ผลกระทบข้อตกลง CPTPP ต่อสิทธิเกษตรกรรายย่อยในประเทศไทย
คำสำคัญ:
สิทธิเกษตรกร, พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช 2542, ข้อตกลง CPTPP, อนุสัญญา UPOV 1991บทคัดย่อ
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมโดยมีประชากรมากกว่าร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพหลัก ดังนั้นการพัฒนาการเกษตรจึงเป็นเรื่องสำคัญ ประเทศไทยมีภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ การทำเกษตรกรรมถือเป็นอาชีพสำคัญของประชากรส่วนใหญ่นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากวิถีชีวิตและจารีตประเพณีของเกษตรกรที่นิยมแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ อย่างไรก็ตามบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่มาจากประเทศพัฒนาแล้วมีแนวโน้มที่จะผลักดันการเกษตร ในเชิงรูปแบบใหม่ เน้นการผลิตเพื่อการส่งออกมากกว่าการผลิตเพื่อยังชีพ โดยเข้ามามีอิทธิพลในรูปแบบข้อตกลงการค้าเสรี ข้อตกลงดังกล่าวจะเข้ามามีอิทธิพลส่วนมากต่อประเทศกำลังพัฒนาเนื่องจากประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีกำลังทรัพย์ในการพัฒนาสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ทำให้เมล็ดพันธ์หรือพันธ์พืช ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานทางเกษตรกรรมถูกแย่งชิงไป สิทธิเกษตรกรที่มีอยู่ตามวิถีชีวิตและจารีตประเพณีสูญสิ้นหรือถูกลดทอนลง บทความนี้วิเคราะห์ปัญหาของการเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP ต่อสิทธิเกษตรกรรายย่อยในประเทศไทย เนื่องจากข้อตกลง CPTPP กำหนดให้ประเทศสมาชิกจะต้องเข้าร่วมอนุสัญญา UPOV 1991 เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองพืชพันธุ์ใหม่ ซึ่งบทบัญญัติอนุสัญญาดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยและมีความเกี่ยวพันไปถึงความหลากหลายทางชีวภาพ และความมั่นคงทางอาหารในที่สุด