กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพร ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้แต่ง

  • คงศักดิ์ วัฒนะโชติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กิตติภัฎ วงค์กระโซ่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้, จิตสำนึก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ให้เกิดจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรโดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และเพื่อให้นักเรียนมีจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 122 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ แบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ และแบบวัดจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติค่าเฉลี่ยของคะแนน () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติ t-test แบบ Dependent Sample

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เกิดจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีประสิทธิภาพ 80.8/81.15 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ปรากฏว่าคะแนนเฉลี่ยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังทำกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนทำกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติระดับ .05 3) นักเรียนสามารถใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรโดยการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ 4) จิตสำนึกต่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร คะแนนเฉลี่ยวัดจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรหลังทำกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนทำกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติระดับ .05

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.). (2559). แผนแม่บท โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ระยะ 5 ปีที่หก (ตุลาคม 2559- กันยายน 2564). กรุงเทพฯ: สยามพริ้นท์.

บุญเลี้ยง สุพิมพ์ และคณะ. (2563). รายงานการวิจัยการสำรวจความหลากหลายของพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้ กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านห้อม ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ประยูรศรี ไวยรูปี. (2558). แนวทางการอนุรักษ์ความหลากหลายของพืชสมุนไพรในตำบลบ่อเงิน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภุฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ปัทวี สัตยวงศ์ทิพย์. (2561). บทบาทของพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ป่าไม้ : กรณีศึกษา พระครูประโชติ ธรมาภิรมย์ (สาย โชติธมฺโม) วัดวังศิลาธรรมาราม

ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(3), หน้า 170-178.

ผมหอม เชิดโกทา. (2563). การอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน ของชุมชนตำบลหนองสังข์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วารสารบัณฑิตศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(3), หน้า 106-114.

พระธรรมปิฎก. (2543). คนไทยกับป่า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ภัทรียา ทองงาม. (2552). การพัฒนาแบบวัดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลทางการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมี.

รานี วิสูตรธนาวิทย์. (2548). กระบวนการสร้างจิตสำนึกในการกำจัดขยะของนักเรียน: ศึกษากรณีโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.

วิสาร นามวา. (2559). การปลูกสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชนลุ่มน้ำโขง. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). ฟ้าทะลายโจร ยกระดับการผลิตสมุนไพรไทยเข้าสู่อุตสาหกรรมยา (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก: https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/ThaiHerb-FB200420.aspX [2563, 3 ธันวาคม].

สมพงษ์ สิงหะพล. (2542). ต้องสอนให้เกิดจิตสำนึกใหม่. สีมาจารย์, 13(27), หน้า 15-17.

สาธิตา สําราญรมย์. (2553). การพัฒนาแบบวัดจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากร สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลทางการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภรัชต์ อินทรเทพ สุวารีย์ ศรีปูณะ และผมหอม เชิดโกทา. (2560). สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการถ่ายทอดภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(2), หน้า 275-285.

เอกพล ดวงดี. (2563). “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่การสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช. วารสารวิชาการ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน), 23(1), หน้า 12-22.

Nelson, T. (1967). Consciousness. In Nelson compleX encyclopedia. New York: The Free Press

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-02