สภาพและแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3

Main Article Content

สุริยนต์ ไชยมาตร์
สุวิมล โพธิ์กลิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) ศึกษาแนวทางการดำเนินงานการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่รับผิดชอบงานหัวหน้าวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดยใช้การสุ่มจากเกณฑ์จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 50% ของจำนวนประชากร จำแนกเป็นผู้บริหารจำนวน 105 คน ครูวิชาการจำนวน 105 คน รวม 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน ANOVA และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการดำเนินงานการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก

  2. เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงาน และขนาดสถานศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกัน

  3. แนวทางการดำเนินงานการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 พบว่า มีแนวทางการดำเนินงาน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการจัดการเรียนการสอนของครู ควรจัดให้มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่นตามความสนใจความต้องการและความถนัดของผู้เรียนโดยใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เต็มตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล มีการตรวจสอบและประเมินผลความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 2) ด้านการบริหารจัดการ ควรมีการดำเนินการบริหารและจัดการของสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิชาการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้อมูลสารสนเทศ และสภาพแวดล้อมโดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) ด้านการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ควรมีการสร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง มีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา 4) ด้านบริบท สิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้และชุมชน ควรมีการจัดบริบทและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องต่อการจัดการเรียนการสอนทั้งสภาพห้องเรียน อาคาร สถานที่แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายภายทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิทยากรภายนอก ผู้ปกครอง ชุมชน ที่มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3, สำนักงาน. (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ปีการศึกษา 2560. อุบลราชธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3.
จิรวัฒน์ สุวรรณสนธิ์. (2546). การบริหารงานปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏเลย.
จิราพร สิมณี. (2556). การศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ผูเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านคุณภาพผู้เรียน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเทศบาล จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ดวงเดือน อ่อนน่วม. (2542). รายงานการวิจัย รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ กรณีศึกษาโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศนีย์ พันธุ์กาหลง. (2545). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การสอนแบบพาหนูเรียนรู้ด้วยความมั่นใจ. กรุงเทพฯ: อรรถพลการพิมพ์.
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ : การศึกษาพหุกรณี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระ รุญเจริญ. (2545). รายงานการวิจัยเรื่องสภาพและปัญหาการบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.
เพ็ญนภา ใจสุข. (2552). พฤติกรรมการส่งเสริมการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาล จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
มณีรัตน์ อภิวัฒนวรรณ. (2559). “การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม,” วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 16, 1(มกราคม–เมษายน 2559): 129-138.
เรืองวิทย์ จันทลือชา. (2549). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนท่ากุญชร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สมชัย พิมดี. (2549). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สมพิศ โห้งาม. (2550). การวางแผนการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2552). การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาที่สนับสนุนการเรียนรู้ในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานจังหวัดนนทบุรี. การประชุมทางวิชาการ การวิจัยทางการศึกษาระดับชาติครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: สกศ.
สุทัศน์ วัฒนสุทธิ. (2543). สภาพการมีส่วนร่วมบริหารโรงเรียนของกรรมการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. กรุงเทพฯ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.