ทักษะด้านการคิดเชิงวิพากษ์ที่จำเป็นสำหรับแรงงานอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • ธันยนันท์ สมบูรณ์รัตนโชค คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

การคิดเชิงวิพากษ์, แรงงานภาคอุตสาหกรรม, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ ผู้เขียนมีความมุ่งหมายที่จะวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เห็นถึงทักษะด้านการคิดเชิงวิพากษ์ที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับแรงงานภาคอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 21 โดยผู้เขียนได้มุ่งเน้นที่จะศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี องค์ประกอบ รวมถึงกระบวนการของการคิดเชิงวิพากษ์ ในขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของการนำแนวทางการคิดเชิงวิพากษ์ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน และใช้กับการดำเนินชีวิต ประจำวัน ซึ่งการเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องเผชิญกับวิกฤตทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพ จิตใจ และเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในปัจจุบัน กลายเป็นสิ่งที่ท้าทายและต้องต่อสู้ฝ่าฝันเพื่อให้สามารถเป็นตัวเลือกที่ดีและมีความพร้อมมากที่สุดสำหรับทุกภาคอุตสาหกรรม จากผลการศึกษาพบว่า ทักษะด้านการคิดเชิงวิพากษ์ที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับแรงงานภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 1) การคิดโดยใช้หลักของเหตุและผล 2) การมีวิจารณญาณ และความรอบคอบ 3) การประเมินทางเลือกอย่างรอบด้านก่อนตัดสินใจ 4) การแสวงหาหลักฐานที่นำมาสนับสนุนความคิด 5) การวิเคราะห์ แยกแยะหาความจริงในเชิงลึก 6) การแสวงหาความรู้และข้อมูล 7) การตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง 8) การกล้าคิดแตกต่าง 9) การคิดโดยใช้ตรรกะ และ 10) การคิดเชิงอนุมานเพื่อการพิสูจน์ ในขณะที่องค์ประกอบของการคิดเชิงวิพากษ์จะประกอบด้วยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การระบุปัญหา การแก้ปัญหา การสันนิษฐานเชิงอนุมานเพื่อไปสู่การพิสูจน์และการประเมินผล ในขณะเดียวกันกระบวนการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ จะเริ่มจากการนิยามปัญหาพร้อมกับพิจารณาข้อมูลเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไข เพื่อไปสู่การตัดสินใจเลือก ซึ่งประโยชน์และความสำคัญของการคิดเชิงวิพากษ์ คือ ทำให้คนในทุกระดับมีทักษะในการคิดที่สามารถเชื่อมโยงตรรกะ และไอเดียต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผลและส่งเสริมให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31