ผลการใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ทดแทนผ้าอนามัยแบบห่วงสำหรับการประเมินการสูญเสียโลหิตในผู้ป่วยผ่าตัดคลอด: การประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาล

ผู้แต่ง

  • พิชา คนกาญจน์ โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี

คำสำคัญ:

การสูญเสียโลหิต, ผ่าตัดคลอด, ผ้าอ้อมผู้ใหญ่

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ผลการใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ทดแทนผ้าอนามัยแบบห่วงสำหรับการประเมินการสูญเสียโลหิตในผู้ป่วยผ่าตัดคลอด: การประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาล เพื่อศึกษาผลการใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ทดแทนผ้าอนามัยแบบห่วง การลดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด ประกอบด้วย การตกเลือด อัตราการติดเชื้อของแผลผ่าตัด อัตราการติดเชื้อ และศึกษาการลดค่าใช้จ่าย กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่แพทย์นัดมาผ่าตัดคลอดและมารับบริการที่หอผู้ป่วยพิเศษหลวงพ่อแพเขมังกโรชั้น 7 ทุกราย เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้การศึกษาประกอบ ด้วย 1) แบบบันทึกผลการใช้กระบวนการพยาบาล และ 4T 2) แบบประเมินความพึงพอใจ 3) แบบประเมินภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดคลอด 4) แบบบันทึกค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดหรือจัดการขยะปนเปื้อน คุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความเที่ยงตรงเท่ากับ .80-1.00 สำหรับค่าเชื่อมั่นด้วยวิธีของแอลฟ่าครอนบาคของเครื่องมือชุดที่ 2 ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .74 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูปด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

       (1) มารดาตั้งครรภ์แพทย์นัดมานอนเพื่อรอผ่าตัดคลอดที่หอผู้ป่วยพิเศษ ชั้น 7 จำนวน 148 ราย และได้รับการดูแลตามแนวทางที่กำหนดร้อยละ 100 พบมารดาหลังผ่าตัดคลอดตกเลือดหลังคลอด จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.14

                   (2) ด้านความพึงพอใจ พบว่า ความพึงพอใจของมารดาหลังผ่าตัดคลอด พยาบาลประจำหอผู้ป่วยหลังคลอด พยาบาลห้องผ่าตัด และวิสัญญีพยาบาลต่อการใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่สำเร็จรูปแบบเทปในมารดาหลังผ่าตัดคลอดใน 24 ชั่วโมงแรก ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าระหว่างร้อยละ 72.23-95.25

                   (3) ภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัด พบว่า 3.1) อัตราการตกเลือดหลังคลอดมีค่าเท่ากับ 0.14 3.2) อัตราการติดเชื้อ CAUTI ของมารดาหลังผ่าตัดคลอดที่ใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่สำเร็จรูปแบบเทปมีค่าเท่ากับ 0 (ต่ำกว่า 4 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน) 3.3) อัตราการติดเชื้อแผลผ่าตัดของมารดาหลังผ่าตัดคลอดที่ใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่สำเร็จรูปแบบเทป มีค่าเท่ากับ 0 (ต่ำกว่า 2 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน)

                   (4) ด้านค่าใช้จ่ายพบว่า สามารถลดงบประมาณค่าใช้จ่ายสำหรับทำความสะอาดเหลือ 7.30 บาท ต่อ 1 กก.

References

จีรนันท์ แสนนิล. (2564). พัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดในมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

ใน 24 ชั่วโมงแรก ในหอผู้ป่วยพิเศษนำโชค. วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 8(3), หน้า 37-49.

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. (2560). การตกเลือดหลังคลอด: บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน.

สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี, 6(2), หน้า 146-157.

รัตนาภรณ์ มาสแสง. (2562). กลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เด็กประเภทผ้าอ้อมสำเร็จรูปในเขต

กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล. (2557). การป้องกันการตกเลือดใน 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด: บทบาทผดุงครรภ์.

วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 37(2), หน้า 155-162.

American College of Obstetricians and Gynecologists. (1998). ACOG educational bulletin.

Postpartum hemorrhage. Number 243, January 1998 (replaces no. 143, July 1990).

International Journal of Gynecology & Obstetrics, 61(1), pp. 79-86.

Cunningham, F. G., Leveno, K. J., Bloom, S. L., Hauth, J. C., Gilstrap III, L. C., & Wenstrom,

K. D. (2005). Abnormalities of the reproductive tract. Williams Obstetrics.

nd ed. New York: McGraw-Hill.

Murray, S. S., & McKinney, E. S. (2014). Pain management during childbirth. Foundation

of Maternal-newborn and women’s health nursing. 6th ed. St. Louis: Mosby

Elsevier, pp.278-82.

Perry, S. E., Hockenberry, M. J., Lowdermilk D. L., & Wilson, D. (2009). Maternal child

nursing care (4th). Canada: Mosby.

D. L. (2022). Maternal child nursing care-E-Book. Elsevier Health Sciences.

Su, C. W. (2012). Postpartum hemorrhage. Primary Care: Clinics in Office Practice,

(1), pp. 167-187.

World Health Organization. (2012). WHO recommendation for prevention andtreatment

of postpartum hemorrhage (Online). Available: https://apps.who.int/iris/

bitstream/handle/10665/75411/9789241548502_eng.pdf [2020, December 22].

World Health Organization. (2014). Trends in maternal mortality: 1990 to 2013:

estimates by WHO, UNICEF, UNFPA, The World Bank and the United Nations

Population Division (Online). Available: https://apps.who.int/iris/bitstream/

handle/10665/112682/978924150226_eng.pdfua=1;jsessionid=7A191857778

B37A56BC2969F47800F09?sequence=2 [2020, December 22].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-02