ผลการจัดการเรียนรู้ วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยอาหารและเครื่องดื่ม โดยใช้ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ชนะศักดิ์ สิงห์เรือง -
  • เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, วิชาภาษาอังกฤษ, หน่วยอาหารและเครื่องดื่ม, กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หน่วยอาหารและเครื่องดื่ม โดยการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยอาหารและเครื่องดื่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) สังกัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบ   วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อผลการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test for Dependent Samples)

  ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยอาหารและเครื่องดื่ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.53/ 81.09 เป็นไปตามที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยอาหารและเครื่องดื่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจมีต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ( =4.28, SD=0.60)

References

กชกร คงเพชรดี, ศุภวัฒน วิสิฐศิริกุล และครรชิต กอเฮง. (2561). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:https://research.kpru.ac.th/research2/pages/filere/16802019-09-04.pdf [2566, 20 ธันวาคม].

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1540-file.pdf [2566, 20 ธันวาคม].

ชีลาณี มะสมัน. (2543-2563). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ Express Englishโดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=167066&bcat_id=16

, 20 พฤษภาคม].

นันทนิตย์ บุตรปาละ. (2563). การพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเลย โดยใช้สถานการณ์จำลอง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(1), หน้า 97-108.

ปวีณวัสสา บำรุงอุดมรัชต์ และอัมพร วัจนะ. (2564). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Sites เรื่อง สมดุลเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), หน้า 260-274.

สาริศา บุญแจ่ม, ประสาท เนืองเฉลิม และประยูร วงศ์จันทรา. (2558). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และแบบการบริการสังคมเรื่อง สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์, 9(2), หน้า 147-158.

สิริกร บำรุงกิจ, สันติ วิจักขณาลัญฉ์ และธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2562). รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสาร. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), หน้า 59-70.

อรวรรณ ตาพา. (2552). การพัฒนาชุดการสอนเสริมทักษะการเขียนสะกดคําภาษาไทยที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดโดยใช้เกมทางภาษา สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

อภิญญา พัวเพิ่มพูลศิริ, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม และอดุลศักดิ์ สุนทรโรจน์. (2566). การพัฒนาทักษะคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://journal.ubonmcu.org/uncategorized/วารสารพุทธศาสตร์-มจร-อุ-18/ [2566, 20 ธันวาคม].

McCarthy, B. (1997). Using 4 MAT system to bring learning styles to school. Educational Leadership, 48(2), pp. 31-37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25