเลเนื่องจากการทิ้งเทของเสียและสสารอื่น ค.ศ. 1972  แต่อย่างไรก็ดี มาตรการควบคุมป้องกันมลพิษน้ำมันบัญญัติไว้อย่างกระจัดกระจาย อีกทั้งยังพบว่าอนุสัญญาดังกล่าวมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับการจัดการมลพิษ ซึ่งอาจส่งผลต่อรัฐภาคีในการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญาทั้งสองฉบับด้วย

สำหรับอนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับมาตรการชดใช้และเยียวยาความเสียหายจากมลพิษน้ำมันนั้น       มีอนุสัญญาความรับผิดทางแพ่งเพื่อความเสียหายมลพิษน้ำมันจากการแสวงหาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรพื้นดินท้องทะเล ค.ศ. 1977 อย่างไรก็ดี อนุสัญญาดังกล่าวยังไม่มีผลใช้บังคับแต่อย่างใด เนื่องจากยังมีการให้สัตยาบันไม่ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในอนุสัญญา ดังนั้น บทความนี้จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการร่างอนุสัญญาเกี่ยวกับการจัดการกับมลพิษอันเกิดจากกิจกรรมการสำรวจและแสวงประโยชน์บนไหล่ทวีปไว้โดยเฉพาะ ซึ่งแยกออกมาจากอนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับอื่นๆ รวมถึงกลไกในการใช้มาตรการชดใช้และเยียวยาความเสียหายทำได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสมต่อผู้ซึ่งได้รับความเสียหาย

ส่วนกฎหมายภายในของไทย จากการศึกษาวิจัย พบว่า แม้ประเทศจะมีมาตรการเกี่ยวกับการจัดการกับมลพิษน้ำมันอันเกิดจากกิจกรรมการสำรวจและแสวงประโยชน์นอกชายฝั่งอย่างครบถ้วนแล้ว แต่ตัวบทกฎหมายมี  การบัญญัติอย่างกระจัดกระจาย ไม่เป็นเอกภาพ และยังมีส่วนที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติม อาทิเช่น การบัญญัติเขตอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น สำหรับกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการชดใช้และเยียวยาความเสียหาย พบว่ามีเฉพาะค่าเสียหายทางแพ่งเท่านั้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับลักษณะ     ความเสียหายของมลพิษ อีกทั้งยังไม่มีกองทุนเพื่อความรับผิดทางแพ่งจากมลพิษน้ำมันในกิจกรรมดังกล่าวด้วย ดังนี้ จึงควรมีการจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งโดยเฉพาะ และจัดให้มีกองทุนเพื่อความรับผิดทางแพ่งจากมลพิษน้ำมัน โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับข้อตกลงเกี่ยวกับความรับผิดของมลพิษนอกชายฝั่ง  (Offshore Pollution Liability Agreement: OPOL) กล่าวคือ หากผู้ประกอบธุรกิจปิโตรเลียมต้องการขอสัมปทาน ต้องยินยอมที่จะลงนามในข้อตกลงและส่งเงินเข้ากองทุนจึงจะสามารถขอใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจได้

References

Simon Warikiyei Amaduobogha, ‘Adjustment of the International Legal Regime on Regulation of Accidental Pollution from Offshore Petroleum Operations’ (Thesis degree of Doctor of Philosophy University of Dundee 2015) 82.

OSPAR Commission, Assessment of impacts of offshore oil and gas activities in the North-East Atlantic 2009 22-24 <https://qsr2010.ospar.org/media/ assessments/p00453_OA3-BA5_ASSESSMENT.pdf> สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2565.

ภัคสุภา รัตนภาชน์, ‘วิกฤตน้ำมันรั่วครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์: อุบัติเหตุจากความสะเพร่า สู่ภัยเรื้อรังทางธรรมชาติ’ (nationtv 2 กุมภาพันธ์ 2565) <https://www.nation tv.tv/original/378862553> สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2565.

Nikolaos Giannopoulos, ‘International Law and Offshore Energy’ (European Research Council 2020) 56 <https://tethys.pnnl.gov/sites/default/files/ publications/giannopolous-2020.pdf> สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2565.

Wu Hongyan, ‘Study on Related Issuses of Compensation for Oil Pollution Damage by Offshore Drilling Platform’ (Research Paper Master of Science World Maritime University 2015) 2. <https://commons.wmu.se/cgi/viewcontent.cgi? article=1119&context=msem_dissertations> สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2565.

Hossein Esmaeili, The Legal Regime of Offshore Oil Rigs in International Law (Ashgate Publishing Limited 2001) 16.

‘Dictionary Definition Ship’ (merriam-webster.) <https://www.merriam-webster.com/dictionary/ship> สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2565.

South China Sea Arbitration (Philippines v China) Award (on Merits) of 12 July 2016 ICGJ 495 para 941.

ITLOS, Special Chamber, Responsibilities and Obligations of States Sponsoring Persons and Entities with Respect to Activities in the Area, Advisory Opinion of 11 February 2011, ICGJ 449, para 117.

Koopreationsweke Beck Hart Nomos United Nations Convention on the Law of the Sea A Commentary (1st edn, Bloomsbury Publishing 2017) 1395.

E.D. Brown, Sea-bed Energy and Minerals: The International Legal Regime, (Volume 1, Martinus Nijhoff Publish Company 1992) 434.

Nikita Scicluna, ‘A Legal Discussion on the Civil Liability for Oil Pollution Damage resulting from Offshore Oil Rigs in the light of the recent Deepwater Horizon incident’ (A Dissertation submitted in partial fulfillment of the requirements for the award of the Degree of Master of Laws IMO International Maritime Law Institute 2011) 49-50.

Sharmini Murugason, 'Cross-Border Pollution from Offshore Activities' (2011) Standard Bulletin: Offshore Special Edition 3 <https://www.standardclub.com/fileadmin/uploads/standardclub/Documents/Import/publications/bulletins/split-articles/2011/1557899-cross-border-pollution-from-offshore-activities.pdf> สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565.

นัยน์ปพร ขุนจันทร, ‘ความเป็นไปได้ของประเทศไทยในการเข้าร่วมเป็นภาคีพิธีสาร 1996 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันภาวะมลพิษทางทะเล จากการทิ้งเทของเสียและสสารอื่น’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2559) 8-9.

Zhiguo Gao, Environmental Regulation of Oil and Gas (Kluwer Law International Ltd 2009) 33.

อริยพร โพธิใส, 'ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดมลพิษน้ำมัน' (2556) จุลนิติ 151 <https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/S%E0%B9%88ub_ Jun/11all/all41.pdf> สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-28