การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กรณีศึกษา: ผู้ผลิตสับปะรดกระป๋อง

ผู้แต่ง

  • ธรินี มณีศรี วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน, คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในรูปก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2) เพื่อประเมินศักยภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาองค์กรสู่เป้าหมาย SDGs โดยมุ่งเน้นเป้าหมายที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน และเป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้หลักการประเมินตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) และประเมินศักยภาพเบื้องต้นด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียวของกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ผลการวิจัยพบว่า กรณีศึกษา ผู้ผลิตสับปะรดกระป๋อง มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 394 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า แบ่งเป็นขั้นตอนของการได้มาซึ่งวัตถุดิบ คิดเป็นร้อยละ 80.97 และขั้นตอนการผลิตคิดเป็น ร้อยละ 19.03 ผลการประเมินศักยภาพได้คะแนนรวม 69 คะแนน จากคะแนนเต็ม 85 คะแนน โดยคะแนนน้อยสุด ได้แก่ การจัดการบรรจุภัณฑ์สำหรับวัตถุดิบ คะแนนมากที่สุด ได้แก่ การวางแผนและออกแบบผลิตภัณฑ์ การขนย้ายในกระบวนการผลิต และกระบวนการแปรรูป ดังนั้นข้อเสนอแนวทาง การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาองค์กรสู่เป้าหมาย SDGs เริ่มตั้งแต่การกำหนดนโยบายการใช้พลังงานทดแทน การสร้างความร่วมมือกับเกษตรกร การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ซึ่งจะทำให้เกิดการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

References

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. (2557). การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว สำหรับอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป. กรุงเทพฯ: พริ้นท์ ซิตี้.

จิราภรณ์ บุญมาก และมณฑิรา ยุติธรรม. (2558). ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากการปลูกสับปะรด : กรณีศึกษาอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 34 (หน้า 157-164). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธารทิพย์ เศรษฐชาญวิทย์. (2558). การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ตามหลักการประเมินวัฏจักรชีวิตของอุตสาหกรรมแป้งมันสําปะหลังเพื่อกําหนดนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม), คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นพรุจ ธรรมจิโรจ, อัมพิกา ไกรฤทธิ์ และสิรางค์ กลั่นคำสอน. (2555). องค์กรที่ยั่งยืนด้วยการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียว. ใน การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555 (หน้า 1878-1886). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พงศ์เทพ สุวรรณวารี, ขนิษฐา มีวาสนา, กัลยาณี กุลชัย และมนัสวี พานิชนอก. (2557). รายงานการวิจัยวอเตอร์และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการผลิตน้ำตาลทรายขาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย กรณีศึกษา: จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2563). อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2021/01/IN_food_12_63.pdf[2566, 14 กรกฎาคม]..

สุพจน์ ชุณหโชติอนันต์ และธิตา อ่อนอินทร์. (2560). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการ “สำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศไทย และทางเลือกมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ สังคม และกฎหมาย” เป้าหมายที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_Final.pdf [2566, 14 กรกฎาคม].

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน). (2554). แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://conference.tgo.or.th/download/tgo_or_th/publication/CFP_Guideline_TH_Edition3.pdf [2566, 14 กรกฎาคม].

Department of Economic & Social Affairs Sustainable Development. (2023).

Global Sustainable Development Report 2023 (Online). Available: https://sdgs.un.org/sites/default/files/2023-06/Advance%20unedited%20GSDR%2014 June2023.pdf [2022, December 15].

European Investment Bank. (2022). Carbon Footprint Report 2022 (Online). Available: https://www.eib.org/attachments/lucalli/20230038_carbon_footprint_report_2022_en.pdf [2022, December 15].

German Institute of Development and Sustainability (IDOS). (2022). Sustainable Global Supply Chains Report 2022 (Online). Available:

https://www.idos-research.de/fileadmin/user_upload/pdfs/projekt/20220407.SustainableGlobalSupplyChains-Report2022_lowres.pdf [2022, December 15].

Global Carbon Project. (2017). CO2-emissions (Online). Available:

http://www.globalcarbonatlas.org/en/CO2-emissions [2022, September 10].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31