ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง
วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
Journal of Association of Professional Development of Educational Administration of Thailand (JAPDEAT)
----------------
ISSN: 3027-8813 (Online)
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้นิพนธ์บทความ
1.ลงทะเบียน user ในระบบวารสารออนไลน์
2.จัดรูปแบบบทความตามรูปแบบของวารสาร ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ (Template บทความ, รูปแบบการอ้างอิง)
3.ส่งบทความผ่านระบบวารสารออนไลน์ (ศึกษาวิธีการได้ที่นี่)
4.เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความของท่านแล้ว จะตรวจสอบรูปแบบและความถูกต้องเบื้องต้น และจะแจ้งให้แก้ไขในกรณีที่มีการแก้ไข
5.กองบรรณาธิการจะส่งบทความของท่านให้ผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คนวิจารณ์และประเมินคุณภาพบทความผ่านระบบวารสารออนไลน์ ด้วยวิธี Double-Blinded ใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์
6.กองบรรณาธิการจะส่งผลการประเมินของผู้ทรงคุณให้ท่านแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและแก้ไขส่งคืนผ่านระบบวารสารออนไลน์ ภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับการแจ้งเตือน
7.วารสารจะตอบรับการตีพิมพ์ในระบบวารสารออนไลน์และออกหนังสือตอบรับให้หลังจากที่ผู้นิพนธ์บทความส่งบทความฉบับแก้ไขส่งคืนเท่านั้น
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ
วารสารวารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย
ขอบเขตของวารสาร
วารสารวารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย รับตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และบทปริทัศน์ด้านการบริหารการศึกษา รวมทั้งบทความด้านครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการศึกษา
สาขาของวารสาร
วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย เป็นวารสารสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเน้นด้านการศึกษา
วาระการตีพิมพ์
- วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย มีวาระการตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 4 ฉบับ
- ฉบับที่ 1 (เดือนมกราคม – มีนาคม)
- ฉบับที่ 2 (เดือนเมษายน-มิถุนายน)
- ฉบับที่ 3 (เดือนมกราคม – กันยายน)
- ฉบับที่ 4 (เดือนตุลาคม-ธันวาคม
- การเตรียมต้นฉบับ
- ภาษา เขียนบทความเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ละเรื่องจะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน อย่างไรก็ตาม ให้หลีกเลี่ยงการเขียนภาษาอังกฤษปนภาษาไทยในข้อความ ยกเว้นกรณีจำเป็น เช่น ศัพท์ทางวิชาการที่ไม่มีคำแปล หรือคำที่ใช้แล้วทำให้เข้าใจง่ายขึ้น คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เขียนปนภาษาไทยให้ใช้ตัวเล็กทั้งหมด ยกเว้นชื่อเฉพาะ สำหรับต้นฉบับภาษาอังกฤษ ควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องด้านการใช้ภาษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษก่อน
- ขนาดของต้นฉบับ ใช้กระดาษขนาด A4 (8.5 x 11 นิ้ว) และพิมพ์โดยเว้นระยะห่างจากขอบกระดาษด้านละ 1 นิ้ว จัดเป็นหนึ่งคอลัมน์ ระยะห่างระหว่างบรรทัดใช้ single space
- ชนิดและขนาดตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ดังรายละเอียด
ลำดับ |
รายการ |
ชนิดตัวอักษรและขนาด |
ตัวหนาหรือปกติ |
1 |
ชื่อเรื่อง |
TH SarabunPSK ขนาด 18 pt. |
ตัวหนา |
2 |
ชื่อ-นามสกุลผู้นิพนธ์ |
TH SarabunPSK ขนาด 14 pt. |
ตัวปกติ |
3 |
ต้นสังกัดของผู้นิพนธ์ |
TH SarabunPSK ขนาด 12 pt. |
ตัวปกติ |
4 |
บทคัดย่อ/Abstract |
TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. |
ตัวหนา |
6 |
คำสำคัญ/Keywords |
TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. |
ตัวหนา/ปกติ |
7 |
หัวข้อหลัก |
TH SarabunPSK ขนาด 18 pt. |
ตัวหนา |
8 |
เนื้อหา |
TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. |
ตัวปกติ |
- การพิมพ์ต้นฉบับ ผู้เสนอผลงานจะต้องพิมพ์และส่งต้นฉบับในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลเป็น “.doc” หรือ “.docx” (MS Word) เท่านั้น
- จำนวนหน้า ความยาวของบทความไม่เกิน 15 หน้า รวมตาราง รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง
- รูปภาพ ในกรณีที่ผู้เขียนบทความ มีภาพประกอบบทความ ควรบันทึกไฟล์รูปภาพ เป็นนามสกุล “.jps” หรือ “.jpeg” โดยเขียนบรรยายใต้ภาพ ตัวอักษรขนาด 15 pt
รูปแบบการเขียนต้นฉบับ
บทความวิจัย
- ชื่อเรื่อง (Title) ควรสั้น กะทัดรัด และสื่อเป้าหมายหลักของงานวิจัย ไม่ใช้คำย่อ ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร ชื่อเรื่องให้มีทั้งภาษาไทย และอังกฤษ โดยให้นำชื่อเรื่องภาษาไทยขึ้นก่อน
- ชื่อผู้นิพนธ์ Author(s) และที่อยู่ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และระบุตำแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานหรือสถาบัน ที่อยู่ และ E-mail address ของผู้นิพนธ์ เพื่อกองบรรณาธิการใช้ติดต่อเกี่ยวกับต้นฉบับและบทความที่ตีพิมพ์แล้ว
- บทคัดย่อ (Abstract) เป็นการย่อเนื้อความงานวิจัยทั้งเรื่องให้สั้น และมีเนื้อหาครบถ้วนตามเรื่องเต็ม ความยาวไม่เกิน 300 คำ หรือ 15 บรรทัด ไม่ควรใช้คำย่อที่ไม่เป็นสากล และให้บทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อนภาษาอังกฤษ
- คำสำคัญ (Keywords) ให้ระบุไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา ไม่เกิน 5 คำ
- บทนำ (Introduction) เป็นส่วนเริ่มต้นของเนื้อหา ที่บอกความเป็นมา เหตุผล และวัตถุประสงค์ ที่นำไปสู่การทำงานวิจัยนี้ รวมถึงทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในครั้งนี้พอสังเขป
§ วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ให้ระบุรายละเอียดวิธีการศึกษาวิจัย ประกอบด้วยขอบเขต ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ วิธีการเก็บข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลตามลักษณะที่เหมาะสมของงานวิจัย
- ผลการวิจัย (Results) รายงานผลการศึกษาที่ค้นพบ ตามลำดับหัวข้อของการศึกษาวิจัย อย่างชัดเจนได้ใจความ ถ้าผลไม่ซับซ้อน ไม่มีตัวเลขมาก ควรใช้คำบรรยาย แต่ถ้ามีตัวเลข หรือตัวแปรมาก ควรใช้ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิแทน ในบทความไม่ควรมีเกิน 5 ตาราง หรือแผนภูมิ
- การอภิปรายการวิจัย (Discussion) แสดงให้เห็นว่าผลการศึกษาตรงกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย หรือแตกต่างไปจากผลงานที่มีผู้รายงานไว้ก่อนหรือไม่ อย่างไร เหตุผลใดจึงเป็นเช่นนั้น และมีพื้นฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้ และให้จบด้วยข้อเสนอแนะที่จะนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ควรมีประเด็นคำถามการวิจัย ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการวิจัยต่อไป
- ตาราง รูปภาพ แผนภูมิ (Table, Figure, And Diagram) ควรคัดเลือกเฉพาะที่จำเป็น แยกออกจากเนื้อเรื่อง โดยเรียงลำดับให้สอดคล้องกับคำอธิบายในเนื้อเรื่อง และต้องมีคำอธิบายสั้น ๆ แต่สื่อความหมายได้สาระครบถ้วน กรณีที่เป็นตาราง คำอธิบายอยู่ด้านบน ส่วนรูปภาพ แผนภูมิ คำอธิบายอยู่ด้านล่าง
- กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) ระบุสั้น ๆ ว่างานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุน และความช่วยเหลือจากองค์กรใด หรือบุคคลใดบ้าง
- เอกสารอ้างอิง ระบุรายการเอกสารอ้างอิงให้ครบถ้วนที่ท้ายเรื่อง โดยใช้ระบบการอ้างอิงตามรูปแบบ APA 6th edition
บทความทางวิชาการ
- ต้องมีส่วนประกอบหลัก ได้แก่ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ เนื้อหา บทสรุป และเอกสารอ้างอิง
บทวิจารณ์หนังสือ
- ต้องมีส่วนประกอบหลัก ได้แก่ ข้อมูลทางบรรณานุกรม ชื่อผู้วิจารณ์ บทวิจารณ์
การส่งต้นฉบับและการพิจารณา
ผู้นิพนธ์บทความ สามารถส่งบทความผ่านระบบวารสารออนไลน์ ได้ที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT และประสานกองบรรณาธิการวารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย จากนั้น กองบรรณาธิการจะดำเนินการตามลำดับ ดังนี้
กองบรรณาธิการจะตรวจสอบ ทบทวนรายละเอียดต้นฉบับอีกครั้ง เพื่อความถูกต้องก่อนส่งโรงพิมพ์โดยทุกกระบวนการดำเนินการผ่านระบบวารสารออนไลน์
- ตรวจสอบรูปแบบความถูกต้อง ถ้าไม่ถูกต้องจะส่งกลับให้ผู้นิพนธ์แก้ไข เมื่อผู้นิพนธ์แก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ส่งกลับมายังกองบรรณาธิการเพื่อดำเนินการต่อไป
- กองบรรณาธิการจะประชุมพิจารณาต้นฉบับที่ได้รับการแก้ไขถูกต้องแล้ว ว่าสมควรตีพิมพ์หรือไม่ และพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิผู้พิจารณา
- กองบรรณาธิการจัดส่งต้นฉบับตามข้อ 2 ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviews) จำนวน 3 คนพิจารณากลั่นกรองให้ข้อเสนอแนะโดยใช้ระบบปกปิดข้อมูลของทั้งสองฝ่าย (Double-Blinded)
- เมื่อกองบรรณาธิการได้รับต้นฉบับกลับคืนมาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว จะส่งให้ผู้นิพนธ์แก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งต้นฉบับกลับคืนมายังกองบรรณาธิการภายในเวลาที่กำหนด ถ้าผู้นิพนธ์ไม่แก้ไข กองบรรณาธิการจะไม่ตีพิมพ์
- กองบรรณาธิการจะตรวจสอบ ทบทวนรายละเอียดต้นฉบับอีกครั้ง เพื่อความถูกต้องก่อนส่งโรงพิมพ์โดยทุกกระบวนการดำเนินการผ่านระบบวารสารออนไลน์
การอ้างอิงเอกสาร
- การอ้างอิงในเนื้อหา ใช้รูปแบบ APA 6th Edition คือ ระบุเพียงนามผู้เขียน และปีที่พิมพ์ (ไม่ใส่เลขหน้า)ดังนี้
- การอ้างอิงหน้าข้อความ ชื่อผู้แต่ง/(ปีพิมพ์).....................
ตัวอย่าง
ประเวศ วะสี (2554) ได้เน้นความสำคัญของสารสนเทศในสังคมยุคโลกาภิวัตน์เทียบเท่ากับอำนาจ ใครมีสารสนเทศมากกว่าย่อมมีอำนาจมากกว่าผู้อื่น….
- การอ้างอิงหลังข้อความ ...................(ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์)
ตัวอย่าง
นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ทุกขั้นตอนของกระบวนการวิจัย ตั้งแต่การเลือกเรื่องที่จะทำวิจัย การเลือกผู้เข้าร่วมวิจัย การดำเนินการวิจัย ตลอดจนนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ (นงนุช ธานี, 2552)
การเขียนอ้างอิงเอกสารส่วนท้ายเรื่อง
ใช้รูปแบบการอ้างอิงตามรูปแบบ APA 6th Edition การเขียนเอกสารอ้างอิง
- หนังสือ
ชื่อผู้เขียน./(ปีที่พิมพ์)/.ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง
อภิชัย พันธเสน. (2544). พุทธเศรษฐศาสตร์ : วิวัฒนาการ ทฤษฎีและการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่าง ๆ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.
Collins, Randall. (1974). Conflict Sociology. 7thed. New York: Academic Press.
- บทความจากวารสาร
ผู้เขียน./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร.//ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.
ตัวอย่าง
วราวุธ ผลานันต์, ร.อ. และคนอื่น ๆ. (2551). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการทอผ้าไหมกาบบัว. สารมนุษยศาสตร์, 4(1), 1-13.
