ความสำเร็จและภาพสะท้อนความต้องการของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง “ความสำเร็จและภาพสะท้อนความต้องการของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)” ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย-เกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตปัจจุบัน อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ผู้ใช้บัณฑิต และนิสิตเก่า รวมทั้งสิ้น 30 คน โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และประมวลผลเพื่อหาค่าสถิติร้อยละ (%) และค่าเฉลี่ย () ผลการวิจัยพบว่า ความสำเร็จของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีความสำเร็จด้านการบริหารหลักสูตร จากความพึงพอใจของนิสิตปัจจุบัน อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ จำนวน 5 ประการ คือ 1. ความพึงพอใจต่อรายวิชาบังคับและรายวิชาเฉพาะด้านเลือก มีค่าเฉลี่ย 4.43 ความพึงพอใจระดับดี 2. ความพึงพอใจต่อกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร มีค่าเฉลี่ย 4.49 ความพึงพอใจระดับดี 3. การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.53 ความพึงพอใจระดับดีมาก 4. ความพึงพอใจเกี่ยวกับปัจจัยเกื้อหนุนทางการศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.20 ความพึงพอใจระดับดี 5. ความพึงพอใจต่อลักษณะของนิสิตที่พึงประสงค์ มีค่าเฉลี่ย 4.41 ความพึงพอใจระดับดี ส่วนภาพสะท้อนความเห็นและความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต นิสิตปัจจุบัน นิสิตเก่า และอาจารย์ พบว่ามี 3 ประการ คือ 1. บัณฑิตจากหลักสูตร มีทักษะด้านความรู้ มีทักษะด้านปัญญา และมีคุณธรรมจริยธรรม ในระดับสูง 2. ควรมีการเปิดรายวิชาใหม่ที่ทันสมัย เช่น การศึกษาทฤษฎีวรรณกรรมวิเคราะห์, การศึกษาภาษาไทยสมัยใหม่, การบูรณาการภาษาและภูมิปัญญาไทยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น, การศึกษาวิเคราะห์โบราณิกศัพท์จากเอกสารสมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์, การสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ 3. ควรมีการปรับเปลี่ยนคะแนนภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้สมัครสามารถเข้ามาศึกษาได้อย่างมีเงื่อนไข
Article Details
References
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญเลิศ วิวรรณ์ และคณะ. 2559. ความสำเร็จและภาพสะท้อนความต้องการของหลักสูตรศิลปศาสตร-
มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556). กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาไทย
มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ภาวิณีนี ศรีสุขวัฒนานันท์ และเบญจมาศ แก้วนุช. 2549. การพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตและ
วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต-
กำแพงแสน. กรุงเทพฯ : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รวิกานต์ คุรุเวทย์วิทยะ. 2559. การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการ
สื่อสาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) มหาวิทยาลัยรังสิต. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.
วรรณดา สุจริต. 2553. สรุปสาระสำคัญและกระบวนการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
แห่งชาติ (TQF) เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ การเขียนมาตรฐานคุณวุฒิ
ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.3 และ มคอ.5) ของรายวิชาบูรณาการ วันที่ 11-13 มีนาคม 2553 ณ
อาคารสารนิเทศ 50 ปี และโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี.
วิชัย วงษ์ใหญ่. 2543. การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : ทบวงมหาวิทยาลัย.
อรทัย วารีสอาด และคณะ. 2560. การประเมินผลหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศ-
ศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ . กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.