การพยากรณ์รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติของจังหวัดชลบุรีด้วยวิธีการพยากรณ์โดยเทคนิคการปรับเรียบเอ็กซ์โพเนนเชียล

ผู้แต่ง

  • อนุรักษ์ ทองขาว คณะอุตสาหกรรมบริการ วิทยาลัยดุสิตธานี ศูนย์การศึกษาเมืองพัทยา

คำสำคัญ:

การพยากรณ์, จังหวัดขลบุรี, นักท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบประสิทธิภาพวิธีการพยากรณ์รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติของจังหวัดชลบุรี และ 2) พยากรณ์รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติของจังหวัดชลบุรี ข้อมูลที่ใช้ คือ รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติของจังหวัดชลบุรีรายเดือน ช่วงเวลา มกราคม 2564-พฤศจิกายน 2565 โดยวิธีการพยากรณ์ที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยวิธีการเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย วิธีการพยากรณ์โดยเทคนิคการปรับเรียบเอ็กซ์โพเนนเชียล และวิธีการเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล ค่าที่ใช้ในการพิจารณาประสิทธิภาพ คือ ค่ารากที่สองของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) ผลการวิจัยพบว่า วิธีการพยากรณ์โดยเทคนิคการปรับเรียบเอ็กซ์โพเนนเชียลโดยมีค่า Damping factor คือ 0.0001 เป็นวิธีการพยากรณ์รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติของจังหวัดชลบุรีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากวิธีการพยากรณ์ดังกล่าวที่ให้ค่ารากที่สองของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยน้อยกว่าวิธีอื่น ๆ และผลการพยากรณ์แสดงให้เห็นว่าช่วงเวลา ธันวาคม 2565-กุมภาพันธ์ 2566 การท่องเที่ยวจังหวัดชลบุรีมีรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง     

References

กนกกาญจน์ มูลผาลา และเรืองศักดิ์ แก้วธรรมชัย. (2557). การศึกษาเทคนิคการพยากรณ์ยอดขายสินค้าอุปโภคที่เหมาะสมของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย(สสอท.), 3(1), หน้า 101-107.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิตินักท่องเที่ยว (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411 [2566, 1 มีนาคม].

เกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความปลอดภัยในการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้หญิงชาวต่างชาติ. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 9(1), หน้า 40-75.

คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา. (2564). การจัดการความเสี่ยงทางการท่องเที่ยว ณ ชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.), 23(2), หน้า 142-158.

ณัฏฐนันท์ มุขมา, บุญอ้อม โฉมที และประสิทธิ์ พยัคฆพงษ์. (2561). การพยากรณ์จํานวนนักท่องเที่ยวชาวจีน ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 26(3), หน้า 417-428.

ทิพรดา วาลมุลตรี. (2563). การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวในปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8(1), หน้า 119-132.

ธนันรักษ์ วัชราธร. (2560). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 13(1), หน้า 260-275.

ปวรพัชร รัตน์รุ่งเรืองยศ และรุ่งระวี วีระเวสส์. (2559). ปจจัยที่กําหนดอุปสงค์การท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(2), หน้า 158-166.

พงษ์พิพัฒน์ เสน่ห์ดี. (2565). “เมืองพัทยา”: ความท้าทายด้านการจัดการการท่องเที่ยวภายใต้วิกฤตโควิด 19. วารสารมหาวิทยาลัยพัฒนาเชิงพื้นที่, 1(2), หน้า 1-10.

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2564). เปิดวิจัยผลกระทบ “โควิด” กับทิศทาง “ท่องเที่ยว” ในอนาคต (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.prachachat.net/tourism/news-659616 [2566, 1 มีนาคม].

ลักขณา ฤกษ์เกษม. (2558). การพยากรณ์ความต้องการสินค้าสำหรับการวางแผนการผลิต : กรณีศึกษา การผลิตชุดสะอาด. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 28(3), หน้า 290-304.

ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์. (2556). เทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณ: การวิเคราะห์อนุกรมเวลา. นครปฐม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิโสภา ริวัฒนา, ภัทรธิรา ผลงาม และกำพล ศรีวัฒนกุล. (2566). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดชลบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(3), หน้า 363-376.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422 [2566, 1 มกราคม].

อนุรักษ์ ทองขาว และพรรณภัทร แซ่โท้ว. (2565). การพยากรณ์จํานวนผู้เข้าพักในจังหวัดชลบุรีภายใต้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ด้วยวิธีการเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย และวิธีการ ปรับให้เรียบแบบเอ็กซ์โปเนนเชียล. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 8(2), หน้า 65-75.

อมราวดี ไชยโย และเมทนี มหาพรหม. (2563). การจัดการภาวะวิกฤตของธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทยภายใต้วิกฤตการณ์ COVID-19. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), หน้า 685-700.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31