หลักกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ตามพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำความผิด ในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565

ผู้แต่ง

  • ชัชทพงษ์ เชื้อดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

การกระทำความผิดซ้ำ, การลงโทษย้อนหลัง, มาตรการภายหลังพ้นโทษ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันรูปแบบกระทำความผิดที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเพศ หรือคดีที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทั้งก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคม และครอบครัวของผู้ถูกกระทำ ผู้ก่อเหตุบางส่วนแม้จะถูกลงโทษที่เหมาะสม และรุนแรงตามกฎหมายแล้ว แต่เมื่อถูกจำคุก พ้นโทษ และได้รับการปล่อยตัวสู่สังคม ก็อาจมีการกลับมากระทำความผิดซ้ำได้อีก แม้จะมีกระบวนการในการติดตามจากเจ้าหน้าที่ แต่การติดตามดังกล่าวยังไม่มีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย และไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันการกระทำ ผู้กระทำความผิดซ้ำส่งผลให้ผู้กระทำความผิดส่วนหนึ่งมีแนวโน้มที่จะกระทำความผิดในรูปแบบเดียวกัน หรือรูปแบบใกล้เคียงกันซ้ำอีกเพิ่มขึ้น จึงมีการกำหนดหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกัน และเฝ้าระวังการก่ออาชญากรรม และสร้างความปลอดภัยให้สังคม ลดปัญหาในการกระทำความผิดซ้ำ แต่บทบังคับตามบทเฉพาะกาล มาตรา 43 ที่ใช้บังคับแก่คดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล และมีการปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดตามความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 3 อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ทำให้พระราชบัญญัติฉบับนี้มีโทษย้อนหลังแก่ผู้กระทำความผิด เพราะในวันที่ตนได้กระทำความผิดยังไม่มีมาตรการต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ ตามหลักของกฎหมายอาญา การนำพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 บทเฉพาะกาล มาตรา 43   มาบังคับใช้กับคดีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาอาจส่งผลกระทบต่อผู้กระทำความผิด ก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายและส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้นั้นได้ ผู้เขียนเห็นว่า ให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 ในบทเฉพาะกาลมาตรา 43 เพื่อไม่ให้ขัดกับหลักกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง และเพื่อให้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้นำมาบังคับใช้กับผู้ที่กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ หรือกรณีที่ใช้ความรุนแรงตามที่ระบุไว้ในมาตรา 3 ภายหลังที่กฎหมายมีการบังคับใช้ เพื่อลดปัญหาในการตีความ และการบังคับใช้กฎหมายให้มีความชัดเจน

References

กรมราชทัณฑ์. (2566). อัตราการกระทำผิดซ้ำแยกตามกลุ่ม (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.correct.go.th/ [2566, 29 กรกฎาคม].

ณัฐพงศ์ โปษกะบุตร. (2550). หลักกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง (Ex Post Facto Laws). วารสารรพี’๕๐ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, หน้า 27-33.

ปกป้อง ศรีสนิท. (2564). แนวทางการปรับปรุงกฎหมายเพื่อป้องกันอันตรายจากผู้กระทำความผิดหรือผู้พ้นโทษที่มีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคมระยะที่ 1. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 50(4), หน้า 504-531.

พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565. (2565, 25 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 139 (ตอนที่ 66 ก), หน้า 6-21.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2566). สถิติฐานความผิดคดีอาญา (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://data.go.th/dataset/rtp_crimes_stat [2566, 7 ตุลาคม].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-25 — Updated on 2023-10-28

Versions