การเปรียบเทียบผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก 18 วิธีเพื่อวิเคราะห์ลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาตามแนวคิดของคอล์บ

ผู้แต่ง

  • ธันยวิช วิเชียรพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้เชิงรุก, ลีลาการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เปรียบเทียบผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก  18 วิธี 2) วิเคราะห์ความเหมาะสมในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) รูปแบบต่างๆ กับลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียนตามแนวคิดของคอล์บ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาลงทะเบียนวิชา DMD402 เทคนิคการนำเสนอสื่อดิจิทัล DMD100 :ความรู้เบื้องต้นสื่อดิจิทัล และ CMM141 :ความคิดสร้างสรรค์สำหรับการสื่อสาร บทเรียนเรื่อง การเขียนบทสคริปต์แบบสหบท นักศึกษาจำนวน 865 คน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2556 -2561 หัวข้อที่จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 18 วิธี ตามหลักActive Learning Spectrum,Michigan University2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และ3) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขนาดอิทธิพล(effect size) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก 18 วิธี ของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) รูปแบบต่างๆ กับลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียนตามแนวคิดของคอล์บ พบว่า ค่าขนาดอิทธิพลของนักศึกษามากกว่า 0.4 หมายถึงผู้เรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้น อันดับที่ 1 ค่าขนาดอิทธิพล 0.73 คือ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบวิธีปฏิบัติจริง ณ หน้างาน และสถานการณ์จริงนักศึกษาที่มีสไตล์การเรียนรู้แบบแอคคอมมอเดเตอร์ อันดับที่ 2 ค่าขนาดอิทธิพล 0.67 คือ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบวิธีการเรียนรู้ด้วยการตั้งคำถามนักศึกษาที่มีสไตล์การเรียนรู้แบบบคอนเวอร์เจอร์ และอันดับที่ 3 คือ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบวิธีการเรียนรู้แบบวิธีละครแทรกสด นักศึกษาที่มีสไตล์การเรียนรู้แบบแอคคอมมอเดเตอร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31