การประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชากับการบริหารการศึกษาเชิงบวก เพื่อการพัฒนาชุมชนการศึกษาที่ยั่งยืนของโลกยุคพลิกผัน

ผู้แต่ง

  • อรุณเกียรติ จันทร์ส่งแสง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

ศาสตร์พระราชา , การบริหารการศึกษาเชิงบวก, การพัฒนาที่ยั่งยืน, ยุคพลิกผัน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศาสตร์พระราชากับการบริหารการศึกษาเชิงบวก และเพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชากับการบริหารการศึกษาเชิงบวกเพื่อการพัฒนาชุมชนการศึกษาที่ยั่งยืนของโลกยุคพลิกผัน โดยมีศาสตร์พระราชาซึ่งเป็นผลงานอันสำคัญของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่เกิดจากพระราชจริยาวัตรในการทรงงานเพื่อช่วยเหลือประชาชน และ “พระบรมราโชบายด้านการศึกษา” ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 กับการบูรณาการแนวคิดการบริหารการศึกษาเชิงบวก ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการควบคู่กันไป ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูล จากการถามคำถามและการสัมภาษณ์บุคคลผู้ให้ข้อมูลหลักของชุมชนการศึกษานั้น โดยการตั้งคำถามแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured interview) และจากแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร หนังสือ รายงาน วารสาร เว็บไซตสื่ออินเทอร์เน็ต บทความงานวิจัย และการศึกษาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยดำเนินการตามแนวคิดกระบวนการสุนทรียสาธก (Appreciative Inquiry, AI) และปฏิบัติการตามวงจรสุนทรียสาธก 5D (Appreciative Inquiry 5D-Cycle) ได้แก่ การนิยาม (Definition) การค้นหา (Discovery) การสร้างฝัน (Dream) การออกแบบ (Design) และการลงมือทำ (Destiny) ร่วมกับการวิเคราะห์ซออาร์ (SOAR Analysis) เป็นคำย่อของ Strength (จุดแข็ง) Opportunities (โอกาส) Aspiration (แรงบันดาลใจ) และ Result (ผลลัพธ์) และนำผลการศึกษามาพิจารณาร่วมกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาเป็นกลยุทธ์และโครงการ จากนั้นนำไปดำเนินการและใช้รูปแบบการประเมินผลของเคิร์กแพทริค (The Kirkpatrick model) ต่อไป ซึ่งผลลัพธ์ คือ นวัตกรรมใหม่ในการพัฒนาชุมชนการศึกษาในด้านต่าง ๆ ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคพลิกผัน และอนาคตที่ยั่งยืน

  

References

กนกอร สมปราชญ์. (2559). ภาวะผู้นำและภาวะผู้นำการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. ขอนแก่น: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เกษม วัฒนชัย. (2558). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับความเข้มแข็งของโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ธนิธการพิมพ์.

เกษม วัฒนชัย. (2560). พระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.attth.org/พระบรมราโชบายการศึกษา/ [2565, 5 สิงหาคม].

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2559). ๗ ทศวรรษ แห่งการครองสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการสืบสานศิลปวัฒนธรรม. เชียงใหม่: สุทัศน์การพิมพ์.

ทศพร ม่วงสวย. (2561). การประยุกต์ใช้กระบวนการสุนทรียสาธกในการจัดทำแผนพัฒนาองค์กร: กรณีศึกษา โรงพยาบาลเจ้าพระยา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการเชิงกลยุทธ์)สาขาการจัดการเชิงกลยุทธ์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยาภรณ์ ครองจันทร์, ปรีชา กิจโมกข์ และฐิติเมธ โภคชัย. (2561). การวางแผนการเงินด้วยศาสตร์ของพระราชา. กรุงเทพฯ: พริ้นซิตี้.

ภิญโญ รัตนาพันธุ์. (2556). SOAR Analysis: เครื่องมือที่นำมาใช้แทน SWOT Analysis. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/64500 [2565, 12 สิงหาคม].

สิระ สมนาม. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเชาวน์ปัญญาเชิงปฏิบัติร่วมกับกระบวนการสุนทรียสาธกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวิเคราะห์วรรณคดีสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและวิธีสอน (การสอนภาษาไทย) แบบ 2.1, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคพลิกผัน.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรถพล สังขวาสี. (2565). ปลัดศธ. ชี้โลกเข้าสู่ยุค BANI World รวมความปั่นป่วนไว้ทั้งหมด กระทบการศึกษาโดยตรง มอบนโยบายรับมือ อุดเรียนรู้ถดถอย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.thaipost.net/education-news/255668/ [2565, 5 ตุลาคม].

อรุณเกียรติ จันทร์ส่งแสง และธีระพงษ์ สมเขาใหญ่. (2564). การประยุกต์ใช้กระบวนการสุนทรียสาธกโดยใช้การวิเคราะห์ซออาร์ ในการพัฒนาแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา. วารสาร มจร มนุษย์ศาสตร์ ปริทรรศน์, (7)2, หน้า 371-385.

Bernard J., Mohr & Jane Magruder Watkins. (2002). The essentials of appreciative inquiry: A roadmap for creating positive futures (Online). Available: https://www.oandp.com/resources/projects/appreciative_inquiry.pdf [2023, May 1]

Cooperrider, D. L. (1986). Appreciative inquiry: Toward a methodology for understanding and enhancing organizational innovation. Dissertation of philosophy Doctoral Dissertation, School of Graduate Studies Case Western Reserve University.

Stavros, J. M., & Hinrichs, G. (2021). Learning to SOAR: Creating Strategy that Inspires Innovation and Engagement. United States, CA: Kindle Edition.

Joseph Attiah, Seniwoliba. (2014). Appreciative inquiry: a tool for transforming the university for development studies. Global Educational Research Journal, 2(12), pp. 185-194.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31