แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ชุมชนเป็นฐานห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social lab)

ผู้แต่ง

  • จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การมีส่วนร่วมของชุมชน, ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, ชุมชนเป็นฐานห้องปฏิบัติการทางสังคม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทางด้านการท่องเที่ยวให้เกิดทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานห้องปฏิบัติการทางสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม และเสนอแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ชุมชนเป็นฐานห้องปฏิบัติการทางสังคม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยใช้ชุมชนเป็นฐานห้องปฏิบัติการทางสังคม ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานโดยเน้นทางเทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ ผสมผสานด้วยข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินก่อน-หลังเรียน ผู้วิจัยได้คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยว และแบบสัมภาษณ์ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินหลังเรียนมีคะแนนสูงขึ้นทุกด้าน ได้แก่ ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี และด้านชีวิตและอาชีพ โดยด้านชีวิตและอาชีพได้คะแนนประเมินมากที่สุด โดยเฉพาะทักษะชีวิตและอาชีพ ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีทาง การท่องเที่ยว คะแนนเฉลี่ย 4.68 อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการดำเนินการในเนื้อหารายวิชาผู้เรียนสร้างแผนพัฒนาการท่องเที่ยวได้ครบทั้ง 10 ชุมชน ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนครบทุกกลุ่ม ส่วนแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ชุมชนเป็นฐานห้องปฏิบัติการทางสังคม เสนอแนะให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ควรปรับใช้วิธีการเรียนรู้เชิงรุก การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยใช้ชุมชนเป็นฐานห้อง ปฏิบัติการทางสังคมในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจบริบทของสังคมจริง ซึ่งเป็นกระบวนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเองในการเรียนรู้และนำไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กุลธิดา ธรรมวิภัชน์. (2562). ห้องปฏิบัติการทางสังคม (social lab) : ตอบโจทย์งานวิจัยและพัฒนาสื่อ

เพื่อชุมชนและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชน องค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นและราชการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สรัญญา เนตรธานนท์. (2563). กระบวนการเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ด้วยการจัดการ

เรียนรู้แบบสร้างสรรค์ด้วยปัญญา. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 6(3), หน้า 20-31.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริม

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้.

กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการ

ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา

วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและ

นวัตกรรม พ.ศ. 2563-2565. เข้าถึงได้จาก: https://backend.tsri.or.th/files/trf/

/docs/Policy_and_Strategy_of_Thailand_HESI_2563-2570_and_Thailand_SRI_

Plan_2563-2565.pdf [2565, 1 มกราคม].

สุภาภรณ์ มั่นเกตุวิทย์. (2544). ตัวอย่างการวิจัยในชั้นเรียนประสบการณ์ตรงของครูต้นแบบ.

กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

Arnstein, S. R. (1969). A ladder of citizen participation. Journal of the American Institute

of planners, 35(4), pp. 216-224.

Berkley, G. E. (1975). The Craft of Public Administration. Boston: Allyn and Bacon.

Clynch, E. J. (1976). Electoral participation in a low stimulus election. GPSA Journal: The

Georgia Political Science Association, 4(1), pp. 111-124.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1977). Rural development participation: concepts and

measures for project design, implementation and evaluation. Ithaca, NY: Rural

Development Committee Center for International Studies, Cornell University.

Elliott. J. (1991). Action research for educational change. Milton Keynes: Open University Press.

Flick, U. (2022). An introduction to qualitative research. Thousand Oaks, CA: Sage.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.

Educational and psychological measurement, 30(3), pp. 607-610.

Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis: An expanded sourcebook.

Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Nastasi, B. K., & Schensul, S. L. (2005). Contributions of qualitative research to the validity of

intervention research. Journal of school psychology, 43(3), pp. 177-195.

Onwuegbuzie, A. J., & Leech, N. L. (2007). Sampling designs in qualitative research: Making

the sampling process more public. Qualitative Report, 12(2), pp. 238-254.

Zuber-Skenitt, O. (1993). Improving learning and teaching through action learning and action

research. Higher education research and development, 12(1), pp. 45-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-02