การออกแบบสื่อแอนิเมชันเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

ผู้แต่ง

  • วราพร ดำจับ ตณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

การออกแบบ, สื่อแอนิเมชัน, พัฒนาการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ 

            สื่อแอนิเมชัน มีการนำมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป และยังสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 ได้มีนักวิชาการที่ได้ศึกษาการพัฒนา  สื่อแอนิเมชันเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน บทความนี้จะสรุปบทบาทของแอนิเมชันสำหรับการเรียนการสอน และแนวทางการพัฒนาสื่อแอนิเมชันเพื่อพัฒนาการเรียนซึ่งสามารถเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจที่จะพัฒนา หรือนำสื่อแอนิชันมาใช้ในการเรียนการสอน

  สื่อแอนิเมชัน เข้ามามีบทบาทต่อการเรียนการสอนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา เพราะจากผลการศึกษาของนักวิชาการ และนักวิจัย พบว่า สื่อแอนิเมชันมีผลต่อการทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เร็ว และผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนของผู้เรียน ที่เรียนด้วยสื่อการสอนแอนิเมชันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งการเลือกใช้สื่อแอนิเมชันสิ่งที่ควรพิจารณาและให้ความสำคัญของระดับชั้นการศึกษา และอายุของผู้เรียนเพื่อพัฒนาสื่อแอนิเมชันให้สอดคล้องกับผู้รับสื่อเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งองค์ประกอบของสื่อแอนิเมชันประกอบด้วย เนื้อเรื่อง ตัวละครและฉาก การเคลื่อนไหวและเสียง การผลิตหรือการออกแบบสื่อแอนิเมชันนั้นสามารถดำเนินการได้ทั้งในรูปแบบ 3 P Pre-Production, Production และ Post-Production หรือจะเป็นรูปแบบเชิงระบบ System Approach คือ ขั้นการวิเคราะห์ ขั้นการออกแบบ ขั้นการพัฒนา ขั้นการนำไปใช้ และขั้นประเมินผล

  การพัฒนาสื่อแอนิเมชันตามหลัก ADDIE คือ A (analysis) การวิเคราะห์ วิเคราะห์เนื้อหาที่จะสอน วิเคราะห์กลุ่มผู้เรียน ความพร้อมของผู้เรียน ความพร้อมของผู้สอน D (design) ออกแบบ การกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา และภาระงาน การกำหนดรูปแบบและวิธีการเรียนรู้ การเลือกชนิดของสื่อ วิธีการผลิต เลือกเทคโนโลยีที่จะใช้ผลิต การวางแผนการผลิต D (develop) พัฒนา การจัดทำโครงสร้างหรือแบบร่างของสื่อ การจัดทำสตอรี่บอร์ด ผลิตสื่อตามแบบร่าง ทดลองใช้ ปรับปรุงก่อนนำไปใช้จริง I (implement) การใช้ นำสื่อที่ผลิตไปใช้ในการเรียนการสอน E (evaluate) การประเมินผล การทดสอบ วัด และประเมินผลการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการและเครื่องมือที่กำหนด การประเมินผลการใช้สื่อ และสรุปผลมาเพื่อการปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาเป็นสื่อที่ดีสามารถใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

References

กิตติพันธ์ อุดมเศรษฐ์. (2565). ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.prc.ac.th/wp-content/uploads/2022/05/การพัฒนาสื่อการเรียนรู้.pdf [2566, 8 มีนาคม].

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.moe.go.th/การศึกษาไทย-4-0/ [2565, 5 พฤศจิกายน].

เกียรติพงษ์ ศรีจันทึก และชานนท์ ตันประวัติ. (2560). การออกแบบแอนิเมชันสำหรับส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านจิตพิสัยของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร. โครงการวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร.

ขนิษฐา สังข์ทอง และอุไรวรรณ ศรีไชยเลิศ. (2563). การพัฒนาสื่อการสอนแอนิเมชันแบบปฏิสัมพันธ์ร่วมกับรูปแบบการสอนโครงงานเป็นฐานวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่ามะกา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

จตุพร ตระกูลปาน. (2565). Metaverse โลกเสมือนจริงสู่ห้องเรียนเสมือนจริง (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://inskru.com/idea/-N1kn9xsMSCWbRnRQ-v5 [2566, 8 มีนาคม].

ชินวัฒน์ ประยูรรัตน์. (2562). อัตลักษณ์ศิลปะไทยสู่แอนิเมชัน. วารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรี, 15(4), หน้า 35-46.

ทิพย์สุคนธ์ เพชรโอภาส. (2563). แอนิเมชันสองมิติเรื่อง ขั้นตอนการออกแบบอินโฟราฟิก. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 16(4), หน้า 70-78.

ธนีวรากานต์ ณัฎฐ์ชนะกุณ. (2560). การพัฒนาสื่อแอนิเมชันโดยใช้เทคนิคการนำเสนอแบบสตอรี่ไลน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่อง ศีล 5 สำหรับเด็กประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสื่อนฤมิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นันท์นภัส มงคลสังข์. (2564). การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบนิทานการ์ตูนแอนิเมชั่นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี). วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), หน้า 39-59.

พรทิพย์ กลมดี และรุจโรจน์ แก้วอุไร. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันความเป็นจริงเสริม เรื่องระบบสุริยจักรวาล สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารกลุ่มมนุษยศาสตร์–สังคมศาสตร์, 3(2), หน้า 27-35.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2565). การประยุกต์ใช้แอนิเมชันใช้คอมพิวเตอร์ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=36&page=main [2565, 3 พฤศจิกายน].

วรรณทิภา ธรรมโชติ. (2562). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชา ส22101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(2), หน้า 37-47.

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2560). ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), หน้า 2843-2854.

สุวิช ถิระโคตร, ชญา หิรัญเจริญเวช, เกริกเกียรติ แสนณรงค์, บุษกล สุขมงคลธนัท, พันธมิตร แสนสุข และศตายุ เสนานุช. (2560). เจตคติและแรงจูงใจของผู้เรียนในการใช้แอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(2), หน้า 92-101.

อัจฉริยพงศ์ จันทร์คลัง. (2562). การพัฒนาแอนิเมชัน 2 มิติ กลอนลำอีสาน โดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสื่อนฤมิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

CSL. (2564). เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง พลิกโฉมการศึกษาเปลี่ยนจินตนาการให้เป็นประสบการณ์พิเศษ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.csl.co.th/web/Article_detail.aspx?id=125&cm=2 [2566, 8 มีนาคม].

Frog genius. (2562). Virtual Reality (VR) & Augmented Reality (AR) เทคโนโลยีโลกเสมือนก้าวสู่โลกความเป็นจริง (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.froggenius.com/news/detail/7/Virtual-Reality--VR----Augmented-Reality--AR--/ [2566, 8 มีนาคม].

Huk, T. & Floto, C. (2003). Computer-Animations In Education: The Impact Of Graphical Quality (3D / 2D) And Signals. In E-Learn: World Conference on E-Learning in Corporate, Government, Healthcare, and Higher Education. San Diego, CA: Association for the Advancement of Computing in Education (AACE).

Walsh, Susan F. (1999). Modifying risk perceptions of Japanese university students Using a culturally compatible mode of instruction, Curriculum & Instruction/Literacy Studies Graduate Theses, West Virginia University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-27