ประเทศไทยกับการให้ความเห็นในเชิงให้คำปรึกษาของศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
คำสำคัญ:
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ศาลกฎหมายทะเล, อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลบทคัดย่อ
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังทวีความสำคัญขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของโลก ส่งผลกระทบให้บางประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศหมู่เกาะเผชิญกับความเสี่ยงที่จะจมและสาบสูญไปจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มาจากการกระทำของมนุษย์ ดังนั้น คณะกรรมาธิการรัฐเกาะเล็กว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกฎหมายระหว่างประเทศจึงขอให้ศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศมีความเห็นในเชิงให้คำปรึกษาเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลในประเด็นที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยความเห็นในเชิงให้คำปรึกษาฉบับนี้ได้เน้นย้ำถึงหน้าที่ของรัฐภาคีในการป้องกัน ลด และควบคุมภาวะมลพิษทางทะเล ตลอดถึงหน้าที่ในการคุ้มครองรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะในบริบทของการที่อุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และภาวะมหาสมุทรเป็นกรดที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการกระทำของมนุษย์สู่ชั้นบรรยากาศ ศาลได้กล่าวถึงมาตรฐานทางกฎหมายที่รัฐต้องปฏิบัติตามในการควบคุมกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งก่อให้เกิดนัยยะสำคัญต่อการตีความอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 บางประการ เช่น การตีความมาตรการป้องกันไว้ก่อน เป็นต้น ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 จึงต้องปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น เมื่อพิจารณาจากกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจจะยังไม่เพียงพอตามพันธกรณี แต่ว่าการผลักดันร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มในการพัฒนากฎหมายที่ช่วยส่งเสริมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามพันธกรณีได้มากยิ่งขึ้น
References
- กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ, คำแปล United Nations Convention on the Law of the Sea 1982 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 (พิมพ์ครั้งที่ 2, ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอราวัณการพิมพ์ มมป.).
- กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย, ‘กฎหมายทะเล’ (MFN, 28 พฤศจิกายน 2565) <https://treaties.mfa.go.th/th/content/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5?cate=63d1f3c67edb2e31af2af453> สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567.
- คณะกรรมการขับเคลื่อนการรับฟังความคิดเห็นละวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มิสิทธิเลือกตั้งไปสู่ภาคประชาชน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ‘รายงานผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดจากร่างกฎหมาย: ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนเครดิต พ.ศ. (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกบคณะ)’ <https://www.parliament.go.th/section77/manage/files/file_20240623152619_2_381.pdf> สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567.
- จุมพต สายสุนทร, กฎหมายระหว่างประเทศ เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 16, วิญญูชน 2565).
- จุมพต สายสุนทร, กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 3, วิญญูชน 2560).
- ชนะชัย เลิศสุชาตวนิช, อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ (MARPOL) <https://storage.mmtc.ac.th/web/ebook/ebook-2022-10-12-085731358567.pdf> สืบค้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567.
- ประดิภา สุวรรณรัตน์, ‘ประเทศไทยกับการจัดการปัญหาความเป็นกรดในมหาสมุทรที่มีแหล่งกำเนิดจากเรือและจากการทิ้งเท’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2563).
- พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558
- ราชบัณฑิตยสถาน, ‘พจนานุกรมศัพท์นิติศาสตร์’ (พิมพ์ครั้งที่ 5, นิติบรรณการ 2547)
- อนุชา ดีสวัสดิ์, ‘ร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ....’ <https://library.parliament.go.th/th/radioscript/rr2567-jun8> สืบค้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567.
- British Institute of International and Comparative Law, ‘Deep Seabed Mining & International Law: IS a Precautionary Pause Required?’ <https://www.biicl.org/documents/166_deep_seabed_mining_event_report.pdf> สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2567.
- Daniel Bodansky, ‘The Role of The International Court of Justice in Addressing Climate Change: Some Preliminary Reflections’ (2017) 49 Arizona State Law Journal 18 <https://ssrn.com/abstract=3012916> สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2567.
- International Tribunal for the Law of the Sea, ‘Advisory Proceedings’ <https://www.itlos.org/en/main/cases/advisory-proceedings> สืบค้น 5 สิงหาคม 2567.
- Pierre-Marie Dupuy and Jorge E.Vinuales, International Environmental Law (2nd edn, Cambridge University Press 2018) 47.
- Request for an Advisory Opinion submitted by the Commission of Small Island States on Climate Change and International Law, Advisory Opinion, International Tribunal for the Law of the Sea (21 May 2024).
- Tim Polsel, ‘Deep Seabed Mining: Implications of Seabed Disputes Chamber’s Advisory Opinion’ <https://www8.austlii.edu.au/au/journals/AUIntLawJl/2012/11.pdf> สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2567.
- United Nations Convention on the Law of the Sea (UNCLOS)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวีเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวีเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ โครงการสถาบันกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบ