The สมรรถนะการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1-6

Main Article Content

ชวลิต ขอดศิริ
ดารณีย์ พยัคฆ์กุล
วชิรา เครือคำอ้าย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1-6 เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Mixed Methods) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม หาคุณภาพของเครื่องมือ ด้วยวิธีการหาดัชนีความสอดคล้อง (Item-Objective Congruence: IOC) = 0.80 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่าง มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และผู้เชี่ยวชาญ /ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการนิเทศการศึกษา จำนวน 608 คน ข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถาม มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Priority Need Index: PNI) และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก นำมาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา (Content Analysis) 


            ผลการวิจัยพบว่า


          1 สมรรถนะการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1-6 ประกอบด้วย สมรรถนะการนิเทศการศึกษาที่สำคัญ 3 ด้าน โดยเรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) สมรรถนะด้านทักษะความสามารถ (สภาพที่ต้องการ X ̅ = 4.53, S.D. = 0.65; สภาพที่เป็นจริง X ̅ = 3.72, S.D. = 0.80, PNI = 0.22) สมรรถนะ 2) สมรรถนะด้านความรู้ (สภาพที่ต้องการ X ̅ = 4.52, S.D. = 0.67; สภาพที่เป็นจริง X ̅ = 3.81, S.D. = 0.80, PNI = 0.19) และ 3) สมรรถนะด้านคุณลักษณะของศึกษานิเทศก์ (สภาพที่ต้องการ X ̅ = 4.63, S.D. = 0.58; สภาพที่เป็นจริง X ̅ = 4.05, S.D. = 0.77, PNI = 0.15)


          2. ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า จากสมรรถนะดังกล่าวก่อให้เกิดองค์ความรู้ คือ การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลของศึกษานิเทศก์ในศตวรรษที่ 21 สิ่งจำเป็นที่ควรสร้างคือเครือข่ายความร่วมมือ โดยผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยจะช่วยให้ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไปสู่การร่วมพัฒนาวิชาชีพศึกษานิเทศก์เพื่อสร้างความยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ธารอักษร
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). นโยบาย 4 ใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการ. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 18 สิงหาคม
2552). http://www.mua.go.th/users/bpp/developplan/download/news/4new.htm
ชาลี มณีศรี. (2542). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร
นภาเดช บุญเชิดชู. (2552). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ตามมาตรฐาน
วิชาชีพทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มาเรียม นิลพันธุ์. (2554). การประเมินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ กิจกรรมการพัฒนานิเทศ
แนวใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 31(2), 149-166
มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย TDRI. (2556). การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษา
ขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 5 ธันวาคม 2556).
https://tdri.or.th/2014/05/std_2014_05_22/
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด
วชิรา เครือคำอ้าย และชวลิต ขอดศิริ. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและ
ระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2550). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency – Based HRM.
กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2551). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์
Boyatzis, R. E. (1982). The Competency Manager: A Model for Effective Performance.
New York: John Wiley and sons
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for intelligence. American
Psychologist, 28(1), 1–14. https://doi.org/10.1037/h0034092
Spencer, SL. M. and Spencer, S. M. (1993). Competency at work: Models for superior
performance. New York: John Wiley and sons