การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่องระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก ของนักศึกษาหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยชุมชนพังงา
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบร่วมมือ, เทคนิคจิ๊กซอว์, แผนการจัดการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค
จิ๊กซอว์ เรื่องระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ร้อยละ 80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่องระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก กับคะแนนทดสอบก่อนเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่องระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการทดลองกลุ่มเดียวสอบก่อนและหลัง ประชากรที่ทำการศึกษา คือ นักศึกษาหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยชุมชนพังงา จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Paired – t - test
ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีระดับความพึงพอใจในภาพรวมที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์อยู่ในระดับดีมาก (4.59 ± 0.20 คะแนน)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของ สป. ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
จันทิมา ช่วยชุม และอรุณรัตน์ โยธินวัฒนบ ารุง. (2562). ประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์เรื่องการพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติของระบบประสาท ในนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วชิรสารการพยาบาล, 21(1), หน้า 1-17.
ณัฏฐ์วัฒน์ อนันตะสุข และกอร์ปกูล เทศสนั่น. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. EDUCATION JOURNAL, 4(1), หน้า 81-89
นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ และศิริพร แก้วกุลพัฒน์. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์เพื่อส่งเสริมผลลัพธ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข,27(1), หน้า 158-171.
ปรัศนียพร ภูมิสุวรรณ์, ดรุนณภา นาชัยฤทธิ์ และชัยวัฒน์ สุภัควรกุล. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่องค าศัพท์ภาษาอังกฤษในวิชาชีพ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(1), หน้า 303-316.
พุทธชาด วูโอริ. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับการทบทวนหลังการปฏิบัติงาน เพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 6(2), หน้า 173-192.
พีรวิชญ์ พาณิชย์วรกุล. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง โครงสร้างของพืชมีดอกด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(1), หน้า 60-73.
ภาณุพงศ์แก้วบุญเรือง. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ และความคงทนในการเรียน เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 3(8), หน้า 118-132.
วรรณภา ภูแข่งหมอก, สุวัฒสัน รักขันโท และสมชัย ศรีนอก. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพุทธประวัติ โดยใช้เทคนิคแบบจิกซอวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(7), หน้า 120-134.
สาวิตรี เถาว์โท. (2561). ผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์และเทคนิค LT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการท างานกลุ่ม ในรายวิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(1), หน้า 72-86.
องค์อร ประจันเขตต์, อภิญญา อินทรรัตน์, อายุพร ประสิทธิเวชชากูร, พรนภา ค าพราวและหทัยรัตน์ ขาเอี่ยม.(2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยวิธีจิ๊กซอว์เรื่องกระบวนการพยาบาลอนามัยชุมชนต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และสมรรถนะการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักเรียนพยาบาล.วารสารพยาบาลทหารบก, 19(3), หน้า 165-174.
อรนุช บุญชู, สุทธาภา โชติประดิษฐ์และปริญญา ทองสอน. (2562). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบร่วมมือด้วยสถานการณ์ปัญหา. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา, 11(3), หน้า 268-283
อรุณรัตน์ อุทัยแสง, กุลพิธาน์ จุลเสวก, ณัติยา พรมสาขา ณ สกลนคร และอมรรัตน์ แสงใสแก้ว. (2564). The Effect of the Jigsaw Cooperative Learning Technique on Mean scores for Learningabout Irrigation Procedures among Second Year Nursing Students. ศรีนครินทร์เวชสาร,
(2), หน้า 195-199.
Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning : Theory, research, and practice (2nd ed.). Boston: MA, Ally Bacon