Gatten, Jeffrey N. (2004). Measuring Consortium Impact on User Perception: OhioLINK and LibQUAL. The Journal of Academic Librarianship, 30(3), 115-135.
- รายงานการวิจัย
ชื่อผู้เขียน./(ปีที่พิมพ์)./ชื่องานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์.//วิทยานิพนธ์....(ระบุระดับปริญญา) มหาวิทยาลัย.....(ระบุมหาวิทยาลัย).
ตัวอย่าง
พิฆาต เพชรอินทร์. (2544). การศึกษาเปรียบเทียบทัศนะเรื่องความตายในหลักคำสอนของพุทธศาสนาและคริสต์ศาสนา ที่มีผลต่อพฤติกรรมของพุทธศาสนิกชนทั้งสองในจังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยมหิดล.
Buppha Devahuti. (1975). Use of Computer in Series Control in Thai Libraries. Master of Art’s Thesis, Chulalongkorn University.
- เว็บไซต์
ผู้แต่ง./(2541)./ชื่อเรื่อง./(ออนไลน์)/(อ้างเมื่อ/วันที่/เดือน/ปี).//จาก:/URL
ตัวอย่าง
เครือข่ายกาญจนาภิเษก. (2541). โครงการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่ยุทธศาสตร์ชายแดนจังหวัดบุรีรัมย์. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 18 สิงหาคม 2542). จาก http://www.rdpb.go.th/king/king _news16.html
- การสัมภาษณ์
ผู้ให้สัมภาษณ์./(2541)./หัวข้อที่สัมภาษณ์/(สัมภาษณ์).//ตำแหน่ง/หน่วยงานที่สังกัด
////////หรือที่อยู่./วันที่/เดือน/ปีที่สัมภาษณ์.
ตัวอย่าง
ขนิษฐา ลาพรมมา. (2551). ลายหมี่และลายผ้าไหมกาบบัว (สัมภาษณ์). ช่างทอผ้า ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านบอน บ้านเลขที่ 88 หมู่ 2 บ้านบอน ตำบลบอน อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี. 25 พฤษภาคม 2551.
Korn Tapparangsi. (1999). AIDS Situation in Thailand (Interview). The Minister, Ministry of Public Health, 17 July 1999.
- รายงานการประชุมและสัมมนาทางวิชาการ
ชื่อบรรณาธิการ,/บรรณาธิการ./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง.//ชื่อการประชุม;/วันที่/เดือน/ปีที่จัดประชุม; สถานที่ประชุม./ สถานที่พิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์.
ตัวอย่าง
บุญส่ง พัจนสุนทร, บรรณาธิการ. (2544). ภาวะช็อก : การวินิจฉัยและการวินิจฉัยแยกโรค. ใน Medicine in the Evidence-based Era การประชุมวิชาการ ประจำปี 2544 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้งที่ 17; 16-19 ตุลาคม 2544; ขอนแก่น. ขอนแก่น: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
K.C. Lun, P. Degoulet and T.E. Piemme, editors. (1992). Enforcement of Data Protection, Privacy and Security in Medical Informatics. In MEDINFO 92, Proceedings of the 7th World Congress on Medical Informatics; 6-10 September 1992; Geneva, Switzerland. Amsterdam: North-Holland.
จริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics)
วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย
วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งเอกสารและออนไลน์ที่จัดทำขึ้นเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ ในรูปแบบบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และบทปริทัศน์ ด้านการบริหารการศึกษา รวมทั้งบทความด้านครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการศึกษา เพื่อให้วารสารมีมาตรฐานและสอดคล้องกับจริยธรรมทางวิชาการ กองบรรณาธิการจึงกำหนดแนวทางเพื่อการปฏิบัติไว้ ประกอบด้วย คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ และแบบฟอร์มสำหรับการส่งบทความพร้อมการรับรองการไม่ตีพิมพ์ซ้ำซ้อน แบบประเมินบทความสำหรับผู้ประเมินบทความ พร้อมแจ้งนโยบายเกี่ยวกับจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารวิชาการ (Publication Ethics) ให้ทราบด้วย นอกจากนี้ กองบรรณาธิการวารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ผู้มีส่วนสำคัญในการตีพิมพ์ 3 กลุ่ม คือ ผู้นิพนธ์บทความ บรรณาธิการ และ ผู้ประเมินบทความ ไว้เป็นแนวปฏิบัติ ดังนี้
- หน้าที่ของผู้นิพนธ์บทความ (Author)
1.1 ผู้นิพนธ์บทความต้องลงนามเป็นหลักฐานยืนยันว่าบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่นั้น ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในแหล่งวิชาการอื่น ๆ มาก่อน และจะไม่ตีพิมพ์เผยแพร่ในแหล่งวิชาการอื่น ๆ ซ้ำซ้อน
1.2 ในกรณีที่เป็นบทความวิจัย จะต้องเป็นรายงานวิจัยที่อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงจากการวิจัย ไม่มีการบิดเบือนข้อมูลและไม่ให้ข้อมูลเท็จในรายงานการวิจัย โดยพรรณนาเรียบเรียงบทความวิจัยให้ถูกต้อง
1.3 ทุกบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ต้องไม่ใช่บทความที่เกิดจากการลักลอกผลงานของผู้อื่น และต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องตามมาตรฐานและหลักวิชาการตามรูปแบบที่วารสารได้กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์
1.4 บทความจะได้รับการพิจารณาอนุมัติให้ตีพิมพ์หลังจากที่ผ่านการพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน
- หน้าที่ของกองบรรณาธิการ (Editorial team)
2.1 กองบรรณาธิการจะพิจารณากลั่นกรองความถูกต้องของบทความในเบื้องต้นโดยเฉพาะรูปแบบการทำต้นฉบับและการอ้างอิง เมื่อพบว่า มีจุดที่ต้องแก้ไขปรับปรุง จะต้องส่งให้ผู้นิพนธ์บทความแก้ไขก่อน
2.2 กองบรรณาธิการจะคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาและเนื้อหาของบทความอย่างน้อย 2 คน เพื่อกลั่นกรองบทความและให้ข้อเสนอแนะอย่างเป็นอิสระ
2.3 กองบรรณาธิการจะไม่เปิดเผยชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้ทรงคุณวุฒิให้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายทราบเป็นอันขาด (Double-blond peer review)
2.4 กองบรรณาธิการจะพิจารณาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิในเบื้องต้นและส่งความคิดเห็นและข้อเสนอแนะดังกล่าวให้ผู้นิพนธ์เพื่อปรับปรุงแก้ไข
2.5 หลังจากได้รับบทความฉบับแก้ไขจากผู้นิพนธ์แล้ว กองบรรณาธิการจะตรวจสอบการลักลอกผลงานของผู้อื่น และจะอนุมัติให้ตีพิมพ์บทความในกรณีที่มีข้อความซ้ำซ้อนกับผลงานอื่น ๆ ไม่เกินร้อยละ 20 เท่านั้น ในกรณีที่พบการลักลอกผลงานของผู้อื่นเกินกว่านั้น กองบรรณาธิการจะปฏิเสธการตีพิมพ์บทความโดยไม่มีเงื่อนไข
2.6 กองบรรณาธิการจะส่งบทความฉบับพร้อมเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ให้ผู้นิพนธ์ตรวจสอบก่อน เพื่อให้ยืนยันและตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารต่อไป
- หน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่กลั่นกรองบทความ (Reviewer)
3.1 ผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้ากลั่นกรองบทความต้องเก็บความลับเกี่ยวกับการกลั่นกรองบทความไว้โดยไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดให้แก่บุคคลอื่น
3.2 ผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้ากลั่นกรองบทความจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์บทความ เช่น เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา หรือไม่มีเหตุใด ๆ ที่ทำให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้ากลั่นกรองบทความไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระ
3.3 หากผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า บทความนั้น ๆ เป็นของบุคคลที่ตนรู้จักหรือตนช่วยดูแลในฐานะที่ปรึกษา จะต้องแจ้งกองบรรณาธิการเพื่อยกเลิกการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิตรวจบทความนั้น ๆ
3.4 ถ้าผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า บทความที่รับตรวจนั้นมีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อนในแหล่งวิชาการอื่น ๆ หรือมีการลักลอกผลงานของผู้อื่น จะต้องแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบเพื่อดำเนินการตามสมควร