การศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมทางโลจิสติกส์สำหรับชุมชนปัจฉิมวัยนานาชาติด้วยกระบวนวิเคราะห์เชิงลำดับขั้น : กรณีศึกษา อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • วัชระ วัธนารวี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ขวัญเรือน สินณรงค์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

โลจิสติกส์, ชุมชนปัจฉิมวัยนานาชาติ, กระบวนวิเคราะห์เชิงลำดับขั้น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมทางโลจิสติกส์สำหรับชุมชนปัจฉิมวัยนานาชาติในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ด้วยกระบวนวิเคราะห์เชิงลำดับขั้น โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ พื้นที่ใน 8 ตำบล ของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และประชาชน ผู้นำชุมชน และหน่วยงานในพื้นที่เป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทรัพยากรของพื้นที่จากงานภาคสนาม GPS Logger แบบบันทึกข้อมูลในการประชุมกลุ่ม และแบบลงคะแนนสำหรับกรรมการ

            ผลการวิจัยมีดังนี้

            เมื่อใช้เทคนิคการเลือกทำเลที่ตั้งด้วยกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับขั้น ตามเกณฑ์ขั้นต้นระดับที่ 1 ได้พื้นที่เป้าหมาย 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลเวียง ตำบลครึ่ง และตำบลบุญเรือง จากนั้นเมื่อออกสำรวจพื้นที่ภาคสนาม และการประชุมกลุ่ม เพื่อนำข้อมูลพิจารณาตามการถ่วงน้ำหนักตามเกณฑ์ ระดับที่ 2 พบว่า ตำบลเวียง พื้นที่ที่เหมาะสมในการเป็นชุมชนปัจฉิมวัยนานาชาติในอำเภอเชียงของมากที่สุด คือ ตำบลเวียง ซึ่งได้คะแนนถ่วงน้ำหนักสูงสุด 4.74 คะแนน ส่วนตำบลครึ่ง 4.59 คะแนน และตำบลบุญเรือง 4.57 คะแนน ตามลำดับ

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). ไทยหมุดหมาย ต่างชาติ "วัยเกษียณ" โอกาสขยับสู่การท่องเที่ยวมูลค่าสูง (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.cherseryhome.com/content/8746/ [2563, 18 มีนาคม].

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2562). คู่มือผู้สูงอายุ สุขภาพสูงวัย ดูแลได้ด้วยตัวเอง. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดเชียงราย. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2566-2570 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://123.242.164.131/cpwp/wp- content/ uploads/2021/10/planyear66_70_resize.pdf [2563, 12 กันยายน].

นภัสวันต์ ชมภูนุช. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านระบบ QR Code ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยากรุงเทพ.

นรินทร์ เอื้อศิริวรรณ, วิกรม พนิชการ, ดำรงค์ รังสรรค์ และอุบลรัตน์ วาริชวัฒนะ. (2561). การกำหนดหลักเกณฑ์คัดเลือกตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการจัดตั้งสถานีตรวจสอบน้ำหนัก โดยการใช้ทฤษฎีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP). วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 7(1), หน้า 17-33.

พงษ์มณฑา เกษรไพบูลย์. (2560). พื้นที่ของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

รุ่งอาทิตย์ บูชาอินทร์ และกฤช จรินโท. (2559). ปัจจัยที่ใช้ในการวางแผนองค์การธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้านการเลือกทำเลที่ตั้งหมู่บ้านจัดสรรยุคใหม่. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(2), หน้า 1-10.

วรางกูร อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2565). การศึกษาลำดับปัจจัยทางเลือกใช้พลังงานทดแทนของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอาหารโดยการใช้กระบวนการลำดับเชิงวิเคราะห์ (AHP). RMUTT Global Business and Economics Review, 17(2), หน้า 134-147.

ศิววุธ สงสุทธิต, กอบเกียรติ ผ่องพุฒิ และเรืองไร โตกฤษณะ. (2560). กลยุทธ์ในการบริหารจัดการน้ำท่วมที่เกษตรกรยอมรับในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผักไห่. วิศวกรรมสาร มก., 30(100), หน้า 13-22.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2561). คู่มือการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก: https://www.boi.go.th/upload/content/AW_BOI_book_special%20economic%20zone_20170919_34463_5ae02f134d735.pdf [2563, 12 กันยายน].

สำนักบริหารการทะเบียน จังหวัดเชียงราย. (2562). ประกาศจำนวนประชากรปี 2542-2562. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php [2563, 12 กันยายน].

Gerhart, B. & Feng, J. (2021). The resource-based view of the firm, human resources, and human capital: Progress and prospects. Journal of Management, 47(7), pp. 1796-1819.

Natgunanathan, I., Nisha, N., Xiang, Y. & Yi, S. (2022). Smart-area-selection based location privacy enhancement. IEEE Systems Journal, 16(2), pp. 2020-2031.

Ransikarbum, K. & Khamhong, P. (2021). Integrated fuzzy analytic hierarchy process and technique for order of preference by similarity to ideal solution for additive manufacturing printer selection. Journal of Materials Engineering and Performance, 30(9), pp. 6481-6492.

Şahin, M. (2021). Location selection by multi-criteria decision-making methods based on objective and subjective weightings. Knowledge and Information Systems, 63(8), pp. 1991-2021.

Varadarajan, R. (2020). Customer information resources advantage, marketing strategy and business performance: A market resources based view. Industrial Marketing Management, 89, pp. 89-97.

Wang, Y., Zhong, R. Y. & Xu, X. (2018). A decision support system for additive manufacturingprocess selection using a hybrid multiple criteria decision-making method. Rapid Prototyping Journal, 24(9), pp. 1544-1553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01