การสำรวจความต้องการในการใช้งานเพจพยากรณ์โชคชะตาออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชันเฟซบุ๊กของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กิตติพศ สุกใส คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน

คำสำคัญ:

พยากรณ์โชคชะตา, ออนไลน์, เฟซบุ๊ก

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการในการใช้งานเพจพยากรณ์โชคชะตาออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันเฟซบุ๊กของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 433 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้แบบสำรวจแบบตรวจสอบรายการที่แบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป และตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการในการใช้งานเพจพยากรณ์โชคชะตาออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานได้แก่ ความถี่ และร้อยละ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 228 คน (ร้อยละ 52.70) ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 15-29 ปี จำนวน 265 คน (ร้อยละ 61.20) และมีสถานภาพโสด จำนวน 365 คน (ร้อยละ 84.30) ระดับการศึกษาสูงสุดส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 165 คน (ร้อยละ 38.10) ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอื่น ๆ จำนวน 190 คน (ร้อยละ 44.00) และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท จำนวน 182 คน (ร้อยละ 42.00) ในด้านความถี่ในการใช้งานแอปพลิเคชันเฟซบุ๊ก ส่วนใหญ่มีการใช้งานแอปพลิเคชันเฟซบุ๊กวันละ 1-2 ชั่วโมง จำนวน 133 คน (ร้อยละ 30.70) เมื่อพิจารณาประสบการณ์การใช้บริการพยากรณ์ออนไลน์พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เคยรับบริการพยากรณ์โชคชะตาใด ๆ ทั้งในช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์ จำนวน 209 คน (ร้อยละ 48.30) สำหรับผู้ที่เคยรับบริการพยากรณ์โชคชะตาพบว่า ส่วนใหญ่เข้ารับบริการผ่านทางแอปพลิเคชันเฟซบุ๊ก มากที่สุด จำนวน 114 คน (ร้อยละ 26.30) โดยเรื่องที่คนส่วนใหญ่ต้องการพยากรณ์มากที่สุด คือ เรื่องการงาน รองลงมา คือ เรื่องการเงิน และเรื่องความรัก ตามลำดับ เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรับบริการพยากรณ์ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันเฟซบุ๊ก พบว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นลำดับที่ 1 คือ ความน่าเชื่อถือของผู้พยากรณ์ รองลงมา คือ รีวิวจากผู้ใช้บริการ จำนวนผู้ติดตามเพจ คอนเทนต์ที่นำเสนอในเพจ อัตราค่าบริการ และความเร็วในการตอบกลับของเพจ ตามลำดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31