การลดต้นทุนวัตถุดิบคงคลัง กรณีศึกษาโรงงานผลิตสเปรย์ปรับอากาศ AAA
คำสำคัญ:
การลดต้นทุน, วัตถุดิบคงคลัง, การจัดกลุ่มวัตถุดิบ, จุดสั่งซื้อใหม่, สเปรย์ปรับอากาศบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารสินค้าคงคลังและปัญหาสินค้าค้างสต็อกโรงงานผลิตสินค้าสเปรย์ปรับอากาศ AAA 2) ศึกษาการจัดแบ่งประเภทสินค้าตามมูลค่าโรงงานผลิตสินค้าสเปรย์ปรับอากาศ AAA และ 3) เสนอแนวทางลดปริมาณการจัดเก็บและลดต้นทุนวัตถุดิบคงคลังโรงงานผลิตสินค้าสเปรย์ปรับอากาศ AAA ตามนโยบายการบริหารวัตถุดิบคงคลัง ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหาร 1 คน ผู้จัดการคลังสินค้า 1 คน หัวหน้างาน 4 คน และพนักงานคลังสินค้า 3 คน ด้วยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย Content Analysis (การวิเคราะห์เนื้อหา) และวิเคราะห์เปรียบเทียบผลก่อนการปรับปรุง และหลังการปรับปรุง
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการบริหารสินค้าคงคลังและปัญหาสินค้าค้างสต็อกส่วนใหญ่จำนวนวัตถุดิบคงคลังไม่สัมพันธ์กับความต้องการใช้สำหรับการผลิต การคาดการณ์ความต้องการสินค้าไม่แม่นยำ ขาดการตรวจสอบติดตามสถานะสินค้าและการจัดการสินค้าคงคลังที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจากการจัดแบ่งประเภทสินค้าตามมูลค่าโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ ABC Analysis จากวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้าสเปรย์ปรับอากาศ ทั้งหมด 75 รายการ ได้วัตถุดิบกลุ่ม A จำนวน 17 รายการ วัตถุดิบกลุ่ม B จำนวน 18 รายการ สำหรับวัตถุดิบกลุ่ม C จำนวน 40 รายการ การลดต้นทุนและปริมาณวัตถุดิบคงคลังของโรงงานผลิตสเปรย์ปรับอากาศ โดยการปรับคำสั่งซื้อเพื่อเติมเต็มถึงระดับที่เหมาะสมช่วยสามารถลดมูลค่าวัตถุดิบคงเหลือต่อเดือนได้ 2,827,497.60 บาท คิดเป็น ร้อยละ 59.99 หลังจากกำหนดจุดสั่งซื้อใหม่ (Reorder Point) สามารถลดปริมาณวัตถุดิบคงเหลือต่อเดือน 2,661.51 กิโลกรัม คิดเป็น ร้อยละ 59.64 ซึ่งองค์กรต้องตระหนักและให้ความสำคัญในการดำเนินการโดยนำข้อมูลยอดขายในอดีตแนวโน้มของตลาดในการคาดการณ์ความต้องการสินค้า เน้นการสั่งซื้อวัตถุดิบเฉพาะเมื่อจำเป็น เจรจาข้อตกลงกับซัพพลายเออร์เพื่อประกันราคาที่เหมาะสม ติดตามอายุการเก็บของวัตถุดิบเพื่อให้ใช้วัตถุดิบตามลำดับอายุการเก็บรักษา ปรับขนาดล็อตการผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการ ซึ่งจะช่วยลดการเก็บสต็อกวัตถุดิบ ลดต้นทุนการสั่งซื้อและจัดเก็บ และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและซัพพลายเชน
References
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2557). การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. กรุงเทพฯ: เอ-พริ้นท์ แอนด์ แพ็ค.
ชัยชุมพล สิงสนอง และกาญจนา กาญจนสุนทร. (2563). ศึกษาทฤษฎี ABC Analysis เพื่อการปรับปรุง ปฏิบัติการและการจัดการคลังสินค้า. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ ๑๕ ปีการศึกษา ๒๕๖๓, วันที่ 13 สิงหาคม 2563 (หน้า 1157-1167). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
เฌอร์รฎา คุ้มถนอม. (2564). ปริมาณการสั่งซื้อวัตถุดิบหลักที่เหมาะสม กรณีศึกษา บริษัทผลิตเหล็กแท่งและเหล็กเส้นก่อสร้าง. งานนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฐปรียา ฉลาดแย้ม, ประกายกาณ์ ชูศร และยุภาพร ตงประสิทธิ์. (2558). การวิเคราะห์แบบเอบีซี.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศสถิติ, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธมนวรรณ นาคเสนอินทร์. (2563). การลดต้นทุนสินค้าคงคลัง โดยใช้หลัก ABC กรณีศึกษา: บริษัท อีแกทไดมอนด์ เซอร์วิส. รายงานวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทางวิศวกรรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
รุจิรางค์ สีโท. (2565). การปรับปรุงกระบวนการสั่งซื้อของอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันต่ำในธุรกิจซื้อมาขายไป. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงงานผลิตสเปรย์ปรับอากาศ AAA. (2566). มูลค่าวัตถุดิบคงคลังของโรงงานผลิตสเปรย์ปรับอากาศ AAA ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2566. อัดสำเนาฝ่ายคลังสินค้า สมุทรปราการ.
ศศิธร คำนนท์. (2565). การลดมูลค่าสินค้าคงคลังโดยวิธีการปรับปรุงกระบวนการสั่งซื้อชิ้นส่วนของบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาวดี สายสนิท และเฉลียว บุตรวงษ์. (2566). การลดต้นทุนสินค้าคงคลังของร้านกาแฟ Full Service ประเภท Chain Store. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 25(2), หน้า 106-119.