TRIAM Model TRIAM Model : การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน

Main Article Content

บุญชู กันเกตุ

บทคัดย่อ

การศึกษารูปแบบการบริหารแบบ TRIAM Model โดยใช้แนวทางการจัดการทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ เริ่มศึกษาสภาพปัญหาในการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมและร่วมกันหาแนวทางในการจัดทำแผนแผนพัฒนาการศึกษาแบบมีส่วนร่วม  ทางโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือได้ดำเนินการตามนโยบายของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพื่อจัดทำรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ รูปแบบ TRIAM Model  ขึ้น โดยในการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมนี้ คือ การที่ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมลงมือทำกิจกรรม ร่วมวางแผน นำไปสู่การปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมในการได้รับผลประโยชน์ โดยทางโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ใช้รูปแบบการบริหารแบบ TRIAM Model เป็นกระบวนการทำงาน เริ่มที่การทำงานเป็นทีม มุ่งเน้นพันธกิจ ปฏิบัติงานคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ มุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ และกำกับ นิเทศ ติดตามส่งผลให้เกิด TN-4G ดังนี้ Great school, Great students, Great teachers, Great connections เพื่อบริหารจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ตลอดจนสามารถขยายผลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษาอื่นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กณิษฐา สุภาศรี. แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียนบ้านเตียนอาง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. โรงเรียนบ้านเตียนอาง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่.
กนที บุญมากาศ. (2561). แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน ฉบับที่ 5 (ระยะ 3 ปี) พ.ศ.2562-2564. งานนโยบายและแผนงาน ฝ่ายบริหารงบประมาณ โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน จังหวัดลำพูน.
กรรณิการ์ เก็งวินิจ. (2560). การศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษาของบุคลากรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม). วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(2),19-37.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา. ปีที่พิมพ์ 2563. กรุงเทพฯ : เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
กฤษณะ ทัพบำรุง. (2558). การศึกษาการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(3),371-380.
กัญรยาณีย์ กาฬภักดี, (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนบ้านไม้รูด ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยบูรพา.
กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน. (2563). การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนหัวถนน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสต์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 3(1),13-28.
จีรภา เพชรสงคราม. (2554). การศึกษาการมีส่วนร่วมของครูในการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตบางขุนเทียน. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
จุฑาทิพย์ ภัทราวาท. (2553). คู่มือการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
จุฑามาศ พันสวรรค์. (2562). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ชลธิศ ศรีม่วงพงษ์. (2559). การบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของครูโรงเรียนในเขตพื้นที่อำเภอหนองปรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4.
เทวพร ขำเมธา. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในกลุ่มสระยายโสม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธนู นวลเป้าและคณะ. (2558). กลยุทธ์การบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดตาก. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15; 2558; กำแพงเพชร.กำแพงเพชร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
บรรจง พลขันธ์ และคณะ. (2555). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยการอาชีพวาปีปทุม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์,4(1),89-107.
ปัญญา เฉลียวชาติ. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาล้ยราชภัฏนครสวรรค์.
ปัทนีญา รอดแก้. (2559). กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการ. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 13(2),61-78.
ผราวุธ แสนโสม. (2555). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการโรงเรียนดอนเสียวแดงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(44),53-64.
ผ่องพันธ์ แพงบุดดี. (2561). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5.
พิสิฐ เทพไกลวัล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิษณุ หยกจินดา, (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมชัย วงษ์นายะและทวนทอง เชาวกีรติพงศ์. การพัฒนาแผนกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุภัสรา วิภากูลและคณะ. (2553). การศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ประจำปีการศึกษาของบุคลากรมหาวิทยาลัยกรุงเทพคริสเตียน. งานวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพคริสเตียน.
Abrisham Aref. (2553). Community Participation for Educational Planning and Development. Nature and Science of Ministry of Education, 8(9),1-4