การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคการเปลี่ยนแปลงพลิกผันด้วยการสร้างองค์กรแห่งความคล่องตัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกระบวนการการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management) ตั้งแต่ระยะการได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ ที่ประกอบไปด้วย การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหา การคัดเลือก และการปฐมนิเทศ ระยะการดูแลรักษาและพัฒนา ที่ประกอบไปด้วย การประเมินผลงาน การจัดวางคน การฝึกอบรมและพัฒนา ระเบียบวินัย การบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ การช่วยเหลือให้คำปรึกษา และการดูแลสุขภาพและความปลอดภัย ระยะการพ้นจากงาน ที่มีผลมาจากการเข้าสู่ยุคดิจิทัล ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน (Disruption) ตลอดจนความท้าทายในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต ที่ทำให้หลายองค์กรต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบกระบวนการขั้นตอนและระเบียบงานบุคคลให้ง่าย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ในประเด็นสำคัญทั้งความเป็นโลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การตอบสนองต่อตลาด การเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในสถานที่ทำงาน การบริหารการเปลี่ยนแปลง ความรับผิดชอบต่อสังคมกับการสร้างความยั่งยืนขององค์กร ที่จะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บริหารและนักทรัพยากรมนุษย์ในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการองค์กร ในการเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน (Disruption) และความท้าทายดังกล่าว เพื่อการดำเนินการขององค์กรอย่างยั่งยืน ดังนั้นการสร้างองค์กรแห่งความคล่องตัว (Agile organization) ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่อง การพัฒนาบุคลากรให้มีกรอบความคิดคล่องตัว (Agile mindset) ได้แก่ ความคล่องตัวด้านความคิด ด้านปฏิสัมพันธ์กับคน ด้านการเปลี่ยนแปลง ด้านผลลัพธ์ และการตระหนักรู้ในตนเอง
Article Details
References
จิรประภา อัครบวร. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบแนวโน้มงานทรัพยากรมนุษย์ในประเทศอาเซียนปี พ.ศ. 2557 – 2558. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 6(2), 4-41.
เจตนิพิฐ บุญเพศ. (2554). การศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไตรรัตน์ ยืนยง. (2563). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น. การศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นภัสภรณ์ มูลสิน. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
พลวศิษฐ หล้ากาศ. (2564). ประเด็นความท้าทายที่มีต่อบทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต. วารสารวิจัย วิชาการ, 4(2), 251-260.
ยุพิณ ศาลางาม. (2560). แนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลตามหลักธรรมาภิบาล ของโรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(3), 284-298.
วิภาดา สารัมย์. (2562). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2556). การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะและบทบาทของนักทรัพยากรมนุษย์ไทยที่มีต่อการส่งมอบคุณค่าด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์แก่องค์การ. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 53(3), 105-123.
ศักดิ์พันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา แนวคิด ทฤษฎีและบทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 7(3), 845-862.
สุรพงษ์ มาลี. (2562). ความท้าทายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคอาเซียน. วารสารข้าราชการ, 61(1), 16-21.
สมพิศ ทองปาน. (2559). HR เชิงรุกในยุคของการเปลี่ยนแปลง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(3), 246-258.
สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป). ทำไม HR ต้อง Agile?. สืบค้น 30 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.prosoft.co.th/Article/Detail/129378
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (ม.ป.ป). เพราะอะไร Agility จึงสำคัญกับองค์กรและงานในอนาคต. สืบค้น 30 พฤษภาคม 2564, จาก https://gorporonline.com/articles/why-is-agility-important-in-the-future/
Jing, Y. Y., M-Y, Y., and Olawole, O. F. (2020). Green human resource management: A systematic literature review from 2007 to 2019. Benchmarking: An International Journal, 27(7), 2005-2027.
Korn Ferry. (2017). THE ORGANISATIONAL X-FACTOR: LEARNING AGILITY. Retrieved 30 May 2021, from https://focus.kornferry.com/leadership-and-talent/the-organisational-x- factor-learning-agility/