การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางการใช้สารสนเทศในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3

Main Article Content

สิริพร สุดตา
นิรมิต ชาวระนอง
พงษ์ธร สิงห์พันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ (1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้สารสนเทศในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 (2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการใช้สารสนเทศในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จำแนกตามตำแหน่งและขนาดของโรงเรียน (3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาระบบสารสนเทศในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิโดยจำแนกตามสัดส่วนขนาดของสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้มีหน้าที่ดูแลระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 202 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98  สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวน


ผลการวิจัยพบว่า


1) สภาพการใช้สารสนเทศในการประกันคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 3 โดยภาพรวม พบว่า มีสภาพอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการใช้สารสนเทศในการประกันคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย


2) เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการใช้ระบบสารสนเทศในการประกันคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 3 ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้มีหน้าที่ดูแลระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาจำแนกตามตำแหน่งและขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวม พบว่า ไม่แตกต่างกันส่วนรายด้าน ด้านการนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


3) แนวทางการพัฒนาการใช้สารสนเทศในการประกันคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสรุปได้ดังนี้ ควรจัดบุคลากรรับผิดชอบเฉพาะงานประกันคุณภาพโดยตรง ควรมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดทำระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้กับผู้รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง มีการนิเทศติดตามการปฏิบัติงานของผู้รับผิดชอบงานระบบประกันคุณภาพอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง ควรกำหนดนโยบายแผนงานและรูปแบบการจัดระบบประกันคุณภาพในสถานศึกษาให้มีความชัดเจนเพิ่มมากขึ้นจากที่มีอยู่แล้ว เพื่อเป็นการพัฒนาระบบประกันคุณภาพให้กับสถานศึกษาเพื่อเป็นการประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอกและรองรับการการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3, สำนักงาน. (2559). สรุปผลการดำเนินประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. อุบลราชธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3.
ดวงพร สมุทรโมฬี. (2549). การบริหารระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม.
ธีรจิต พัฒนกิตติเวทย์. (2551). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี กาญจนบุรี.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์วิทยาการพิมพ์.
ปรียาภรณ์ ภู่พิทักษ์พงศ์. (2557). แนวทางการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเวียงกาหลง สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนต์ทยา ทองพลู. (2550). การศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานทดสอบทางวิชาการศึกษา. (2544). การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา : กรอบและแนวทางการดำเนินงาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานทดสอบทางวิชาการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2543). รายงานการติดตามผลการประกันคุณภาพและรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาการศึกษาขั้นอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
Aaron Smuts. (2005). American Society for Aesthetics Newsletter.
Kaputa,Donna Maric. (1994). How Have the Applications of Computers Affected the Administration of Higher Education. Dissertation Abstract Internation. 55,6 : 1436-A.
Ku,Catherina Yi-Fang. (1995). A Critical Success Factors Study of Management Information Systems Downsizing : Form Management Information Systems Managers Perspectives. Dissertation Abstract Internation.55,10 : 3022-A.
Murgatroyd, S., & Morgan, C. (1994). Total Quality Management and the School. Philadelphia: Open University Press, 1994.
Ngwenya MD. (2004). The Imaging Technique as Learning Support for Educationally Disadvantaged Learners in the Secondary School to Improve Reading Comprehension. Pretoria: University of Pretoria.