การประยุกต์เทคนิคการพยากรณ์สำหรับการวางแผนความต้องการเตียงผู้ป่วย กรณีศึกษา แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
การพยากรณ์, วิธีพยากรณ์แบบปรับเรียบเอ็กซ์โปเนนเชียลอย่างง่าย, วิธีการพยากรณ์แบบฤดูกาลของวินเตอร์, วิธีการพยากรณ์แบบวิเคราะห์การถดถอยบทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอและประยุกต์ใช้เทคนิคการพยากรณ์การวางแผนความต้องการเตียงผู้ป่วย แผนกอายุรกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาเทคนิคการพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับความต้องการเตียงผู้ป่วยของกรณีศึกษา โดยได้ประยุกต์ใช้เทคนิคการพยากรณ์ 3 วิธี ได้แก่ 1) วิธีพยากรณ์แบบปรับเรียบเอ็กซ์โปเนนเชียลอย่างง่าย (Simple exponential smoothing method) 2) วิธีการพยากรณ์แบบฤดูกาลของวินเตอร์ (Winter’s Linear and Seasonal Exponential Smoothing Method) และ 3) วิธีการพยากรณ์แบบวิเคราะห์การถดถอย (Regression analysis method) จากผลการศึกษาพบว่า วิธีพยากรณ์แบบปรับเรียบเอ็กซ์โปเนนเชียลอย่างง่าย (Simple exponential smoothing method) ที่ค่าปรับเรียบ α เท่ากับ 0.90 เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์ความต้องการเตียงผู้ป่วย แผนกอายุรกรรม โดยให้ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสมบูรณ์ (MAPE) ที่ต่ำที่สุดเท่ากับ 1.72 เปอร์เซ็นต์
References
จักรพรรณ เนื่องไชยยศ และธิติภัทร พุแพง. (2562). การประยุกต์ใช้เทคนิคการพยากรณ์สำหรับการวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบและการจัดการวัตถุดิบคงคลัง กรณีศึกษา : บริษัทจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการประกอบธุรกิจร้านอาหาร. วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ฉมาธร กุยศรีกุล, นิธิศ ปุณธนกรภัทร์ และวุฒิกรณ์ จริยตันติเวทย์. (2561). การพยากรณ์การสั่งซื้อสินค้าของร้านค้าปลีก กรณีศึกษาร้าน AAA. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 18(2), หน้า 26-34.
เฉลิมชาติ ธีระวิริยะ. (2559). การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์สำหรับความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในจังหวัดนครพนมการเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์สำหรับความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในจังหวัดนครพนม. Naresuan University Journal: Science and Technology, 25(4),
หน้า 124-137.
เฉลิมชาติ ธีระวิริยะ. (2563). การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติด้วยโปรแกรม Minitab. กรุงเทพฯ: ซิมพลิฟาย.
ปภาวรา ท่อนทองมีสุข. (2562). เทคนิคการพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการสั่งซื้อลวดทองแดงอาบน้ำยา :กรณีศึกษาธุรกิจค้าปลีก. สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
ภัทราพล กองทรัพย์ และนุจิรา กองทรัพย์. (2560). การพยากรณ์ยอดขายของข้าวฮางงอก: กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านน้อยจอมศรี จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(2), หน้า 92-108.
ลักขณา ฤกษ์เกษม. (2558). การพยากรณ์ความต้องการสินค้า สำหรับการวางแผนการผลิต : กรณีศึกษาการผลิตชุดสะอาด. Parichart Journal, Thaksin University, 28(3), หน้า 290-304.
ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร, พรเลิศ ฉัตรแก้ว, ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์, ภรเอก มนัสวานิช, ทิพย์พร สงวนทรัพย์, นวรัตน์ มีถาวร และชลิดา อุทัยเฉลิม. (2560). นิยามและปัจจัยของการไม่สามารถจำหน่ายผู้ป่วยในออกจากโรงพยาบาล โดยการทำกลุ่มโฟกัส. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 61(4), หน้า 511-524.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2565. สรุปข้อมูลเบื้องต้น การสำรวจโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน พ.ศ. 2565 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาสุขภาพ/โรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน/2565/summary_hospital_65.pdf
, 20 มีนาคม].
อนุสรณ์ บุญสง่า. (2559). การพยากรณ์ความต้องการแว่นตา กรณีศึกษา : ร้านแว่นตา. การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อภิญชญา ยิ่งยง และสุภาวดี สายสนิท. (2562). การพยากรณ์ความต้องการวัตถุดิบเพื่อวางแผนสั่งซื้อที่เหมาะสม กรณีศึกษา ร้าน Vasatwo. ใน การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ครั้งที่ 4 และการประชุมระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
Lestari, F., Anwar, U., Nugraha, N., & Azwar, B. (2017). Forecasting demand in blood supply chain case study on blood transfusion unit. In Proceedings of the World Congress on Engineering (Vol. 2). London, United Kingdom.