การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ค่ายวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • วัฒนาพร ดวงดีวงศ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • คงศักดิ์ วัฒนะโชติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้,, ค่ายวิทยาศาสตร์, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ความคิดสร้างสรรค์, จิตวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนเข้าร่วม และหลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ค่ายวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ค่ายวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 3) เพื่อศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ค่ายวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 72 คน โดยการรับสมัครนักเรียนตามความสนใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนรู้ค่ายวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบประเมินวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบประเมินจิตวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติค่าเฉลี่ยของคะแนน ค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติ t-test แบบ Dependentsample

            ผลการวิจัยพบว่า

      1) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ค่ายวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา มีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ค่ายวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

      2) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ค่ายวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาได้คะแนนเฉลี่ย 2.71 มีระดับคุณภาพดีมาก

      3) จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ค่ายวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาทุกด้านได้คะแนนเฉลี่ย 4.35 มีจิตวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี

References

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2546). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัสรินทร์ บือซา. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:

http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/10625/1/TC1218.pdf [2565, กันยายน 15].

พิมพันธ์ เดชะคุปต์, ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ และรัชนีกร หงส์พนัส. (2551). กลยุทธ์พัฒนาการคิดภูมิคุ้มกันในตนเอง. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

ภัสสร ติดมา, มลิวรรณ นาคขุนทด และสิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). การจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM Education เรื่องระบบของร่างกายมนุษย์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารราชพฤกษ์, 13(3), หน้า 71-76.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สุกัญญา เชื้อหลุบโพธิ์, ธิติยา บงกชเพชร และชมพูนุช วรางคณากูล. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบหมุน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(37), หน้า 119-132.

สุวิมล สาสังข์. (2562). ผลการจัดการกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิญญา สิงห์โต. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(7), หน้า 387-398.

อาทิตยา ขาวพราย. (2562). การพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 21(1), หน้า 55-62.

อาริยา ภูพันนา. (2565). การพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อารี พันธุ์มณี. (2557). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุรา คล่องแคล่ว. (2562). การศึกษาวิธีการเรียนรู้ด้วยความคิดสร้างสรรค์และความเข้าใจที่คงทน เรื่อง พลังงานทดแทน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ ซินเนคติคส์. สกลนคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

Guilford, J., P. (1962). Factors that aid and hinder creativity. Teachers College Record, 63, pp. 380-392.

________. (1967). The Nature of the Intelligence. NY: MaGraw-Hill.

Jitaree, R., Uaiy, V., & Keawurai, W. (2017). The development of instruction model based on constructivist learning theory and STEM Education approach to enhance analysis thinking and scientific literacy for Mathayomsuksa 1 student. Journal of Education

Naresuan University, 19(2), pp. 202-212.

Sinthapanon, S. (2015). Learning management of modern teachers to improve the skills of learners in the 21st century. Bangkok: TechnicalPrinting.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31