การปรับปรุงกระบวนการตรวจรับสินค้า ด้วยวิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

ผู้แต่ง

  • นวพล เกษมธารนันท์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
  • คุณากร เศรษฐโสภณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

การตรวจรับสินค้า, การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง, เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการตรวจรับสินค้า วิเคราะห์ปัญหา และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการสุ่มตรวจนับ โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการตรวจรับสินค้าภายในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยใช้เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด ซึ่งได้แก่ แผนภูมิก้างปลาหรือแผนผังสาเหตุและผล ในการวิเคราะห์หาต้นตอของปัญหา ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรวจรับสินค้า (Goods received) โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามพนักงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ข้อมูลความถี่ในการเกิดปัญหาการรับสินค้าไม่ตรงกับคำสั่งซื้อ และความถี่ในการพบวัตถุดิบไม่ครบจำนวนในกระบวนการผลิต จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงเสนอวิธีการใหม่ในการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยอาศัยสูตรและตารางสำเร็จรูปจาก Krejcie & Morgan (1970, pp. 607-610) โดยกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 5% และระดับความเชื่อมั่น 95% วิธีการใหม่นี้ช่วยให้สามารถคัดกรอง หรือตรวจพบสินค้าไม่ครบจำนวนได้เพิ่มขึ้น 19.17% และลดปัญหาที่ฝ่ายผลิตพบวัตถุดิบไม่ตรงกับฉลากสินค้าได้ 25.64% การปรับปรุงกระบวนการตรวจรับสินค้าใหม่นี้ สามารถลดปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงได้เสนอต่อแผนกตรวจรับสินค้าเพื่อนำไปใช้งานจริงในบริษัทกรณีศึกษา หลังจากแผนกตรวจรับได้นำวิธีการปรับปรุงไปใช้งานจริงพบว่า สามารถคัดกรองสินค้าไม่ครบจำนวน และลดปัญหาที่ฝ่ายผลิตพบวัตถุดิบในกล่องไม่ครบจำนวนได้จริง จึงกำหนดเป็นคู่มือการปฏิบัติงาน (Work Instruction: WI)

References

พูลพิศ นามปั่น, สุภาวดี ธีรธรรมากร และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2564). การเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องบรรจุ หลอดบีบสำหรับเครื่องสำอางโดยการประยุกต์ใช้เครื่องมือคุณภาพ. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 7(1), หน้า 32-41.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2562). การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ และเครทซี-มอร์แกน. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(S), หน้า 11-28.

สมพร วงษ์เพ็ง และอัญญารัตน์ ประสันใจ. (2562). การประยุกต์วิธีการทากูชิ เพื่อลดชิ้นงานเสียในกระบวนการประกอบแผ่นวงจรพิมพ์พีซีบี กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัล, 7(2), หน้า 26-35.

สินมหัต ฝ่ายลุย, รุ่งเพชร รัศมี, วีรพงศ์ นุพพล, วิษณุ แฟงเมือง และภัทรพงศ์ เกิดลาภี. (2566). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการประกอบเครื่องจักรโดยใช้หลักการไคเซ็น กรณีศึกษา บริษัทออกแบบ ติดตั้งระบบอัตโนมัติ. วารสารเทคโนโลยีและวิศวกรรมก้าวหน้า, 1(1), หน้า 61-69.

Andiyappillai, N. (2020). Factors influencing the successful implementation of the warehouse management system (WMS). International Journal of Computer Applications,177(32), pp. 21-25.

Ginting, R., & Fattah, M. G. (2020). Production quality control with new seven tools for defect minimization on PT. Dirgantara Indonesia. IOP Conference Series: Earth and Environmental Science, 452(1), p. 012082.

Istiqomah, N. A., Sansabilla, P. F., Himawan, D. & Rifni, M. (2020). The implementation of barcode on warehouse management system for warehouse efficiency. Journal of Physics: Conference Series, 1573(1), p. 012038.

Jama, M., Okoumba, W. V. L. & Mafini, C. (2023). A model for inventory management and warehouse performance in the South African retail industry. LogForum, 19(4), pp. 555-575.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), pp. 607-610.

Mabotja, T. (2024). Revitalizing warehouse management to enhance global manufacturing competitiveness: insights from South Africa. International Journal of Research in Business and Social Science (2147-4478), 13(1), pp. 108-120.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01