สมรรถนะการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1-6

Main Article Content

ดารณีย์ พยัคฆ์กุล
ชวลิต ขอดศิริ
วชิรา เครือคำอ้าย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สมรรถนะการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1-6 ซึ่งมีวิธีดำเนินการวิจัยโดยการสังเคราะห์สาระสำคัญจากเอกสาร การสัมภาษณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านการนิเทศการศึกษาในระดับกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 5 ท่าน และสอบถามความคิดเห็นของผู้รับการนิเทศ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 242 คน และครูผู้สอนระดับประถมศึกษา จำนวน 361 คน   ผลการวิจัยพบว่า


          สมรรถนะการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1-6 ประกอบด้วย สมรรถนะการนิเทศการศึกษา 3 ด้าน ดังนี้ สมรรถนะด้านความรู้ (10 ข้อ) สมรรถนะด้านทักษะความสามารถ (12 ข้อ) และสมรรถนะด้านคุณลักษณะของศึกษานิเทศก์ (10 ข้อ) จากสมรรถนะดังกล่าวก่อให้เกิดองค์ความรู้คือ การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล ของศึกษานิเทศก์ในศตวรรษที่ 21 สิ่งจำเป็นที่ควรสร้างคือเครือข่ายความร่วมมือโดยผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้มาสู่การร่วมพัฒนาวิชาชีพเพื่อสร้างความยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ธารอักษร .
ชาลี มณีศรี. (2542). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
นภาเดช บุญเชิดชู. (2552). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2550). Competency Model กับการประยุกต์ใช้ในองค์กรไทย. กรุงเทพฯ: กราฟโกซิสเต็มส์.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2556). Competency – Based Approach. กรุงเทพฯ: กราฟโกซิสเต็มส์.
มาเรียม นิลพันธ์. (2554). การประเมินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ กิจกรรมการพัฒนานิเทศแนวใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 31(2), 149-166.
ยุพิน ยืนยง. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู เขตการศึกษา 5 อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.
วชิรา เครือคำอ้าย และชวลิต ขอดศิริ. (2561).การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2550). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency – Based HRM. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). การพัฒนาศึกษานิเทศก์แนวใหม่ : เอกสารการอบรมตามหลักสูตรการพัฒนาศึกษานิเทศก์ ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552–2561). เอกสารประกอบการประชุมสภาพการศึกษา ครั้งที่ 2/2552 วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ณ ห้องประชุม พลางกูร สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์. (2551). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
Boyatzis, R.E. (1982). The Competency Manager: A Model for Effective Performance. New York: John Wiley and sons.
Spencer, L.M. and Spencer, S.M. (1993). Competency at work: Models for superior performance. New York: John Wiley and sons.