การพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Main Article Content

นิภาพร สุธรรมวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) พัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน 3) ศึกษาการปฏิบัติตามกระบวนการนิเทศและความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการนิเทศโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 4) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังจากครูได้รับการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านลาดหญ้าคา อำเภอเขมราฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูผู้สอนในโรงเรียน จำนวน 9 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 127 คน ได้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการนิเทศภายใน แบบประเมินความสามารถการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของครูผู้สอน แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t-test Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการนิเทศภายในยังไม่เข้มแข็ง ปัญหาที่สำคัญ คือ การขาดการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการพัฒนาไม่ต่อเนื่อง การส่งเสริมสนับสนุน และการให้ความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับต่ำ การดำเนินการพัฒนาเป็น 3 ระยะ 2) ครูผู้สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยรวมหลังได้รับการนิเทศโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสูงขึ้น อยู่ในระดับมาก 3) ครูผู้สอนทุกคนมีความคิดเห็นต่อกระบวนการนิเทศโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณพงศ์ กีรติกร (2557). “การยกระดับคุณภาพครู” ใน การประชุมคณะกรรมการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู ครั้งที่ 2/2557; 24 มกราคม 2557.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนปฏิบัติราชการประจำปี งบประมาณ 2560 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.
ชวลิต ชูกำแพง. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครู Professional Learning Community: PLC. วารสารการวัดผลศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(2), 1-5.
นิรัชกร ทองน้อย (2556). การพัฒนาระบบการบริหารวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิชาภัทร วิลเลี่ยมส์ ฉลอง ชาตรูประชีวิน (2560). การพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส) มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 23(2), 120.
บุญชม ศรีสะอาด. (2559). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษ ที่ 21 [วิจารณ์หนังสือ 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn].วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขา มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์, 8(1), 139-144.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). การนิเทศการสอน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.
ประเวศ วะสี (2553). คำบรรยายเรื่อง การศึกษาที่พาชาติออกจากวิกฤติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พรรณอร อุชุภาพ. (2561). การศึกษาและวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทย ในศตวรรษที่ 21. (ออนไลน์) จากhttps://www.dpu.ac.th/ces/upload/km/1403847501.pdf.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
วิลาวัณย์ โพธิ์ทอง (2018). เทคโนโลยีกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตของครู. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences) 2018, 11(2), 25.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
______ (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎีกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สงัด อุทรานันท์. (2548). การนิเทศ หลักการ ทฤษฎีและปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มิตรสยาม.
สุภาวดี ปกครอง. (2561). การพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนประถมศึกษา. วารสารสุทธิปริทรรศน์. 32(102), 52.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2544). การประเมินมาตรฐานโรงเรียน ปีการศึกษา 2543. กรุงเทพฯ: สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541). แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรูสังคม ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). มุมมอง ความคิด ความรู้เกี่ยวกับศึกษานิเทศก์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำเร็จ ยุรชัย และคณะ. (2560). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารบัณฑิตเอเซีย. 7 (พิเศษ).
Elmore, R. F. (2002). Bridging the Gap Between Standards and Achievement: The Imperative for Professional Development in Education. Washington. DC: Albert Shanker Institute.
McKinsey (2007). McKinsey report on education. Retrieved March 1, 2014, from http//:www.McKinsey.com
Stoll, L. (2010). Professional learning communities: A review of the literature. Journal of educational change. 7(4), 221-258.