การบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยครูปากเซ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยครูปากเซ ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยครูปากเซ ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว จำแนกตามเพศ และวุฒิการ ศึกษา 3) เพื่อศึกษาปัญหา และแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของผู้บริหาร คณาจารย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหาร และคณาจารย์วิทยาลัยครูปากเซ จำนวน 118 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยครูปากเซ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน
- 2. การเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยครูปากเซ จำแนกตามเพศ และวุฒิการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
3. ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของผู้บริหาร คณาจารย์ วิทยาลัยครูปากเซ 1) ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ปัญหาที่พบคือ การวิเคราะห์หลักสูตรเพึ่อให้เหมาะสมกับชั้นเรียน และหลักสูตรยังไม่มีตำราและคู่มือการใช้ แนวทางการพัฒนา ควรจัดให้มีการวิเคราะห์หลักสูตรก่อนเพื่อให้เหมาะสมกับชั้นเรียน ควรประเมินหลักสูตรก่อนนำไปใช้ 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน ปัญหาที่พบคือ การเรียนการสอนบางครั้งยังไม่เป็นระบบ ห้องทดลอง และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยังขาดไม่เพียงพอ แนวทางการพัฒนา ควรจัดการเรียนการสอนให้หลากหลาย และสรรหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้เพียงพอ 3) ด้านสื่อการเรียนการสอน ปัญหาที่พบคือ สื่อการเรียนการสอนไม่ทันสมัยและยังไม่เพียงพอ และยังขาดแคลนด้านงบประมาณ แนวทางการพัฒนา ควรใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายทันสมัย และควรมีงบประมาณที่เพียงพอให้คณาจารย์เพื่อสร้างสื่อการเรียนการสอน 4) ด้านการวัดและประเมินผล ปัญหาที่พบคือ ไม่ได้รับการอบรมด้านความรู้เรื่องการวัด และเครื่องมือการวัด และประเมินผลยังไม่เป็นระเบียบตามหลักของการประเมิน แนวทางการพัฒนา ควรมีการเชิญผู้เชียวชาญเฉพาะมาเป็นกรรมการตรวจเครื่องมือการวัดผลประเมินผล 5) ด้านการนิเทศภายใน ปัญหาที่พบคือ การจัดนิเทศภายในยังมีไม่มาก แนวทางการพัฒนา ควรมีการนิเทศภายในของแต่ละกลุ่มมสาระในแต่ละภาคเรียนอย่างต่อเนื่อง และควรมีการนำผลการนิเทศมาวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการเรียนการสอน
Article Details
References
ณรงค์ศักดิ์ หงษ์คำ. (2551). สภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. อุบลราชธานี: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
ดารัตน์ พิมพ์อุบล. (2549). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ธานินท์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุญเพ็ง กุละนาม. (2550). รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนจัดการศึกษาภาคบังคับ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
เรวัต สิงห์เรือง. (2551). การบริหารงานวิชาการโรงเรียนเทศบาล เขตการศึกษา 10. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สุระชัย นันทะบุตร. (2547). การศึกษาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนคาทอลิก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1-2 ในสังฆมณฑลอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2543). ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย : เรื่องง่ายๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
ศึกษาธิการ และกีฬา ลาว, กระทรวง. (2016). กฎหมายว่าด้วยการศึกษา ฉบับปรับปรุง ลาว. 2016:16-17
ศึกษาธิการ และกีฬา ลาว, กระทรวง.. (2541). คู่มือครูศึกษานิเทศก์ชั้นมัธยมศึกษา. เวียงจันทน์: วิสาหกิจการพิมพ์จำหน่ายศึกษา.
ศึกษาธิการ และกีฬา ลาว, กระทรวง. . (2541). แบบเรียนวิชา การวัดและประเมินผล. เวียงจันทน์: วิสาหกิจการพิมพ์จำหน่ายศึกษา.
ศึกษาธิการ และกีฬา ลาว, กระทรวง. . (2551). แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาแห่งชาติ ค.ศ. 2006-2015. เวียงจันทน์: โรงพิมพ์ศรีสะหวาด,.
ศึกษาธิการ และกีฬา ลาว, กระทรวง.. (2551). หลักสูตรและการพัฒนา. เวียงจันทน์: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา.
Crim, Elton. (2006). “The Development of Professional Identity in Student Affairs Administrators,” Dissertation Abstracts International. 42(2006) : 183-A.
Kate, M. (2007). Social and Academic benefits of Looping Primary Grade Students (Online). 2007 (20 October 2007). Available : http://www. sciencedirect.com/science?-ob- ArticleURL.