การประเมินศักยภาพและความต้องการของผู้มาเยือน ต่อเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ชมน้ำตกโตนงาช้าง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • สถาวิทย์ สุวรรณรัตน์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พิชิต ลำใย คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อุษารดี ภู่มาลี คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การประเมินศักยภาพ, เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ, การสื่อความหมายธรรมชาติ, น้ำตกโตนงาช้าง

บทคัดย่อ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเหมาะแก่การพักผ่อน เล่นน้ำตก และเดินป่าศึกษาธรรมชาติ แต่ปัจจุบันกิจกรรมเดินป่าศึกษาธรรมชาติได้รับความนิยมค่อนข้างน้อย ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อประเมินศักยภาพเส้นทางศึกษาธรรมชาติและการสื่อความหมายธรรมชาติเดิม โดยการใช้แบบวิเคราะห์แหล่งท่องเที่ยวตามศักยภาพของพื้นที่และตามหลักการช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ 2) เพื่อประเมินความต้องการการใช้ประโยชน์เส้นทางศึกษาธรรมชาติ โดยการเก็บรวบรวมแบบสอบถามของผู้มาเยือนทั้งหมด 473 คน จากวัตถุประสงค์การวิจัยข้อ 1 พบว่า เส้นทางศึกษาธรรมชาติชมน้ำตกโตนงาช้างจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทกึ่งพัฒนา และศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับศักยภาพของแหล่งนันทนาการปานกลาง และวัตถุประสงค์ข้อ 2 พบว่า ผู้มาเยือนสนใจกิจกรรมการเดินป่าศึกษาธรรมชาติเพียงร้อยละ 24.95 โดยผู้มาเยือนที่เคยใช้เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ให้ความคิดเห็นเฉลี่ยสูงสุดต่อการจัดการเส้นทางศึกษาธรรมชาติในปัจจุบัน 3 ด้าน คือ ด้านแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เน้นให้นักเรียนรู้ ศึกษาธรรมชาติได้สัมผัสและใกล้ชิดกับธรรมชาติเท่ากับ 4.51 ด้านการจัดทำเส้นทางเป็นเส้นทางเหมาะแก่การเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติเท่ากับ 4.12 และด้านป้ายสื่อความหมาย ป้ายสื่อความหมายช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติเท่ากับ 4.04 สำหรับผลการวิจัยในครั้งนี้หน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยดำเนินการปรับปรุงการสื่อความหมาย พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกบนเส้นทาง และมีการประชาสัมพันธ์ เพื่อทำให้กิจกรรมการเดินป่าศึกษาธรรมชาติได้รับความนิยมมากขึ้น และผู้มาเยือนได้เรียนรู้ศึกษาธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ

References

ดรรชนี เอมพันธุ์. (2544). คู่มือวิเคราะห์แหล่งท่องเที่ยวตามศักยภาพของพื้นที่ และหลักการช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นภวรรณ ฐานะกาญจน์, วันชัย อรุณประภารัตน์, นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์, รติกร น่วมภักดี และธีระพงษ์ ชุมแสงศรี. (2549). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (เล่มที่ 1) โครงการ “ระบบสนับสนุนการวางแผน การจัดการแหล่งนันทนาการทางธรรมชาติอย่างยั่งยืนระยะที่ 1”. กรุงเทพฯ: คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รัตนา ลักขณาวรกุล. (2555). การสื่อความหมายธรรมชาติ คู่มืออุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

รำไพพรรณ แก้วสุริยะ. (2544). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แผนและนโยบาย. เอกสารประกอบคำบรรยาย เรื่อง การท่องเที่ยวเชิงนิเวศแผนและนโยบาย. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

วสา สุทธิพิบูลย์ และรัตนา ลักขณาวรกุล. (2554). การจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:

https://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER2/DRAWER027/GENERAL/DATA0001/00001858.PDF[2566, 30 มิถุนายน].

วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2532). ศักยภาพสำคัญอย่างไรต่อแหล่งท่องเที่ยว. จุลสารการท่องเที่ยว, 8(2), หน้า 42-49.

ศรีประภา ชัยวรวัฒน์. (2545). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Brace, N., Kemp, R. & Snelgar, R. (2006). SPSS for psychologists: A guide to data analysis using SPSS for Windows (3rd ed.). Lawrence Erlbaum Associates.Tavakol, M. & Dennick, R. (2011). Making sense of Cronbach's alpha. International journal of medical education, 2, pp. 53-55.

Tilden, F. (1967). Interpreting our heritage (3rd ed.). NC: University of North Carolina Press.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed.). NY: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01